ส่วนที่ 2 การดำเนินงานจัดการความรู้ ขั้นตอนที่ 6 การรวบรวมความรู้และจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร

        
Views: 528
Votes: 0
Comments: 0
Posted: 09 Aug, 2017
by: สาครวรรณศักดิ์ ฝ.
Updated: 09 Aug, 2017
by: สาครวรรณศักดิ์ ฝ.

สมาชิกกลุ่มความรู้ร่วมกันแลกเปลี่ยนและสรุปองค์ความรู้ เรื่อง “การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย” พร้อมจัดทำเป็นเล่มองค์ความรู้ ดังนี้

การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (KM) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560

ชื่อโครงการวิจัย (ภาษาไทย) – ให้นำวัตถุประสงค์ข้อสุดท้ายมาปรับเป็นชื่อเรื่อง

ส่วน ก : องค์ประกอบของข้อเสนอโครงการวิจัย

1.     ผู้รับผิดชอบประกอบด้วย

1.1 หัวหน้าโครงการ – ควรมีศาสตร์ที่ตรงกับเนื้อหาที่เสนอขอและมีตำแหน่งทางวิชาการ หรือผู้ที่เคยได้รับทุน (ใส่สัดส่วน)

1.2 ผู้ร่วมงานวิจัย – ควรเป็นศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์หรือตรงกับเนื้อหาที่เสนอขอ
(ถ้าเป็นหน่วยงานอื่นจะดีมาก) (ใส่สัดส่วน)

1.3 หน่วยงานหลัก – คณะ/วิทยาลัย ที่สังกัด

1.4    หน่วยงานสนับสนุน – หน่วยงานภายนอกที่ร่วมสนับสนุนการดำเนินการวิจัย

2. ประเภทการวิจัย – มีอยู่ 3 ประเภท (พื้นฐาน/ ประยุกต์/ พัฒนาทดลอง) เลือก 1 ประเภทเท่านั้น (รายละเอียดคู่มือนักวิจัย หน้า 129)

3. สาขาวิชาการและกลุ่มวิชาที่ทำการวิจัย - มีอยู่ 12 สาขา ให้เลือก 1 สาขาเท่านั้นที่ตรงกับหัวข้อที่เสนอขอทุน

4. มาตรฐานการวิจัย  - ถ้ามีให้ระบุและแนบเอกสาร ถ้าไม่มีก็ไม่ต้อง

5. คำสำคัญ (Keyword) ของการวิจัย – ให้ใช้ชื่อเรื่อง หรือตัวแปรที่ศึกษา มาเขียน

6. ความสำคัญ และที่มาของปัญหา – ให้เขียนออกเป็น 3 ย่อหน้า

     ย่อหน้าที่ 1 เกริ่นนำ อดีตมาถึงสถานการณ์ปัจจุบันที่เป็น hot issue โลก ประเทศ ปัญหา (อ้างอิงที่มา)

      ย่อหน้าที่ 2 สภาพปัญหาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ (เชิงปริมาณ/ กราฟ/ ตาราง) (อ้างอิงที่มา)

      ย่อหน้าที่ 3 นำประเด็นเข้าสู่กรอบการวิจัยเพื่อหาคำตอบ นำไปสู่การเขียนวัตถุประสงค์

          7. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

       – ให้ระบุเป็นข้อและสอดคล้องกับปัญหาที่จะศึกษา

       - ตอบโจทย์รัฐบาล องค์กร มหาวิทยาลัย

       - เขียนจากง่ายเป็นหายากและนำข้อสุดท้ายไปเป็นชื่อเรื่อง

          8. ขอบเขตของการวิจัย

       - ด้านพื้นที่ทำที่ไหน (จังหวัด อำเภอ ตำบล)

       - ทำกับใคร (กลุ่มคน หรือระดับบุคคล ประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง)

       - ด้านเนื้อหาที่จะศึกษา (สภาพปัญหา สิ่งที่ต้องการศึกษา รูปแบบการวิจัย)

          9. ทฤษฎี สมมติฐานและ/หรือกรอบแนวความคิดของการวิจัย

       - หาทฤษฎีหรือแนวคิดแล้วมาสรุปเป็นกรอบแนวคิดในการทำวิจัยครั้งนี้ ระบุแบบสั้นๆ

       - ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม/ Flow / I P O หรือความเรียงก็ได้

10. การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ (Information) ที่เกี่ยวข้อง

       - ไปดูประเด็นปัญหาของการวิจัยที่จะทำ (อ้างอิง)

       - โดยแบ่งออกเป็นแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัย ไม่ให้ผสมกัน

       - ศึกษาข้อมูลให้ครอบคลุมตัวแปรที่ศึกษา (อ้างอิง) เพื่อนำไปสู่กรอบแนวคิด

          11. เอกสารอ้างอิง

        - ให้นำหนังสือ ตำรา และวิจัยที่ค้นคว้า ใส่ทุกเล่ม

12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

        - ด้านวิชาการ สามารถใช้กับการเรียนการสอน และตีพิมพ์ลงวารสารทางวิชาการ

       - ด้านนโยบาย นำไปทำแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน และวิเคราะห์ปัญหาสู่การปฏิบัติ

       - ด้านเศรษฐกิจ/พาณิชย์/อุตสาหกรรม สามารถนำไปทดลองใช้กับภาคอุตสาหกรรม และเพิ่มยอดขายให้กับผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

       - ด้านสังคมและชุมชน ชุมชนเกิดการเรียนรู้ และการสร้างเครือข่ายให้มีความเข้มแข็ง

       - ให้ระบุชื่อ ที่อยู่หน่วยงานที่จะนำไปใช้ประโยชน์

       - แก้ปัญหาในการดำเนินงานของหน่วยงานที่ทำการวิจัย/ บริการความรู้แก่ประชาชน/ บริการความรู้แก่ภาคธุรกิจ/ นำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์/ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

13. แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมายเมื่อสิ้นสุดการวิจัย

        - ให้บอกกิจกรรมหรือวิธีการที่จะถ่ายทอด เช่น อบรม สัมมนา จัดทำเป็นคู่มือ หรือสื่ออื่นๆ

       - ให้เขียนเป็นข้อๆ หรือเป็นขั้นตอน หรือ Flow

14. วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล

       - ให้ระบุเป็นงานวิจัยประเภทไหน เช่น วิจัยพื้นฐาน วิจัยประยุกต์ หรือวิจัยพัฒนาทดลอง

        - ให้เขียนเป็นขั้นตอน เช่น ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ฯลฯ

       - ให้ระบุกลุ่มประชากร หรือกลุ่มตัวอย่าง หรือกลุ่มทดลอง ให้ชัดเจน

       - ให้ระบุสูตร หรือการคำนวณ หรือเปิดตารางที่มาของกลุ่มตัวอย่าง

       - ให้ระบุวิธีสุ่มตัวอย่างว่าใช้วิธีอะไรที่จะมาเป็นตัวแทนในการวิจัย

       - ให้ระบุเครื่องมือที่ใช้ให้ชัดเจนของแต่ละตอน และการหาความเที่ยงตรง

       - การเลือกสถิติให้ตรงกับวัตถุประสงค์

15. ระยะเวลาทำการวิจัย และแผนการดำเนินงานตลอดโครงการวิจัย

               - ให้ทำเป็นตาราง ระบุวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุด

สถานที่ทำการวิจัย ในประเทศ/

ต่างประเทศ

ชื่อประเทศ/จังหวัด

พื้นที่ที่ทำวิจัย

ชื่อสถานที่

ในประเทศ

กรุงเทพมหานคร

ภาคสนาม

มรภ.สวนสุนันทา,ม.เกษตร, ม.มหิดล,สวนนงนุชพัทยา

ต่างประเทศ

จีน

ภาคสนาม

บริษัท ไอยราเซ็นเตอร์ จำกัด

             เดือน

แผนการดำเนินการ

ปีที่ 1 (เดือน)

ปีที่ 2 (เดือน)

1

2

4

6

8

10

12

1

2

4

6

8

10

12

1.รวบรวมข้อมูล

2.ศึกษาขอบเขตพื้นที่

3.ศึกษาชุมชนที่ผลิตสินค้าชุมชน

4.ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

16. เป้าหมายของผลผลิต (Output) และตัวชี้วัด

ผลผลิต (output)

ตัวชี้วัด

เชิงปริมาณ

เชิงคุณภาพ

1.  ได้แนวทางการจัดทรัพยากรสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของกลุ่มชุมชนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น

- มีการพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการผลิตที่เหมาะสมของกลุ่มชุมชนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เหมาะสมกับกลุ่มเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 30

- มีวิธีแยกประเภทของทรัพยากร     

สภาพแวดล้อมได้เหมาะสม

2. สามารถแบ่งประเภทเทคโนโลยีการจัดการผลิตที่เหมาะสม

-  แยกจำนวนกลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการผลิตที่เหมาะสมของกลุ่มชุมชนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวนร้อยละ 20

- สามารถแยกแยะการพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการผลิตที่เหมาะสมของกลุ่ม ชุมชนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น

17. เป้าหมายของผลลัพธ์ (Outcome) และตัวชี้วัด

ผลผลิต (outcome)

ตัวชี้วัด

เชิงปริมาณ

เชิงคุณภาพ

1. นำแนวทางการจัดทรัพยากรที่มีอยู่บูรณาการกับเทคโนโลยีการจัดการการผลิตที่เหมาะสมของกลุ่มชุมชนผู้ผลิตสินค้า OTOP บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นไปสู่นโยบาย

- มีจำนวนกลุ่มชุมชนผู้ผลิตสินค้า OTOP ที่สามารถขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นได้มากขึ้นร้อยละ 20

- พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสินค้าให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้นเพิ่มขึ้นร้อยละ50

- สร้างและรักษาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ50

- มีความร่วมมือ สร้างเครือข่ายของกลุ่มชุมชนสินค้า OTOP

- ชุมนการมีความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต

2. ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนและมีการจัดสรรสภาพแวดล้อมแบบบูรณาการกับเทคโนโลยีการจัดการการผลิตที่เหมาะสมของกลุ่มชุมชนผู้ผลิตสินค้า OTOP ในแต่ละประเภทที่ใช้วัตถุดิบที่แตกต่างกัน

- มีจำนวนกลุ่มชุมชนผู้ผลิตสินค้า OTOP ที่เป็นต้นแบบในการใช้ทรัพยากรร่วมกันเพิ่มขึ้นร้อยละ5

- กำหนดพื้นที่ต้นแบบในการศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 30

- มีกระบวนการผลักดันให้กับผู้ผลิตสินค้า เพิ่มขึ้นร้อยละ5

- ยกระดับกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 40

- เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้ของชุมชนภายในและภายนอกมาศึกษาดูงาน

- เป็นพื้นที่ที่ได้ผ่านกระบวนการในการพัฒนาจนประสบผลสำเร็จที่สามารถเป็นแบบอย่างให้พื้นที่อื่นๆ

- ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้

18. ปัจจัยที่เอื้อต่อการวิจัยที่มีอยู่

                        - ทุนความรู้ คณะผู้วิจัยมีความรู้ ความสามารถประสบการณ์ในการวิจัยทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับชุมชนกลุ่มชุมชนที่ได้ทำการวิจัยต่อเนื่องมาเป็นเวลา 7 ปี ตั้งแต่ปี 2550 ถึง 2558 ที่ได้รับทุนอุดหนุน

-

  • ประสบการณ์กับกลุ่มชุมชนในพื้นที่ คณะผู้วิจัยได้ทำงานวิจัยร่วมกับชุมชนเมื่อปี 2548-2558  ซึ่งเข้าใจบริบทและสภาพปัญหาที่แท้จริงของชุมชนและได้รับความร่วมมือและมีเครือข่ายในการทำวิจัย

-

                        - ที่ต้องการเพิ่ม ทางคณะผู้วิจัยได้รับความร่วมมือ และรับทราบสภาพปัญหาจากสำนักพัฒนาชุมชน จังหวัดเพชรบุรี องค์การบริหารส่วนตำบล ประธานชุมชน และกลุ่มชุมชนผู้ผลิตสินค้าได้รับทราบสภาพปัญหาต่าง ๆ เป็นอย่างดี จึงจำเป็นที่ต้องแสวงหาแนวทางมาแก้ไขโดยตลอด แต่ยังขาดงบประมาณในการดำเนินการวิจัยเพื่อหาข้อเท็จจริง

19. งบประมาณของโครงการวิจัย

รายการ

จำนวนเงิน

1.งบบุคลากร

      - ค่าตอบแทน                                                                                                                

2. งบดำเนินงาน

    2.1 ค่าตอบแทน

    2.2 ค่าใช้สอย  

    2.3 ค่าวัสดุ

รวมงบประมาณที่เสนอขอ

หมายเหตุ

  1. เขียนให้สอดคล้องกับกระบวนการเก็บ รวบรวมข้อมูล (ข้อ 14 วิธีการดำเนินการวิจัย)
  2. ห้ามเขียนครุภัณฑ์และสิ่งปลูกสร้าง (กรณีค่าจ้างเหมาบริการสามารถเขียนได้)
  3. ให้เขียนรายละเอียดทุกประเด็นที่สอดคล้องกับกระบวนการเก็บข้อมูล
  4. ห้ามจ้างทั้งหมด เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล/ การทดลอง (เราทำอะไรบ้าง)

(รายละเอียดตาม คู่มือประกอบการเขียน แบบเสนอโครงการวิจัย (Research Project) (แบบ คอบช. 2ค หน้าที่ 3-7)

20. ผลสำเร็จและความคุ้มค่าของการวิจัยตามแผนการบริหารงานและแผนการดำเนินงาน       

               - P I G เลือกให้เหมาะสมกับผลลัพธ์ที่ได้ของแต่ละวัตถุประสงค์หรือกิจกรรม (รายละเอียดคู่มือนักวิจัย หน้าที่ 123) และเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

21. ข้อเสนอการวิจัยหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อเสนอการวิจัยนี้ (เลือกได้เพียง 1 ข้อ)

¦   ไม่ได้เสนอต่อแหล่งทุนอื่น

¦   เสนอต่อแหล่งทุนอื่นคือ (ระบุชื่อแหล่งทุน)

22. คำชี้แจงอื่น ๆ

       ระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น

                         - หนังสือความร่วมมือ หรือ รูปภาพที่ไปพบชุมชน พบหน่วยงาน

                        - เอกสารที่แสดงถึงการลงพื้นที่

               - เอกสารแสดงการมีปฏิสัมพันธ์กับหน่วยงาน ชุมชน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง

23. ลงลายมือชื่อหัวหน้าโครงการและนักวิจัยร่วมโครงการเพื่อให้คำรับรองในการจัดทำข้อเสนอการวิจัยและดำเนินการวิจัยตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เรื่องการรับข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2560

       - ชื่อหัวหน้าโครงการและนักวิจัยร่วมต้องมีในระบบ MRMS ถ้าอาจารย์ท่านใดยังไม่มีต้องไปลงทะเบียนในระบบก่อน

24. คำอนุมัติของผู้บังคับบัญชาระดับอธิบดี หรือเทียบเท่าของภาครัฐ (หรือผู้ได้รับมอบอำนาจ) หรือกรรมการผู้จัดการใหญ่ หรือเทียบเท่าของภาคเอกชน (หรือผู้ได้รับมอบอำนาจ) ในการยินยอม/อนุญาต ให้ดำเนินการวิจัย รวมทั้งให้ใช้สถานที่ อุปกรณ์ และสาธารณูปโภคในการดำเนินการวิจัย

       - กรณีที่ทำกับหน่วยงานภายนอก ต้องดำเนินการให้อธิการบดีลงนามด้วยตนเอง แต่ถ้าทำกับบุลคากรภายในมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยและพัฒนาจะเป็นผู้ดำเนินการเสนออธิการบดีให้เอง

            เกณฑ์การประเมินข้อเสนอโครงการวิจัย ประกอบด้วยเกณฑ์ดังนี้

                        1) ความสอดคล้อง (10 คะแนน)

                            1.1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ** มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                            1.2) นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ** มีความสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ

                            1.3) ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติรายประเด็น * มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติรายประเด็น

                            1.4) ยุทธศสาตร์ประเทศ มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศ

                            1.5) นโยบาย/เป้าหมายของรัฐบาล มีความสอดคล้องกับนโยบาย/เป้าหมายของรัฐบาล ซึ่งประกอบด้วย ระเบียบวาระแห่งชาติ โครงการท้าทายไทย และนโยบายรัฐบาล

                        2) คุณค่าทางปัญญาของแผนงานวิจัย (60 คะแนน)

                            2.1) ปัจจัยการวิจัย (20 คะแนน)

                            2.2) กระบวนการวิจัย (20 คะแนน)

                            2.3) ผลผลิตการวิจัย (20 คะแนน)

                        3) ผลกระทบของแผนงานวิจัย (30 คะแนน)

                            3.1) ผลลัพธ์ (Outcome) ของแผนงานวิจัยที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเป็นตัวคูณ (Multiplier) ที่ส่งผลสะเทือนสูงในเชิงผลกระทบต่อสังคม ชาติ และนานาชาติเป็นอย่างมาก ซึ่งผลกระทบของงานวิจัย อาจจะแสดงในเชิงปริมาณ หรือเป็นงานวิจัยที่มีการต่อยอดและใช้ต้นทุนต่ำ แต่ได้ผลตอบแทนสูง หรือเป็นงานวิจัยที่ผลิตได้ปริมาณมากและตรงตามความต้องการของตลาด ทำให้ได้รับผลตอบแทนสูงตามไปด้วย

                            3.2) งานวิจัยได้พัฒนาเชื่อมโยงจากท้องถิ่น โดยใช้ภูมิปัญญาไทยและมีแนวโน้มจะสามารถขยายการพัฒนาไปสู่ระดับประเทศ และนานาชาติ

                            3.3) ผลลัพธ์ของงานวิจัยจะทำให้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆ หรือไม่ ตามยุทธศาสตร์และยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติรายประเด็น

Others in this Category
document ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มความรู้
document ส่วนที่ 2 การดำเนินงานจัดการความรู้ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดองค์ความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของหน่วยงาน และกำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้
document ส่วนที่ 2 การดำเนินงานจัดการความรู้ ขั้นตอนที่ 2 การเสาะแสวงหาความรู้ที่ต้องการ/ การปรับปรุง ดัดแปลง ความรู้บางส่วนให้เหมาะสมต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน
document ส่วนที่ 2 การดำเนินงานจัดการความรู้ ขั้นตอนที่ 3 การปรับปรุง ดัดแปลง ความรู้บางส่วนให้เหมาะสมต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน
document ส่วนที่ 2 การดำเนินงานจัดการความรู้ ขั้นตอนที่ 4 การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
document ส่วนที่ 2 การดำเนินงานจัดการความรู้ ขั้ยตอนที่ 5 การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัดออกมาเป็นขุมความรู้
document ส่วนที่ 3 ผลผลิตและผลลัพธ์