|
||
ข้าวยำ ข้าวยำปักษ์ใต้ เป็นอาหารที่เชื่อว่าทุกคนต้องเคยลิ้มลองกันมาบ้างแล้ว เพราะเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของชาวใต้จนดูเหมือนจะกลายเป็นสัญลักษณ์อาหารปักษ์ใต้อีกเมนูหนึ่ง ข้าวยำของชาวใต้ จะอร่อยหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับน้ำบูดูเป็นสำคัญ น้ำบูดูมีรสเค็ม แหล่งที่มีการทำน้ำบูดูมากคือจังหวัดยะลาและปัตตานี เวลานำมาใส่ข้าวยำต้องเอาน้ำบูดูมาปรุงรสก่อน จะออกรสหวานเล็กน้อยแล้วแต่ความชอบ น้ำบูดูของชาวใต้มีกลิ่นคาวของปลา เพราะทำมาจากปลา กลิ่นคล้ายของทางภาคอีสาน แต่กลิ่นน้ำบูดูจะรุนแรงน้อยกว่า เนื่องจากน้ำบูดูมีรสเค็ม ชาวใต้จึงนำมาใส่อาหารแทนน้ำปลา สรรพคุณทางยา 1. มะพร้าว รสมันหวาน บำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น ใช้รักษาโรคกระดูก 2. พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อยอาหาร 3. กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคทางผิวหนัง น้ำมันกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด 4. หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไอเพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด 5. มะนาว เปลือกผลรสขม ช่วยขับลม น้ำมะนาวรสเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต 6. ตะไคร้ รสปร่ากลิ่นหอม แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร 7. ใบมะกรูด รสปร่ากลิ่นหอมติดร้อน ใช้ปรุงอาหารช่วยดับกลิ่นคาว แก้โรคลักปิดลักเปิด ขับลมในลำไส้ ขับระดู แก้ลมจุกเสียด 8. มะม่วง รสเปรี้ยว ขับเสมหะ 9. ถั่วฝักยาว รสมันหวาน มีคุณค่าทางอาหารสูง กระตุ้นการทำงานของกระเพาะ ลำไส้ บำรุงธาตุ 10. ข่า รสเผ็ดปร่าและร้อน ช่วยขับลม ขับพิษโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้
ไก่ต้มขมิ้น สรรพคุณทางยา 1. ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร 2. กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคทางผิวหนัง น้ำมันกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด 3. หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด 4. ข่า รสเผ็ดปร่าและร้อน ขับลมในลำไส้ ขับพิษโลหิตในมดลูก 5. ขมิ้นชัน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ขับลม เจริญอาหาร รักษาโรคผิวหนัง 6. ส้มแขก รสเปรี้ยว ลดไขมันในเส้นเลือด แก้ไอขับเสมหะ 7. มะขาม รสเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้ท้องผูก แก้ไอ ลดความร้อนในร่างกาย ประโยชน์ทางอาหาร ไก่ต้มขมิ้น เป็นอาหารที่มีรสเปรี้ยวนำ เหมาะสำหรับคนธาตุน้ำ เป็นหวัดเรื้อรัง รับประทานเผ็ด ๆ แก้ไอ ขับเสมหะ เพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
ผัดสะตอใส่กะปิ อาหารประจำภาคใต้ที่ปรุงรสจากผักพื้นบ้านที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ สะตอ ซึ่งไม่เพียงแต่คนภาคใต้เท่านั้นที่จะชอบรับประทาน สะตอยังเป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วไปด้วย สะตอ เป็นไม้พื้นเมืองของป่าธรรมชาติภาคใต้ และสะตอยังเป็นไม้ที่มีบทบาทด้านวัฒนธรรมการกินสัมพันธ์กับชีวิตทางเศรษฐกิจของชาวใต้อย่างใกล้ชิด ชาวใต้รับประทานเมล็ดสะตอเป็นอาหาร และมักจะเก็บตามป่าตามเขา ผู้ที่หาสะตอเป็นประจำจะรู้แหล่งสะตอดีและมักจะไปหาในป่าไกลจากหมู่บ้าน บางครั้งใช้เวลา 1-2 วัน เพื่อเก็บจำนวนมากมารับประทานและมาขายในตลาด ในตลาดสดแทบทุกจังหวัดของภาคใต้จะมีผักสะตอจำหน่ายเกือบตลอดปี ในหน้าฝนจะมีราคาถูก ส่วนหน้าหนาว หน้าแล้งจะพบน้อยและราคาแพง สะตอเป็นอาหารที่ชาวใต้นิยมรับประทาน ถือเป็นอาหารที่ให้รสชาติ ทำให้เจริญอาหารและนิยมใช้เป็นของฝากสำหรับญาติมิตร เพื่อแสดงถึงความห่วงใยและเอาใจใส่ ปัจจุบันชาวบ้านในภาคอื่นก็รับประทานสะตอเช่นกัน ดังนั้น สะตอจึงเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่รู้จักกันแพร่หลาย และทำรายได้กับชาวใต้ในแต่ละปีไม่น้อยทีเดียว สะตอนับเป็นผักที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวใต้ คำว่าสะตอ จึงเป็นคำที่เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นชาวใต้ เช่น การเรียกฉายาว่า " กลุ่มสะตอ " เป็นการให้ความหมายโดยนัยว่าหมายถึงกลุ่มชาวใต้ หรือชาวใต้ เรียกกระถินว่า " สะตอเบา " หรือ " ตอเบา " เพราะกระถินมีลักษณะต้นและฝักคล้ายสะตอแต่เล็กกว่า สรรพคุณทางยา 1. สะตอ รสจืดมันออกขมเล็กน้อย ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงเส้นเอ็น ช่วยเจริญอาหาร 2. พริกชี้ฟ้า รสเผ็ด ช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหาร ขับลม 3. กระเทียม รสร้อนฉุน แก้ไอ แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ขับลมจุกเสียดแน่น บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด 4. หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด 5. มะนาว เปลือกผลรสขม ช่วยขับลม น้ำรสเปรี้ยว แก้ไอ ขับเสมหะ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต ประโยชน์ทางอาหาร อาหารที่ปรุงจากสะตอ จะมีรสชาติช่วยให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น และบำรุงเส้นเอ็น เครื่องปรุงต่าง ๆ ช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหาร |