ภาคอีสาน ( ส้มตำ )
มะละกอ
เป็นยานำบำรุงน้ำนม ขับพยาธิ แก้บิด แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยย่อยอาหาร ขับน้ำดี น้ำเหลือง เนื้อมะละกอนี้จะมีเอนไซม์ช่วยย่อยสารโปรตีนที่ชื่อว่า "ปาเปอีน" ไม่เพียงเท่านี้ น้ำมะละกอยังช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยให้การทำงานของลำไส้ดีขึ้น ทำความสะอาดไต ช่วยให้เลือดแข็งตัว และยังเป็นยาระบายอ่อนๆอย่างดีอีกด้วย
มะละกอสุกชิ้นขนาดกลาง อุดมไปด้วยคุณค่าอาหารที่มีประโยชน์ คือ แคลเซียม 61 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 49 มิลลิกรัม เหล็ก 0.9 มิลลิกรัม โซเดียม 9 มิลลิกรัม โปรแตสเซียม 711 มิลลิกรัม วิตามินเอ 5,320 I.U. วิตามินซี 170 มิลลิกรัม และแมกนีเซียม 31 มิลลิกรัม
พริกขี้หนู
รสเผ็ดร้อนช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อยสารแคปไซซินช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งและอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดปริมาณของแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีนั่นมีสูงมากกว่าผักทั่วไปหลายสิบชนิดทีเดียว แถมยังให้ไฟเบอร์หรือกากใยอาหารสูง พร้อมกับเบต้าแคโรทีนตัว
มะเขือเทศ
รสเปรี้ยว เป็นผักที่ใช้แต่งสีและกลิ่นอาหาร ช่วยระบาย บำรุงผิว
1. Carotenoids
เป็นสารสีธรรมชาติที่พบมากที่สุด พบในคลอโรพลาสต์ในรูป chromoproteins หากอยู่
นอกคลอโรพลาสต์ จะพบเป็น acyclic carotenoids ซึ่ง carotenoids ที่เป็นสีของมะเขือเทศ
คือ lycopene มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งที่มดลูกและปอด อีกทั้งยังเป็นส่วนผสมใน
ตำรับยาที่ใช้ป้องกันอันตรายอันเกิดจากการผลิตอนุมูลอิสระที่ผิดปกติ
2. Steroidal alkaloids
เป็นกลุ่มสารที่ออกฤทธิ์รุนแรง จัดเป็นสารพิษ Steroidal alkaloid ในมะเขือเทศ คือ
-tomatine ซึ่งได้จากใบและส่วนเหนือดิน ในผลสีเขียวจะมี alkaloid 0.03% ใน>ผลสุกไม่
พบ alkaloid จึงไม่ควรรับประทานมะเขือเทศดิบ
คุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของ Steroidal alkaloid ของพืชในวงศ์ Solanaceae คือ ทำ
ปฏิกิริยากับสเตียรอลที่เซลล์ผิวเป็นผลให้เม็ดเลือดแดงแตก ทำให้ผิวหนังและเนื้อบุผิวระคาย
เคืองอย่างแรง มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส รา และใช้เป็นยาฆ่าแมลงมีคุณสมบัติยับยั้ง
เอมไซม์โคลีนเอสเตอเรส กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและต่อมาจะทำให้เป็นอัมพาต หาก
รับประทานในขนาดที่จะทำให้เกิดพิษจะระคายเคืองทางเดินอาหารอย่างแรง