กิจกรรมที่ 2 การสร้างและแสวงหาความรู้ (การดำเนินงานบริการจุดเดียว ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา)

        
Views: 925
Votes: 0
Comments: 0
Posted: 21 Aug, 2013
by: ถาวรสิวะวงษ์ น.ก.
Updated: 21 Aug, 2013
by: ถาวรสิวะวงษ์ น.ก.
 

การดำเนินงานบริการจุดเดียว ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

 

          ความเป็นมาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

          มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา(2551: 1) ตั้งอยู่เลขที่ 1 ถนนอู่ทองนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เดิมบริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังดุสิต ได้รับพระราชทานนามพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า สวนสุนันทา ต่อมากระทรวงธรรมการ(กระทรวงศึกษาธิการ ในปัจจุบัน) ได้รับมอบพื้นที่ดังกล่าวให้จัดตั้งเป็นสถานศึกษาชื่อ โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2480 และยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูสวนสุนันทา  เมื่อปี 2501 ต่อมาได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา เมื่อปี 2535 จนกระทั่งเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2547

          ปรัชญาของมหาวิทยาลัย ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม

          วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำเพื่อปวงชน (A Leading Quality University For all)

          พันธกิจของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีพันธกิจดังนี้

          1.  ผลิตบัณฑิตคุณภาพระดับแนวหน้า ตรงกับความต้องการของชุมชนและสังคมยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ และเป็นประชากรโลก (Global Citizen) อย่างมีความสุข

          2.  วิจัย สร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้สู่การพัฒนาท้องถิ่น ตลอดจนการพัฒนาภูมิปัญญาไทยสู่สากล

          3.  ผลิตและพัฒนาครูแนวใหม่ ที่สนองตอบการปฏิรูปการศึกษาและการฝึกหัดครู

          4.  ให้บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชนและสังคมอย่างมีคุณภาพ เพื่อยกมาตรฐานชุมชน สังคม และผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางสู่สากล

          5.  อนุรักษ์ พัฒนาและบริการ และเป็นศูนย์กลางบริการข้อมูลสารสนเทศทางด้านศิลปวัฒนธรรมกรุงรัตนโกสินทร์

          นโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัย

          มหาวิทยาลัยในปัจจุบันจำเป็นต้องปฏิรูปด้านการบริหาร การจัดการเรียนการสอน คุณภาพวิชาการ คุณภาพบัณฑิต และการบริการทั้งระบบ จึงได้กำหนดเป้าหมายและทิศทางเพื่อที่จะสร้างความเข้มแข็งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำเพื่อปวงชน จึงได้กำหนดเป้าหมายและนโยบายในการพัฒนามหาวิทยาลัยไว้ดังนี้ (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2552: 4)

          1.การเน้นผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ และตรงกับความต้องการของชุมชนและสังคม ยกมาตรฐานความเป็นอยู่และพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน ท้องถิ่น ให้สามารถพึ่งพาตนเอง

          2.ใช้กระบวนการวิจัย ทั้งการวิจัยพื้นฐาน วิจัยประยุกต์ และวิจัยเชิงนโยบาย ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการยกคุณภาพชีวิตชุมชน และใช้ในเชิงธุรกิจ รวมทั้งการวางรากฐานเพื่อการพัฒนา สร้างนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์จากภูมิปัญญาไทย ที่เพิ่มมูลค่าให้กับมหาวิทยาลัย ชุมชน และสังคม

          3.เป็นกลไกขับเคลื่อนพัฒนาและชี้นำชุมชน ท้องถิ่น และสังคมไทยสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ รวมทั้งผลักดันชุมชนให้เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ

          4.มีระบบบริหารจัดการที่ดี บริหารเชิงยุทธศาสตร์ และธรรมาภิบาล ที่เน้นคุณภาพ คล่องตัว ยืดหยุ่น มีเสรีภาพทางวิชาการ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความโปร่งใส รับผิดชอบและตรวจสอบได้ ภายใต้การกำกับดูแลของสภามหาวิทยาลัย โดยคำนึงถึงความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนา นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร ชุมชน ท้องถิ่นและสังคมโดยรวม

          5.เป็นศูนย์บริการและเผยแพร่ข้อมูลสนเทศทางด้านศิลปวัฒนธรรมกรุงรัตนโกสินทร์ และนำภูมิปัญญาไทยสู่สากล

          6.ยกคุณภาพและมาตรฐานของอาจารย์ ข้าราชการ และพนักงานให้มีศักยภาพ มีความสามารถแข่งขันในยุคสังคมฐานความรู้ สนับสนุนและส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่วิชาชีพ และจัดสวัสดิการและค่าตอบแทนที่เหมาะสมตามความรู้ความสามารถ

          7.ยกมาตรฐานในการระดมทุนและรายได้ เพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยบ่มเพาะวิสาหกิจที่มีคุณภาพ และเป็นมืออาชีพ

          8.ประชาสัมพันธ์และจัดการตลาดเชิงรุก จัดทำแผนงานและแผนดำเนินการการตลาดและประชาสัมพันธ์ในเชิงรุก เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลงานทางด้านวิชาการและงานวิจัยของมหาวิทยาลัยอย่างมีเป้าหมายเพื่อให้มีภาพลักษณ์ที่ดี และสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักแก่นักเรียน นักศึกษา ผู้ประกอบการ ชุมชนและสังคม

          มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีพันธกิจและเป้าหมายที่ชัดเจน เมื่อปรับองค์กร มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องปฏิรูปการดำเนินงานทั้งระบบ จึงได้กำหนดเป้าหมายและทิศทางเพื่อที่จะสร้างความเข้มแข็งสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำเพื่อปวงชน และยืนหยัดแข่งขันกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ จึงกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการ กล่าวคือ มีระบบการบริหารจัดการที่ดี  บริหารเชิงยุทธศาสตร์และธรรมาภิบาลที่เน้นคุณภาพ ความคล่องตัว ยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพ โปร่งใส รับผิดชอบและตรวจสอบได้ นอกจากนี้การบริหารจัดการมหาวิทยาลัย จำเป็นต้องมีเอกภาพเชิงนโยบาย มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีระบบธรรมาภิบาลและโปร่งใสที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วม ความร่วมมือร่วมใจของคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรทุกฝ่ายทุกระดับของมหาวิทยาลัย มีการกระจายอำนาจอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะนำพาขับเคลื่อนทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัยให้บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ โดยเน้นการระดมทรัพยากร    การบริหารจัดการและการบริการที่มีคุณภาพ  การสร้างพันธมิตรเครือข่ายและการมีส่วนร่วมทั้งจากภาครัฐและเอกชน    ตลอดจนได้กำหนดแนวปฏิบัติเพื่อการพัฒนาระบบการบริการที่เน้นประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส รับผิดชอบ และตรวจสอบได้(ช่วงโชติ  พันธุเวช.  2552: 1-5)  นอกจากนี้ยังได้ให้ความสำคัญต่อกระบวนการประกันคุณภาพ โดยได้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงของกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา ทุกหน่วยงานจะต้องทำรายงานประเมินตนเองตามการพิจารณาตัวบ่งชี้ในการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งมีทั้งหมด 9 องค์ประกอบ ซึ่งองค์ประกอบที่ 5 ตัวบ่งชี้ที่ 5.12ร้อยละของความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ เมื่อเป็นเช่นนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาจึงได้พัฒนาระบบการให้บริการคุณภาพ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ  บริหารจัดการองค์กรด้วยระบบราชการ ในขณะที่การบริหารราชการสมัยใหม่ได้ให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางและเป้าหมายในการดำเนินงานโดยวางแผนยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานซึ่งประกอบด้วยกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ แผนงานและโครงการ และกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานทั้งในแง่ของผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) รวมทั้งความคุ้มค่าของเงิน (Value for Money) มุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และการสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้รับบริการ รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนด้วย (สมพร ศิลป์สุวรรณ. 2551: 2-3) 

 

 

          การดำเนินงานของสำนักงานอธิการบดี

          สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พ.ศ.2549 โดยมีหน่วยงานในกำกับดังนี้ (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 123 ตอนที่ 74 ง ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2549)

          1.  กองกลาง

          2.  กองนโยบายและแผน

          3.  กองบริการการศึกษา

          4.  กองบริหารงานบุคคล

          5.  กองพัฒนานักศึกษา

          ปรัชญาของสำนักงานอธิการบดี ปฏิบัติงานฉับไว ใจเป็นธรรม เป็นผู้นำด้านบริการ

          วิสัยทัศน์ของสำนักงานอธิการบดี มุ่งมั่นความเป็นเลิศด้านการบริหารด้วยระบบคุณภาพ

          พันธกิจของสำนักงานอธิการบดี (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2552: 30-32)     

          1.  ให้บริการด้านงานสารบรรณ งานประชาสัมพันธ์ งานการเงิน งานบัญชี งานพัสดุ งานงบประมาณ และงานอาคารสถานที่

          2.  สนับสนุนการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาภาคพิเศษ และระดับบัณฑิตศึกษา

          3.  ให้บริการด้านกิจกรรมและสวัสดิการนักศึกษา

          4.  ให้บริการด้านบริหารงานบุคคล

          5.  พัฒนาระบบงานและการประกันคุณภาพ

          การให้บริการของงานบริการจุดเดียว

          มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีนโยบายการจัดการพัฒนาระบบการให้บริการรูปแบบใหม่ โดยได้กำหนดให้จัดตั้งงานบริการจุดเดียว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2552  ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของการปรับปรุงระบบ กระบวนการ และขั้นตอนการปฏิบัติงาน รวมถึงการปฏิรูประบบราชการและการให้บริการในมหาวิทยาลัย ด้วยนโยบายการบริหารจัดการพัฒนาระบบการให้บริการภายในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรูปแบบการบริการเป็นระบบที่สามารถให้บริการกับผู้รับบริการทุกคน และทุกหน่วยงานได้อย่างครบวงจรในจุดเดียว (One Stop Service)  นอกจากนี้ยังเป็นการบูรณาการระบบงานของหน่วยงานต่างๆ ภายในสำนักงานอธิการบดีด้านการให้บริการมาประยุกต์ใช้สำหรับการให้บริการบุคคลอื่น เช่นนักศึกษา อาจารย์ และบุคคลทั่วไปเพื่อที่จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว สะดวก มีความเป็นระเบียบและให้บริการได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น นอกจากจะเป็นการพัฒนาระบบการให้บริการของสำนักงานอธิการบดีแล้ว ยังสามารถผลักดันให้หน่วยงานอื่นๆภายในมหาวิทยาลัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้และพัฒนาระบบการทำงานบริการ หรือเป็นการขยายงานบริการจุดเดียว ไปสู่หน่วยงานอื่นๆ ภายในมหาวิทยาลัยได้ในอนาคต (มหาวิทยาลัยราชภัฏ                         สวนสุนันทา. 2552: ก-ข) ซึ่งในการจัดตั้งงานงานบริการจุดเดียว เพื่อพัฒนากระบวนการและระบบการให้บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทานั้น มหาวิทยาลัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขต ขั้นตอน และกระบวนการให้บริการไว้ดังนี้ (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.2552: 11 – 32)

 

          วัตถุประสงค์ของงานบริการจุดเดียว

          1.เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการภายในสำนักงานอธิการบดีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

          2.เพื่อเป็นการผลักดัน และเป็นแนวทางในการใช้ระบบงานบริการจุดเดียว (One Stop Service) กับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย เพื่อการให้บริการที่ครบวงจร ลดขั้นตอน และลดรอบในการปฏิบัติงาน

          3.เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ เช่นนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และบุคคลภายนอก

          4.เพื่อสนับสนุนภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยและการบริหารจัดการ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้เป็นที่ประทับใจแก่บุคคลภายในและภายนอก

 

 

          ขอบเขตของกระบวนการบริการจุดเดียว

          1.  ผู้ใช้บริการแจ้งความประสงค์รับบริการที่จุดประชาสัมพันธ์

          2.  ผู้ใช้บริการเป็นผู้ดำเนินการด้านเอกสารด้วยตนเอง เช่นการกรอกข้อมูลคำร้อง การเตรียมหลักฐานประกอบ การยื่นเรื่องกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่อยู่นอกเหนือจากการดำเนินการของงานบริการจุดเดียว

          3.  ระยะเวลาการให้บริการเริ่มตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.00 น. ยกเว้นงานการเงินให้บริการตั้งแต่เวลา 08.30 – 15.30 น. และการจ่ายเช็คเงินสดให้บริการตั้งแต่เวลา 09.00 – 12.00 น

          4.  การให้บริการของบุคลากรต้องปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ สนใจในสิ่งที่ผู้ใช้บริการแจ้งตามคำร้อง และให้บริการด้วยความรวดเร็วถูกต้อง

          5.  เปิดทำการทุกวัน เว้นวันหยุดราชการ หรือวันหยุดตามประกาศของมหาวิทยาลัย

          6.  ให้บริการด้วยกิริยาวาจาที่สุภาพ

          7.  งดบริการนักศึกษาที่แต่งกายไม่สุภาพ

 

          ขั้นตอนการเข้ารับบริการ ระบบงานบริการจุดเดียว

          1.  ผู้ใช้บริการติดต่อจุดประชาสัมพันธ์  โดยแจ้งความประสงค์ในการติดต่อ ผู้ใช้บริการจะได้รับคำแนะนำว่า จะต้องกรอกแบบฟอร์มคำร้องประเภทใด และจะต้องใช้เอกสารหลักฐานใดประกอบบ้าง เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จะให้คำร้องตามประเภทของความต้องการใช้บริการ ดังนี้   

               1.1 ใบสมัครเข้าเป็นนักศึกษาใหม่

               1.2 คำร้องขอใบสำคัญทางการศึกษา ได้แก่ใบรายงานผลการเรียน ใบรับรองการเป็นนักศึกษา ใบรับรองคุณวุฒิ และใบแทนปริญญาบัตร

               1.3 คำร้องขอลาออกจากการเป็นนักศึกษา

               1.4 คำร้องขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลนักศึกษา เช่นคำนำหน้านาม ยศ ชื่อตัว ชื่อสกุล

               1.5 คำร้องขอลงทะเบียนบัณฑิต

               1.6 คำร้องขอสำเร็จการศึกษา

1.7   คำร้องขอรักษาสภาพนักศึกษา

               1.8 การขอรับเช็ค

  กรณีที่ติดต่อหน่วยงานอื่น ไม่เกี่ยวข้องกับงานระบบงานบริการจุดเดียว (One stop service) เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จะประสานกับหน่วยงานนั้น หรือแจ้งข้อมูลให้กับผู้รับบริการทราบ

          2.  เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จะแนะนำในการกรอกเอกสารคำร้อง และช่วยตรวจสอบความถูกต้อง ถ้ามีรายการแก้ไข เจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำในการแก้ไขให้ถูกต้อง เมื่อเรียบร้อยแล้วเจ้าหน้าที่จะออกบัตรคิว ซึ่งเป็นบัตรอักษรและหมายเลข ประกอบด้วย บัตรคิวสีเขียว รหัส A  ใช้สำหรับผู้มาติดต่องานทะเบียนวัดผล บัตรคิวสีเหลือง รหัส B ใช้สำหรับผู้มาติดต่องานการเงิน และบัตรคิวสีฟ้า รหัส C ใช้สำหรับผู้มาติดต่อรับเช็คเงินสด บัตรคิวจะจัดไว้เป็นคู่ ส่วนที่หนึ่งผู้รับบริการจะถือไว้เพื่อรอเจ้าหน้าที่เรียกคิวดำเนินการ ส่วนที่สองเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จะเก็บไว้กับคำร้อง หรือเอกสารที่ผู้รับบริการนำมาติดต่อ แล้วส่งต่อไปยังจุดบริการที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการ

          3.  เมื่อได้รับบัตรคิวแล้ว เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จะจัดให้ผู้รับบริการนั่งรอในบริเวณที่ใกล้กับจุดบริการ และเจ้าหน้าที่ประจำจุดบริการจะเรียกคิวตามลำดับ ผู้รับบริการสามารถเข้ารับบริการได้ทันที                     และหากรอนานกว่า 15 นาที แล้วยังไม่ได้รับบริการ ผู้รับบริการสามารถแจ้งให้เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ทราบ และประสานไปยังจุดที่ให้บริการ        

          8.  เจ้าหน้าที่จุดบริการให้บริการตามลำดับ ด้วยความรวดเร็ว และถูกต้อง

          9.  ผู้ใช้บริการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร หรือรายการใดๆ ที่มาติดต่อ และรับใบเสร็จทางการเงินตามประเภทของคำร้อง หากเรื่องที่มาติดต่อนั้นต้องชำระค่าธรรมเนียม,

          10. กรอกแบบประเมิน

          11. เสร็จสิ้นการให้บริการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นตอนการปฏิบัติงานระบบบริการจุดเดียว (One stop service)

ติดต่องานประชาสัมพันธ์

กรณีติดต่อหน่วยงานอื่นๆ

สอบถามความประสงค์ของผู้ใช้บริการ

 

รับคำร้องตามที่แจ้งความประสงค์

กรอกเอกสารคำร้อง และแนบหลักฐาน

นักศึกษา

ยื่นคำร้อง ตรวจสอบความถูกต้อง

 และรับบัตรคิว

งานประชาสัมพันธ์ส่งคำร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เจ้าหน้าที่ตามหน่วยงานเรียกคิวตามประเภทของคำร้อง

ผู้ใช้บริการรับบริการตามคำร้อง ตามลำดับของเจ้าหน้าที่เรียกคิว

รับเอกสารตามคำร้อง และใบเสร็จรับเงิน ตามประเภทของคำร้อง

เสร็จสิ้นการให้บริการ

-คำร้องขอใบสำคัญทางการศึกษา

-คำร้องขอลาออกจากนักศึกษา

-คำร้องขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลนักศึกษา

-คำร้องขอลงทะเบียนบัณฑิต

-คำร้องขอสำเร็จการศึกษา

-คำร้องขอรักษาสภาพนักศึกษา

-การสมัครนักศึกษาใหม่

-การขอรับเช็ค

-คำร้องขอถ่ายรูป

-A คิวงานทะเบียน

-B คิวงานการเงิน

-C คิวงานรับเช็ค

 

รอเรียกคิว

ทำแบบประเมิน

ให้ข้อมูล หรือประสานงานกับหน่วยงานภายใน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


         

 

 

 

 

ภาพประกอบ 1 ขั้นตอนการปฏิบัติงานระบบบริการจุดเดียว (One stop service)

ที่มา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานบริการจุดเดียว(One stop ervice)

 

 

 

กระบวนการให้บริการจุดเดียว    

          การขอใบสำคัญทางการศึกษา ได้แก่  ใบรายงานผลการเรียน ใบรับรองการเป็นนักศึกษา ใบรับรองคุณวุฒิ และใบแทนปริญญาบัตร (ระยะเวลาดำเนินการ 15 นาที) มีกระบวนการดังนี้

          1.นักศึกษาแจ้งความประสงค์ขอใบสำคัญทางการศึกษาที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่จะให้คำร้องขอใบสำคัญทางการศึกษา

          2.นักศึกษากรอกรายละเอียดลงในคำร้อง

          3.ยื่นคำร้องที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ พร้อมภาพถ่ายนักศึกษา หรือภาพถ่ายบัณฑิต ขนาด  1 นิ้ว จำนวน 1 ภาพต่อเอกสาร 1 ชุด ยกเว้นการขอใบรับรองที่ไม่ต้องติดภาพถ่าย

          4.เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ตรวจสอบความถูกต้อง และนักศึกษา/ผู้มาติดต่อกดบัตรคิวและรอเรียกคิว       5.เจ้าหน้าที่ทะเบียนตรวจสอบประวัตินักศึกษาในระบบ ดำเนินการออกเอกสารตามคำร้อง และส่งคำร้องให้ฝ่ายการเงิน

          6.ฝ่ายการเงินเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเอกสารจากนักศึกษา เมื่อชำระเงินแล้วรับเอกสารและใบเสร็จรับเงินที่งานทะเบียน     

 

          การขอลาออกจากการเป็นนักศึกษา (ระยะเวลาดำเนินการ 15 นาที) มีกระบวนการดังนี้

          1.นักศึกษาแจ้งความประสงค์ขอขอลาออกที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่จะให้คำร้องขอลาออกจากการเป็นนักศึกษา

          2.นักศึกษากรอกรายละเอียดลงในคำร้อง

          3.ยื่นคำร้องที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ พร้อมบัตรนักศึกษา

          4.เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ตรวจสอบความถูกต้อง และนักศึกษา/ผู้มาติดต่อกดบัตรคิวและรอเรียกคิว

          5.เจ้าหน้าที่ทะเบียนตรวจสอบประวัตินักศึกษา จากนั้นนำคำร้องขอลาออกจากการเป็นนักศึกษา เสนอผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา และรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

          6.เจ้าหน้าที่ทะเบียนตรวจสอบเอกสาร และส่งเอกสารให้งานการเงิน เพื่อคืนเงินค่าประกันของเสียหายจำนวน 1,000 บาทให้กับนักศึกษา

          7. เจ้าหน้าที่การเงินเรียกคิวรับเงินค่าประกันของเสียหาย และเก็บสำเนาเอกสารการลาออกเพื่อใช้เป็นหลักฐาน

 

          การเปลี่ยนแปลงข้อมูลนักศึกษา เช่นเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ยศ หรือตำแหน่ง (ระยะเวลาดำเนินการ 5 นาที) มีกระบวนการดังนี้

          1.นักศึกษาแจ้งความประสงค์ขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลนักศึกษาที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่จะให้คำร้องเปลี่ยนแปลงข้อมูล

          2.นักศึกษากรอกรายละเอียดลงในคำร้อง

          3.ยื่นคำร้องที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ พร้อมแนบเอกสารสำคัญเช่นใบเปลี่ยนชื่อ ใบเปลี่ยนนามสกุล หรือสำเนาคำสั่งแต่งตั้งยศทางทหาร ตามเรื่องที่ขอเปลี่ยนแปลง

          4.เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ตรวจสอบความถูกต้อง และนักศึกษา/ผู้มาติดต่อกดบัตรคิวและรอเรียกคิว

          5.เจ้าหน้าที่ทะเบียนตรวจสอบบันทึกเปลี่ยนแปลงข้อมูลนักศึกษาตามคำร้อง และออกบัตรแทนบัตรประจำตัวนักศึกษา

          6.นักศึกษารับบัตรแทนบัตรประจำตัวนักศึกษา นำไปติดต่อขอทำบัตรนักศึกษาที่ธนาคาร

         

การลงทะเบียนบัณฑิต (ระยะเวลาดำเนินการ 20 นาที)

          1.นักศึกษาผู้สำเร็จการศึกษาแจ้งความประสงค์ขอลงทะเบียนบัณฑิตที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่จะเอกสารลงทะเบียนบัณฑิต

          2.นักศึกษากรอกรายละเอียดลงในเอกสารและแนบหลักฐานประกอบให้ครบถ้วน

          3.ยื่นเอกสารที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ตรวจสอบความถูกต้อง            และนักศึกษา/ผู้มาติดต่อกดบัตรคิวและรอเรียกคิว

          4. เจ้าหน้าที่ทะเบียนดำเนินการตามคำร้อง ตรวจสอบหลักฐาน และตรวจสอบประวัติการ ยืม – คืนหนังสือจากสำนักวิทยบริการด้วยระบบออนไลน์

          5.กรณีติดค้างการยืม – คืนหนังสือไม่สามารถลงทะเบียนบัณฑิตได้

          6.เจ้าหน้าที่ทะเบียนส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่การเงินดำเนินการต่อเพื่อเรียกคิวรับเงินส่วนต่างค่าประกันความเสียหายที่เรียกเก็บเมื่อแรกเข้า จำนวน 400 บาท (เงินประกัน 1,000 บาท ชำระค่าลงทะเบียนบัณฑิตและค่าสมาชิกสมาคมศิษย์เก่า 600 บาท เหลือคืนนักศึกษา 400 บาท)

          7.กรณีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาไม่ได้เรียกเก็บเงินประกัน จึงต้องชำระเงินให้กับมหาวิทยาลัย 600 บาท

          8.นักศึกษารับเอกสารรับรองคุณวุฒิ และใบรายงานผลการศึกษา

หมายเหตุ ขั้นตอนดังกล่าวต้องดำเนินการหลังจากนักศึกษายื่นคำร้องขอสำเร็จการศึกษาแล้ว และสภามหาวิทยาลัยประกาศรายชื่อผู้สำเร็จการศึกษา เมื่อมีรายชื่อเป็นผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว จึงจะลงทะเบียนบัณฑิตได้

 

          การขอสำเร็จการศึกษา (ระยะเวลาดำเนินการ 10 นาที)

          1.นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนเป็นภาคสุดท้ายและประสงค์ที่จะขอสำเร็จการศึกษาติดต่อที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เพื่อขอรับคำร้องขอสำเร็จการศึกษาและคำร้องถ่ายภาพบัณฑิต

          2.นักศึกษากรอกรายละเอียดลงในคำร้องขอสำเร็จการศึกษา และคำร้องถ่ายภาพบัณฑิต

          3.นำคำร้องขอสำเร็จการศึกษาไปติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อลงนาม (ยกเว้นนักศึกษาตกค้าง)

          4.นำคำร้องถ่ายภาพไปดำเนินการตามขั้นตอนของการถ่ายภาพ

          5.นำคำร้องขอสำเร็จการศึกษาพร้อมหลักฐานมายื่นที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ดังนี้

                   5.1 ภาพถ่ายบัณฑิตขนาด1.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป เขียนชื่อสกุล และรหัสนักศึกษาด้านหลังรูป

                   5.2 สำเนาใบเสร็จชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียนภาคเรียนสุดท้าย

                   5.3 สำเนาใบเสร็จค่าถ่ายภาพ

                   5.4 สำเนาเอกสารแสดงผลการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง กรณีเป็นนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)

                   5.5สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ สกุล ยศ (ถ้ามี)

          6.นักศึกษา/ผู้มาติดต่อกดบัตรคิวและรอเรียกคิว

          7.รอดูประกาศรายชื่อผู้สำเร็จการศึกษา เพื่อลงทะเบียนบัณฑิต และรับใบรับรองคุณวุฒิ                  ใบรายงานผลการศึกษาต่อไป

 

          การขอรักษาสภาพนักศึกษา (ระยะเวลาดำเนินการ 10 นาที)

          1.นักศึกษาที่ไม่ประสงค์จะลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนใด ให้ติดต่อที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เพื่อรับคำร้องรักษาสภาพนักศึกษา

          2.นักศึกษากรอกรายละเอียดลงในคำร้อง

          3.ยื่นคำร้องที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ตรวจสอบความถูกต้อง            นักศึกษา/ผู้มาติดต่อกดบัตรคิวและรอเรียกคิว

          4.เจ้าหน้าที่ทะเบียนบันทึกข้อมูลการรักษาสภาพนักศึกษาลงในฐานข้อมูลระบบงานทะเบียนและผ่านเรื่องให้เจ้าหน้าที่การเงินเพื่อเรียกคิวเก็บค่าธรรมเนียม

          5.นักศึกษาชำระค่าธรรมเนียมรักษาสภาพนักศึกษา และรับใบเสร็จ

          6.เจ้าหน้าที่งานทะเบียนเก็บคำร้องขอรักษาสภาพนักศึกษาไว้เป็นหลักฐาน

\

          การจ่ายเช็คเงินสด (ระยะเวลาดำเนินการ 10 นาที)

          1.ผู้ใช้บริการติดต่องานประชาสัมพันธ์ พร้อมแจ้งชื่อบริษัท และยื่นเอกสารประกอบการจ่ายเช็ค หากเป็นบุคลากรภายในที่มารับเช็คทุนการศึกษา หรือทุนอุดหนุนงานวิจัยให้ยื่นบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงาน

          2. ผู้มาติดต่อกดบัตรคิวและรอเรียกคิว

          3. เจ้าหน้าที่การเงินเรียกคิว ตรวจสอบเอกสารจากบริษัท / ตรวจสอบบัตรประจำตัว

          4. เมื่อเอกสารประกอบการรับเช็คถูกต้อง สามารถรับเช็คเงินสดได้เลย   กรณีเอกสารไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วนต้องดำเนินการให้เรียบร้อย จึงจะจ่ายเช็คได้

Others in this Category
document กิจกรรมที่ 1 การบ่งชี้ความรู้
document กิจกรรมที่ 1 การบ่งชี้ความรู้ รายงานการประชุมกลุ่มระบบการให้บริการ One Stop Service ครั้งที่ 2
document กิจกรรมที่ 2 การสร้างและแสวงหาความรู้ (รายงานการศึกษาดูงานระบบ one stop service วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2556 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต จ.ปทุมธานี)
document ภาพการประชุม
document ภาพการศึกษาดูงาน One Stop Service ณ มหาวิทยาลัยรังสิต
document กิจกรรมที่ 6 การถ่ายทอดความรู้ (รายงานการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความความรู้ และถ่ายทอด One Stop Service ไปสู่หน่วยงาน)
document กิจกรรมที่ 6 การถ่ายทอดความรู้ (ภาพการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความความรู้ และถ่ายทอด One Stop Service ไปสู่หน่วยงาน)