|
|||||
สมาชิกกลุ่มความรู้ นำความรู้และประสบการณ์ของตนเอง ผนวกกับแนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกันสกัดองค์ความรู้ของสมาชิกในกลุ่ม ไปใช้ในการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย โดยแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนตามหัวข้อวิจัยที่สนใจ ดังนี้ 1) การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2560 โดยสมาชิกกลุ่มได้นำแนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย ไปจัดทำกรอบแนวคิดและ (ร่าง) ข้อเสนอโครงการวิจัย และนำมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน ดังนี้ 1) อาจารย์สุพัตรา ปราณี วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ วัตถุประสงค์การวิจัย ศึกษามาตรฐานของการจัดการธุรกิจสปา มาตรฐานด้านการบริหารจัดการ เดิมมีมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข และมีส่วนของกระทรวงพาณิชย์ทำมาตรฐานที่เป็นยกระดับเพิ่มขึ้นนมาซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับ TQA 7 หมวด เลยสนใจจะศึกษาเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข และยกระดับเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงพาณิชย์ โดยดำเนินการศึกษาระดับคุณภาพ คือ ประเมินเกณฑ์ที่มีอยู่ ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM ในการยกระดับมาตรฐานของธุรกิจสปา คำถามคือ เดิมมีมาตรฐานแล้วหรือยัง ดังนั้นเราต้องรีวิวในบทที่ 1 ว่าด้วยเรื่องของมาตรฐานสปา ถ้ามีแล้ว เราต้องเขียนว่าจะยกระดับ แต่ถ้ามาตรฐานยังไม่มี เราต้องศึกษามาตรฐานก่อนเพราะเราต้องการสร้างมาตรฐาน ในกรณีของ อาจารย์สุพัตรา คือ เรามีมาตรฐาน แล้วเราจะเอาเกณฑ์มาตรฐานไปทวนสอบ ไปประเมิน เราเรียกว่า การประเมินมาตรฐานของธุรกิจสปา ดังนั้นวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 คือ ประเมินมาตรฐานของธุรกิจสปา วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ยกระดับมาตรฐานเข้าสู่ TQA กรอบแนวคิด ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ดำเนินการประเมินผู้ใช้บริการ ประเมินธุรกิจสปาตามเกณฑ์มาตรฐาน เมื่อได้ข้อมูลพื้นฐานแล้ว สำหรับธุรกิจสปาที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสามารถยกระดับได้ จะเลือกสถานประกอบการที่มีคะแนนประเมินผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานเบื้องต้น สู่การยกระดับมาตรฐานตามเกณฑ์ TQA จะได้เป็นรูปแบบของการบริหารจัดการธุรกิจสปาที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM ผลที่ได้จากงานวิจัย คือ รูปแบบการบริหารธุรกิจสปา การเขียนกรอบแนวคิดให้เขียนเป็น flow chart โดยเริ่มจากเราประเมินสถานประกอบการตามเกณฑ์ ถ้าผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จะวิ่งเข้าสู่การยกระดับมาตรฐาน TQA แต่ถ้าสถานประกอบการที่ไม่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ จะนำไปสู่การยกระดับสถานประกอบการให้ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน และยกระดับสู่มาตรฐานเกณฑ์ TQA ปลายสุดได้รูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจสปา 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 รูปแบบของสถานประกอบการที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน สู่การยกระดับมาตรฐานตามเกณฑ์ TQA และรูปแบบที่ 2 สถานประกอบการที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน สู่การยกระดับมาตรฐานตามเกณฑ์ TQA 2) อาจารย์ ดร.จิราภรณ์ บุญยิ่ง วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษากลยุทธ์ในการทำธุรกิจ SME ของเครื่องสำอางค์ในประเทศไทย และเพื่อศึกษาข้อมูลทำธุรกิจในลักษณะทรัพยากร องค์กร ธุรกิจ SME เครื่องสำอางค์ และศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานทางด้านธุรกิจ SME เครื่องสำอางค์ และความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ธุรกิจ SME กับผลการดำเนินงานขององค์กร ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM ในการทำวิจัยการหาความคิดเห็นไม่ควรนำมาตั้งเป็นวัตถุประสงค์ เพราะความคิดเห็นเป็นเครื่องมือที่เราต้องค้นหาอยู่แล้ว นำมาตั้งเป็นวัตถุประสงค์ไม่ได้ ดังนั้นควรเริ่มตั้งแต่ศึกษากลยุทธ์ จากนั้นไปทำกลยุทธ์ และค่อยไปหาความสัมพันธ์ ดังนั้นวัตถุประสงค์ควรประกอบด้วย 3 ข้อ ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลธุรกิจ (ตัวแปรที่ศึกษาทั้ง 5 ได้แก่ ตัวคุณลักษณะองค์กร ทรัพยากรองค์กร ผู้นำองค์กร ผู้นำทางการตลาด กลยุทธ์ทางการตลาด ส่งผลต่อกลยุทธ์ในการทำธุรกิจจริงไหม ต้องรีวิวมาก่อน) 2) สร้างกลยุทธ์การทำธุรกิจ SME (มาจาก 5 มิติ ) 3) หาความสัมพันธ์ (ความสัมพันธ์อะไรกับอะไร ลักษณะทางธุรกิจกับกลยุทธ์ทางการตลาด) กรอบแนวคิด เกี่ยวกับคุณลักษณะทางธุรกิจ คุณลักษณะขององค์กร ทรัพยากรองค์กร ผู้นำองค์กร ผู้นำทางการตลาด กลยุทธ์ทางการตลาด ซึ่งเป็นปัจจัยทั่วไปที่จะศึกษา จากนั้นจะหากลยุทธ์ของธุรกิจ SME ว่าได้กำไรเท่าไหร่ ยอดขายเท่าไหร่ มีมูลค่าทรัพย์สินหรือเงินปันผล ส่วนแบ่งทางการตลาด มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อะไรบ้าง ภาพลักษณ์องค์กร ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM ในเบื้องต้นเราต้อง ศึกษาข้อมูลธุรกิจว่าตัวแปรที่ศึกษาทั้ง 5 มิติ ได้แก่ ตัวคุณลักษณะองค์กร ทรัพยากรองค์กร ผู้นำองค์กร ผู้นำทางการตลาด กลยุทธ์ทางการตลาด ส่งผลต่อกลยุทธ์ในการทำธุรกิจจริงไหม ต้องรีวิวมาก่อน จากนั้นค่อยมาสร้างกลยุทธ์ตาม 5 มิติ ที่เราศึกษา และสุดท้ายมาหาความสัมพันธ์ของกลยุทธ์ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางธุรกิจกับกลยุทธ์ทางการตลาด เป็นต้น ทั้งนี้งานวิจัยในลักษณะนี้ไม่เกิด Impact เพราะไม่ได้นำสู่การ Implement ในตอนเขียน Output Outcome จะได้เป็นเชิงนโยบาย ดังนั้นเราต้องนำสู่การปฏิบัติเพราะการจะได้รับทุนจากสถาบันวิจัยนั้น ต้องนำผลงานวิจัยสู่การนำไปใช้ประโยชน์ 3) อาจารย์ วรันลักษณ์ ภักดิ์ใจดี วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ วัตถุประสงค์การวิจัย ศึกษากระบวนการของอุตสาหกรรมการผลิตในภาคอิเล็กทรอนิกส์ มีการจัดการขยะในระบบไหม แล้วถ้าไม่มีจะเกิดผลเสียอย่างไรในระดับประเทศ จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยส่งผลให้มีของเสียเพิ่มขึ้น เลยจะนำระบบการขนส่งโลจิสติกส์ย้อนกลับมาช่วยในเรื่องการจัดการขยะในกระบวนการของโรงงานได้ไหม ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM การศึกษาในเรื่องอุตสาหกรรมการผลิตในภาคอิเล็กทรอนิกส์มีการจัดการขยะหรือไม่ ไม่ควรใส่ในวัตถุประงค์เพราะเราต้อง review มาแล้ว ว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่มีการจัดการขยะ หรือ ยังไม่มีการจัดการขยะ ต้องบอกเป็น 2 มิติ เพื่อ review เข้าสู่ประเด็นปัญหา กรณีที่ review มาแล้วพบว่า ยังไม่มีระบบการจัดการขยะ เราต้องแสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น แต่ถ้า review มาแล้วพบว่า มีระบบการจัดการขยะ เราจะไม่ทำวิจัยในเรื่องนี้ สมมุติว่า ไม่มีเราควรตั้งวัตถุประสงค์ 2 ข้อ ดังนี้ 1) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการจัดการขยะอย่างไร ต้องรีวิวมาก่อนว่ามีหรือไม่มี เข้าสู่ปัญหา (ไม่ควรตั้งเป็นวัตถุประสงค์) ถ้ามี ไม่ควรทำ แต่ถ้าไม่มี ค่อยนำสู่การนำโลจิสติกส์มาใช้ในโรงงาน 2) สามารถใช้โลจิสติกส์ย้อนกลับมาที่โรงงานได้ไหม เช่น อย่างโทรศัพท์เก่าไปแลกกับโทรศัพท์ใหม่ กรอบแนวคิด เมื่อเราศึกษาเรื่องระบบการจัดการขยะในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ถ้าไม่มีระบบการจัดการขยะ เราจะทำโลจิสติกส์ย้อนกลับ เช่น เอาของมาแลกกับสิ่งที่มีมูลค่า อาจจะเป็นเงินหรือสิ่งของก็ได้ อย่างเช่น นิคมอุตสาหกรรมมีการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ มีของเสียมากน้อยแค่ไหน หรืออีกแนวคิดจะมองในภาพของชุมชนซึ่งจะจัดตั้งเป็นลักษณะของศูนย์กำจัดของเสีย โดยเคยปรึกษากับเทศบาล ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM การเข้าไปเก็บข้อมูลในโรงงานค่อนข้างยากเพราะเป็นเรื่อง west โรงงานมักไม่ค่อยให้ข้อมูลเป็นข้อจำกัด ยกเว้นเรามีเครือข่ายภายในโรงงานในการขอข้อมูล สมมุติถ้าเก็บข้อมูลได้จริง พบว่า มี west เยอะ แล้วให้คนนำของมาแลก ตรงนี้เรามองที่บุคคลเอามาแลกหรืออีกมิติที่มองในภาพของโรงงาน จะคนละมุมมอง ทั้งนี้โรงงานแต่ละที่จะมีข้อมูลอยู่แล้วว่าของเสียมีปริมาณเท่าไหร่ ต้องมีการรายงาน ซึ่งเราจะไปจัดการกับข้อมูลของโรงงานจะค่อนข้างลำบาก เพราะโรงงานก็มีกฏหมายรองรับ ดังนั้นการทำวิจัยครั้งนี้ควรมุ่งเป้าไปที่ชุมชน กรณีที่ทำกับชุมชนต้องไปดูว่าชุมชนมีขยะมากน้อยเพียงใด แยกตามประเภทของขยะ ดังนั้นต้องกลับไปทบทวนกรอบแนวคิด ถ้าจะทำกับชุมชนต้องหาข้อมูลปัญหาขยะในชุมชน จะส่งผลเสียอย่างไหร่ในภาพอำเภอ ภาพจังหวัด จึงมุ่งเป้าหมายลงไปที่ชุมชนว่าเกิดปัญหาอะไร เช่น ขยะอันตรายไม่รู้จักแยกเนื่องจากไม่มีการจัดเก็บ ดังนั้นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน จากนั้นค่อยกล่าวการจัดการขยะในชุมชน และ by product จะได้ศูนย์ถ่ายทอดความรู้เรื่องการบริหารจัดการขยะ และการบริหารจัดการขยะของชุมชน ซึ่งเราต้องการได้ระบบการบริหารจัดการขยะในชุมชน และถ่ายทอดให้คนในชุมชนรู้จักการใช้งานเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นๆ 4) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอกณรงค์ วรสีหะ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ วัตถุประสงค์การวิจัย สนใจที่จะดำเนินการวิจัยในเรื่องภาพยนตร์โฆษณากับแรงจูงใจในการท่องเที่ยว ปัจจุบัน ททท. ได้จัดทำภาพยนตร์โฆษณาจำนวนมาก จึงอยากจะรู้ว่าจริงๆ แล้ว ภาพยนตร์โฆษณาชิ้นใดที่สามารถกระตุ้นหรือสร้างปัจจัยที่ทำให้คนสนใจไปท่องเที่ยวมากที่สุด เพื่อจะได้ไปสร้างภาพยนตร์ชิ้นนั้น เป็นการหาจุดเด่นของภาพยนตร์ เช่น unseen Thailand เก๋ไกไม่เหมือนใคร เมื่อหาจุดเด่นได้แล้ว และจะนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์โฆษณาเพื่อการท่องเที่ยว ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM กำลังจะหาความต้องการเพื่อไปสร้างภาพยนตร์ให้คนสนใจมาท่องเที่ยว ดังนั้น เราควรเริ่มจากหาภาพยนตร์มา 10 เรื่อง ที่เกี่ยวกับการโฆษณาการท่องเที่ยว นำมาวิเคราะห์จุดแข็งของแต่ละเรื่อง สร้างเป็นเมทริกซ์ ดึงเฉพาะเรื่องที่ดีๆ และนำมาสร้างเป็นเรื่องที่ 11 ของเรา จะเกิดประโยชน์ เป็นการวิเคราะห์ ถอดรูปแบบของแต่ละที่เพื่อเป็นต้นแบบของเรา กรอบแนวคิด เริ่มจากการไปศึกษาข้อมูลภาพยนตร์ที่โฆษณาการท่องเที่ยวที่ออกมาแต่ละปี ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ และรายได้ที่เกิดจากการท่องเที่ยวในปีนั้นเท่าไหร่ และเมื่อดูข้อมูลย้อนหลังไป 10 ปี มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ และรายได้ที่เกิดจากการท่องเที่ยวในปีนั้นเท่าไหร่ จากนั้นค่อยมาสอบถามอีกทีว่า จริงๆ แล้วรูปแบบของภาพยนตร์โฆษณาแบบใดที่ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM ในกรณีที่เราต้องการศึกษาว่าภาพยนตร์แต่ละเรื่องมีผลต่อจำนวนคนเที่ยวหรือไม่ ซึ่งเป็นปัจจัย Individual ของภาพยนตร์แต่ละเรื่อง ถ้าเรารู้แล้วนำมาใช้ประโยชน์อย่างไรต่อ ดังนั้นภาพยนตร์ที่ส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวสูง ต้องมีจุดเด่น จึงนำสู่การเลือกเรื่องภาพยนตร์ที่ดี มาถอดวิธีการ โดยเป็นข้อมูลว่าทำไมเราเลือกมาแค่ 10 เรื่อง ซึ่งต้องเป็นภาพยนตร์เรื่องที่ประสบความสำเร็จเราจึงเลือกมาเป็นต้นแบบ สร้างภาพยนตร์โฆษณาประชาสัมพันธ์ เชิงท่องเที่ยว เอางานของเพื่อนมาทำเป็นวิจัย ได้ผลงานเป็น sport หนังสั้น ส่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัด 5) รองศาสตราจารย์ทัศนีย์ ศิริวรรณ วิทยาลัยนานาชาติ วัตถุประสงค์การวิจัย พัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอกณรงค์ วรสีหะ ที่ทำในเชิงท่องเที่ยวเหมือนกัน จึงอยากจะชวนมาทำวิจัยร่วมกัน ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM ในกรณีที่งานวิจัยเป็นเชิงท่องเที่ยวเหมือนกัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอกณรงค์ วรสีหะ ควรจะทำภาพยนตร์เชิงท่องเที่ยว โดยไปเก็บข้อมูลงานวิจัยของเพื่อนอาจารย์ที่ถอดรูปแบบท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เชิงนิเวศน์ เชิงธรรมชาติ แล้วนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ by product จะได้ภาพยนตร์ท่องเที่ยว 1 เรื่อง ในชุดงานวิจัยท่องเที่ยว และเก็บความคิดเห็นของชุมชนต่อภาพยนตร์เรื่องนั้น และนำภาพยนตร์ที่สร้างได้ ส่งต่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ดังนั้น by product ของเรา คือ จะสร้างภาพยนตร์ด้านการท่องเที่ยว กรอบแนวคิด ดำเนินการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยว จังหวัดระนอง โดยออกแบบโปรแกรมท่องเที่ยว 1 คืน 2 วัน หรือ 2 คืน 3 วัน ซึ่งรูปแบบการท่องเที่ยวจะได้มาก่อน จากนั้นค่อยนำไปสู่การสร้างภาพยนตร์โฆษณาการท่องเที่ยวของจังหวัดระนอง และสามารถส่งผลงานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นรูปแบบของงานวิจัยมุ่งเป้า ที่ต้องการให้นำผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ เป็นการโปรโมทของ สกว. ด้วย 6) อาจารย์นฤมล ชมโฉม วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) เพื่อออกแบบสื่อมัลติมีเดีย 3) เพื่อพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM การอนุรักษ์ในงานวิจัยชิ้นนี้ มีกี่ประเภท ต้องระบุให้ชัดเจน ต้องนิยามคำว่าอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเติมในวัตถุประสงค์ข้อ 1 อาทิเช่น อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อความยั่งยืน ต้องเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสงคราม ส่วนวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ออกแบบสื่อมัลติมีเดียอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยเพื่อการเผยแพร่ กรอบแนวคิด ได้ลงพื้นที่ในจังหวัดสมุทรสงคราม และได้พบปัญหาเรื่องผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นผู้มีอายุ ส่วนลูกหลานเป็นคนรุ่นใหม่ไม่มีใครมาสืบทอดภูมิปัญญาการทำขนมไทย หรือเครื่องรางเบญจรงค์ หรือผ้าทอ ไม่มีคนมาสืบทอดแล้วจะอนุรักษ์ไว้อย่างไร เลยมีความคิดที่จะทำสื่อ จากนั้นนำมาออกแบบสื่อใดที่เหมาะสมสำหรับที่เราจะอนุรักษ์ภูมิปัญญานี้ไว้ เช่น สื่อวีดีโอ ป้ายประชาสัมพันธ์ กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ของงานวิจัยชิ้นนี้ คือ ผู้ประกอบการ กลุ่มของจังหวัด กลุ่ม ททท. ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องขนมไทย ต้องนิยามศัพท์คำว่า ขนมไทย มีกี่ชนิดที่ต้องการอนุรักษ์ เลือกมา 2-3 ชนิด จากนั้นออกแบบสื่อมัลติมีเดียการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยเรืองการทำขนมจ่ามงกุฏ เสน่ห์จันทร์ กลีบลำดวน ปลายสุดของผลงานวิจัยจะได้สื่อ แล้วจะนำสื่อไปเผยแพร่อย่างไร เป็นการหากลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ต้องรีวิวปัญหาให้ดีว่าทำไมต้องอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำขนมไทยตามที่เราเลือก 7) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชารวี บุตรบำรุง คณะวิทยาการจัดการ วัตถุประสงค์การวิจัย/กรอบแนวคิดในการวิจัย ปัจจุบันสถาบันการเงินในประเทศไทย ใช้ Application ในการให้บริการธนาคารผ่านมือถือ แต่จำนวนผู้ใช้บริการธานาคารผ่านมือถืออาจจะยังน้อยอยู่ จึงคิดที่อยากจะหาแนวทางในการส่งเสริมให้คนเข้าไปใช้บริการธนาคารผ่านมือถือ เป็นการให้ความรู้หรือหาแนวทางส่งเสริมให้คนเข้าไปใช้บริการธนาคารผ่านมือถือ โดยเจาะกลุ่มผู้สูงอายุ หรือกลุ่มบุคคลวัยทำงาน ให้เข้าไปใช้บริการมากขึ้น นอกจากเข้าไปใช้แล้วอาจจะรู้ถึงความต้องการของผู้บริการ ว่าปัจจุบัน Application ที่ใช้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้หรือไม่ และอยากให้พัฒนาอะไรเพิ่มเติมที่ให้ทันกับยุคไทยแลนด์ 4.0 ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM ในเรื่องการพัฒนา Application ให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ งานวิจัยแบบนี้จะไม่ดำเนินการเพราะเราจะหาแค่แนวทางส่งเสริม งานวิจัยควรทำในลักษณะของการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเรื่องที่อาจารย์สนใจเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสิขสิทธิ์ จะใช้แอพพลิเคชั่นอะไร ของธนาคารอะไร กลุ่มประชากรคือใคร ทำแล้วเกิดประโยชน์อะไร ทำไมกลุ่มประชากรถึงไม่ใช้ Application เป็นเพียงข้อมูลให้ธนาคาร ดังนั้นเราต้องหา core value ก่อนจึงค่อยกำหนดกลุ่มประชากร เช่น กลุ่มผู้ประกอบการที่ควรใช้แอพในการโอนเงินผ่านมือถือ ดังนั้นกลุ่มประชากรของอาจารย์ คือ กลุ่ม OTOP เราจะไปอบรมให้กลุ่มนี้เพื่อให้ใช้ Application ในการโอนเงิน ผ่านมือถือ ซึ่งตัว Application จะเป็นเรื่องของลิขสิทธิ์ และ Application ที่ใช้คืออะไร เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากในการดำเนินการวิจัย กรอบแนวคิด เลือกธนาคารขนาดใหญ่ เช่น กสิกรไทย เลือกกลุ่มประชากร คือ วัยทำงาน เพราะจะได้ลดต้นทุน ลดระยะเวลา ในการเดินทางไปธนาคาร เน้นเรื่องการส่งเสริมให้คนเข้าไปใช้ Application ที่คนไม่ค่อยเข้าไปใช้อาจเป็นเรื่องความไว้วางใจ ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM สาเหตุที่คนไม่ค่อยเข้าใช้งาน Application การให้บริการธานาคารผ่านมือถือ เป็นเพียงข้อมูลที่ให้กับธนาคาร ควรนำงานวิจัยไปร่วมทำกับคนอื่น เช่น มีเพื่อนอาจารย์ที่ทำในกลุ่ม OTOP ก็นำประเด็นคำถามเรื่องการใช้ Application การให้บริการธานาคารผ่านมือถือ ไปสอบถามกับกลุ่มนี้ ยังเป็นชุดโครงการย่อยได้ ซึ่งเราดูเรื่องการใช้ Application ในมือถือของกลุ่มผู้ประกอบการ 8) อาจารย์ณัฐกา สุทธิธนกูล คณะครุศาสตร์ วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนาความมีระเบียบวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมผ่านกิจวัตรประจำวันและเสริมแรงทางบวก กรอบแนวคิด ปัญหาเกิดจากเด็กเวลาดูหนังสือ เล่นของเล่น แล้วไม่ชอบเก็บเข้าที่เดิม จึงอยากจะฝึกเด็กในเรื่องความมีระเบียบวินัย โดยผ่านกิจวัตรประจำวัน อย่างเช่น การเข้าห้องน้ำ การนอน การทานอาหาร ตัวอย่างเช่น เวลาทานอาหาร เมื่อทานเสร็จแล้วให้เก็บจาน ช้อน เข้าที่เอง ฝึกให้เป็นนิสัย ในส่วนของการเข้าห้องน้ำ ต้องใส่รองเท้า ล้างมือ กลุ่มประชากรเป็นเด็กอนุบาล ในเรื่องของการนอนเมื่อตื่นขึ้นมาก็ให้ช่วยกันเก็บของ เพื่อเป็นการปลูกฝังให้เด็กมีระเบียบวินัย และสามารถทำเป็นประจำได้โดยไม่ต้องให้ครูคอยเตือน มีการวัดพฤติกรรม โดยมีแบบสังเกตุพฤติกรรม ระยะเวลาการฝึกผ่านกิจวัตรประจำวัน ประมาณ 3 เดือน เมื่อทำเสร้จแล้วจะมี Focus Group กับผู้ปกครอง และครู เพื่อสังเกตุพฤติกรรมว่าเมื่อเด็กอยู่ที่บ้านมีนิสัยเปลี่ยนไปหรือไม่ แล้วค่อยมาสรุปผล ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM เป็น Action Research โดยการ Training ให้เด็กมีความเป็นระเบียบวินัย ใส่ ทรีทเม้นท์ แล้ววัดผล เป็นการนำกิจกรรม ทฤษฎี แล้วทำให้เด็กเกิดความเคยชิน ต้องมีการสังเกตุพฤติกรรมก่อนและหลังการใส่ทรีทเม้นท์ เป็นการเปรียบเทียบ ก่อน- หลัง และบอกผลลัพธ์ที่ได้ ทั้งนี้ขอเสนอแนะให้มีการเพิ่ม Intervention เพิ่มเติมเข้าไปนอกเหนือจาก การทานอาหาร การเข้าห้องน้ำ อาทิเช่น การเล่านิทาน เพราะเป็นสิ่งที่เด็กทำประจำอยู่แล้ว เช่น ให้ทรีทเม้นเพิ่มเติมในเรื่องการเล่านิทาน โดยเล่าถึงพฤติกรรมที่ดีในการทานอาหาร เข้าห้องน้ำ เก็บที่นอนผ่านการเล่านิทาน ให้เรียนรู้จากนิทาน ตัวละครมีการเก็บของเล่น เก็บที่นอน ทั้งนี้ในการระบุผลลัพธ์ ควรเพิ่มเติมว่าสามารถนำรูปแบบที่ได้ไปใช้แก้ปัญหากับห้องเรียนอื่นๆ ได้ ถ้าเจอปัญหาในลักษณะเดียวกัน 9) อาจารย์บารมีบุญ แสงจันทร์ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ วัตถุประสงค์การวิจัย ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการของ ปปช (งบแผ่นดินขอไม่ได้เพราะไม่เกิด อิมแพ็ค เป็นเชิงนโยบาย) ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM วัตถุประสงค์ข้อ 1 เป็นแค่การศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ดังนั้นเมื่อทราบปัญหาแล้วควรนำปัญหาสู่การนำไปปฏิบัติ จึงควรเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ในเรื่อง สร้างรูปแบบการฝึกอบรมร่วมกับ ปปช เขียนหลักสูตรฝึกอบรม แล้วนำไปใช้ทุกราชภัฏ (หาแนวร่วมกับทางคณะครุศาสตร์ในการทำหลักสูตรฝึกอบรม) กรอบแนวคิด ประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการด้านคุณธรรม และจริยธรรม ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ปปช. สืบเนื่องจากโครงการเรื่องการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม ได้ดำเนินการมาสักระยะหนึ่งระหว่าง ปปช. กับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ โดยมีแผนการเรียนที่ปรากฏอยู่ในรายวิชา GE ที่เกี่ยวกับความเป็นพลเมือง โดยเริ่มจากศึกษาปัญหาของการดำเนินงานโครงการ ประชากร คือ กลุ่มราชภัฏ ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM ประชากรคือ กลุ่มราชภัฏ ดังนั้นต้องดูว่าทุกราชภัฏมีรายวิชา GE ที่เกี่ยวกับความเป็นพลเมือง เหมือนกันหมดหรือไม่ ฉะนั้นต้องดูว่ารายวิชามีผลกับการศึกษาครั้งนี้หรือไม่ ถ้ามีราชภัฏที่เป็นกลุ่มตัวอย่างต้องมีรายวิชาเหมือนกัน แต่ถ้ารายวิชาไม่มีผล ก็สามารภเก็บผลจากกลุ่มตัวอย่างได้เลยโดยที่ไม่ต้องสนใจรายวิชา เพราะไม่ใช่ตัวแปรแทรกซ้อน การที่จะนำกลุ่มตัวอย่างมา ต้องมีการดำเนินการเหมือนกัน ในกรณีที่มีแบบเรียนสำเร็จ กลุ่มตัวอย่างต้องใช้แบบเรียนเดียวกัน ถึงจะสามารถวัดผลได้ แต่ถ้ากลุ่มตัวอย่างใช้แบบเรียนไม่เหมือนกัน จะวัดผลได้ยากมาก ดังนั้น หลักการเบื้องต้น ต้องนำแบบเรียนที่ออกแบบกับ ปปช. ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง (มหาวิทยาลัยราชภัฏ 5 แห่ง) ให้นำสู่การจัดการเรียนการสอน จากนั้นวัดประเมินผล วัดความรู้ระหว่างเรียน เก็บผลเฉพาะกลุ่มที่เรียน 10) อาจารย์เปรมกมล จันทร์กวีกูล วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ วัตถุประสงค์การวิจัย 1) ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กรธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย 2) ตัวแบบของการประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน กรอบแนวคิด ปัจจัยแห่งความสำเร็จมีประมาณ 8 ด้าน จากนั้นหา factor analysis นำสู่การหาตัวแบบ เมื่อได้ตัวแบบเรียบร้อยแล้ว กระทรวงอุตสาหกรรมจะมีผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านให้ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM ปัจจัยแห่งความสำเร็จดูเรื่งอะไรบ้าง ปัจจัยแต่ละตัวจะมีหัวข้อย่อยลงไป เมื่อได้ปัจจัยเรียบร้อยแล้ว นำมาหา factor โดยใช้สถิติในการตัดสินใจ เมื่อวิเคราะห์ผลเรียบร้อยแล้ว จะหาผู้ทรงคุณวุฒิมาประเมินเพื่อให้ได้ตัวแบบ จากนั้นนำตัวแบบสู่การปฏิบัติโดยทดลองใช้กับกลุ่มธุรกิจที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 11) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาวิณี โฆมานะสิน คณะครุศาสตร์ วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อพัฒนาการใช้กระบวนการสอนงานระบบพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการปฏิบัติการสอนของนักศึกษก่อนและหลังการใช้ระบบการสอนงานระบบพี่เลี้ยง กรอบแนวคิด ใช้ระบบการสอนงานพี่เลี้ยง สอนให้กับนักศึกษาที่ต้องออกไปฝึกปฏิบัติการสอน โดยกลุ่มที่เกี่ยวข้อง คือ กลุ่มนักศึกษาที่จะออกไปฝึกปฏิบัติการสอน และกลุ่มครูพี่เลี้ยงของนักศึกษาซึ่งเป็นครูที่สอนในโรงเรียนร่วมพัฒนาที่นักศึกษาไปฝึกปฏิบัติการสอน โดยงานวิจัยจะเชิญกลุ่มครูพี่เลี้ยงมาอบรมการใช้ระบบการสอนงานระบบพี่เลี้ยง จากนั้นให้ครูพี่เลี้ยงนำระบบการสอนงานระบบพี่เลี้ยง มาใช้กับนักศึกษาฝึกปฏิบัติการสอน และเราซึ่งเป็นอาจารย์นิเทศก์ก็ทำหน้าที่ Coaching นักศึกษาฝึกปฏิบัติการสอนอีกทางหนึ่ง จากนั้นจึงเปรียบเทียบผล โดยครูพี่เลี้ยงจะมีแบบประเมินการสอน ประเมินการทำงานของนักศึกษา ประเมินก่อนว่ามีผลอย่างไร จากนั้นเมื่อครูพี่เลี้ยงได้รับการอบรมเรื่องระบบการสอนงานระบบพี่เลี้ยง จะนำไปใช้กับนักศึกษาฝึกปฏิบัติการสอน แล้ววัดผลการปฏิบัติงาน ประเมินผลการสอน และประเมินสมรรถะการสอน ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นการให้ความเห็นว่าระบบการสอนงานระบบพี่เลี้ยง นั้นมีประสิทธิภาพ ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM ต้องกำหนดรายวิชา กำหนดกลุ่มนักศึกษา แสดงว่า ในวัตถุประสงค์ข้อแรก จะต้องบอกว่า ระบบการสอนงานระบบพี่เลี้ยง นั้นมีขั้นตอนอะไรบ้าง เพื่ออบรมให้กับครูพี่เลี้ยง จากนั้นครูพี่เลี้ยงก็ต้องมีขั้นตอนของระบบการสอนงานระบบพี่เลี้ยง เพื่อนำไปใช้กับนักศึกษาปฏิบัติการสอน 12) อาจารย์เฉลิมพล ทัพซ้าย วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ วัตถุประสงค์การวิจัย สร้าง Mobile Application เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต 4 ด้าน คือ สุขภาพ อาหารการกิน ปฏิทิน และสังคมแก้เหงา กรอบแนวคิด เกี่ยวกับผู้สูงอายุจะทำเกี่ยวกับ Mobile Application เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ หลักคิดเริ่มจากผู้สูงอายุจะมีปัญหาหลายอย่าง ทั้งในเรื่องสุขภาพ เหงา ไม่รู้จะคุยกับใคร เวลาจะหาความรู้ไม่รู้ว่าจะหาจากแหล่งใด ประชากรคือ ผู้สูงอายุที่ใช้อุปกรณ์ Mobile ทั่วประเทศ กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ และเป็นกลุ่มในจังหวัดที่มหาวิทยาลัยมีศูนย์ให้การศึกษา เมื่อได้กลุ่มตัวอย่าง เราจะสร้าง Application ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ อาหารการกิน ปฏิทิน และสังคมแก้เหงา จากนั้นกลุ่มตัวอย่าง Download Application ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM การเลือกกลุ่มผู้สูงอายุ จะเลือกโดยวิธีใด ทั้งนี้ในการเลือกกลุ่มเป้าหมาย ในเมื่อกลุ่มประชากรคือ ผู้สูงอายุทั่วประเทศ เวลาเลือกกลุ่มตัวอย่าง ต้องเป็นตัวแทนของจังหวัดนั้นจริงๆ และมีวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามระเบียบวิธีวิจัย ในการเลือกกลุ่มเป้าหมาย ต้องแสดงปัจจัยที่ส่งผลให้เราเลือกผู้สูงอายุในจังหวัดอุดรธานี เช่น ผู้สูงอายุในจังหวัดอุดรธานีมีจำนวนมาก แล้วตอบสนองกับเรามีศูนย์การศึกษาอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี เสนอแนะให้เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุของทุกจังหวัด ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 1) สร้าง Application 4 ด้าน 2) จัดอบรม Training ให้กับกลุ่มตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจการใช้งาน 3) ใช้ Application ในการหาความรู้ 4) วัดผลความรู้โดยใช้แบบทดสอบที่ เป็น รู้ กับ ไม่รู้ เท่านั้น 5) นำรูปแบบ Application ที่ปรับแก้เรียบร้อยแล้ว เผยแพร่สู่กลุ่มเป้าหมาย โดยจัดอบรมเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยี 13) อาจารย์วันวิสาข์ สายสนั่น ณ อยุธยา วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ วัตถุประสงค์การวิจัย 1) ศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกไบโอฟีดแบคต่อภาวะซึมเศร้าและความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ 2) เปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าและความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจในผู้สูงอายุก่อนและหลังในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง 3) เปรียบเทียบภาวะซึมเศร้ากับความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจในผู้สูงอายุระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM วัตถุประสงค์ข้อ 1 ควรปรับเป็นศึกษาประสิทธิภาพหรือประสิทธิผล ของโปรแกรม กรอบแนวคิด มีเครื่องมือวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งเครื่องนี้จะฝึกให้หายใจไม่เกิน 10 ครั้งต่อนาที เครื่องจะมีเสียงเพลงให้เราฝึกหายใจตาม นำผลที่ได้ไปสู่การลดภาวะซึมเศร้า โดยขั้นแรกจะเริ่มจากคัดกรองกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า เลือกเฉพาะที่มีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย-ปานกลาง ถ้ามีภาวะซึมเศร้ารุนแรงมากจะส่งให้แพทย์ดูแล โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายไปที่จังหวัดนครปฐม จากนั้นฝึกการหายใจให้ช้าลง และสม่ำเสมอๆ โดยใช้เครื่องเป็นตัววัดไบโอฟีดแบคเป็นได้ทั้งตัววัดและตัวควบคุมซึ่งจะมีโปรแกรมที่สอนคนไข้ว่าควรหายใจอย่างไร และจะต้องเช็ตโปรแกรมว่าจะสอนกี่วัน โดยจะนำมาเปรียบเทียบก่อนและหลังระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง จะมีการคัดกรองจากแบบสอบถามจากผู้ที่มีภาวะเล็กน้อยถึงปานกลาง ถ้าเกิดมีอาการซึมเศร้ารุนแรงก็จะส่งต่อให้กับแพทย์ ใช้กลุ่มตำบลของจังหวัดนครปฐม โดย จังหวัดนครปฐมมีผู้สูงอายุร้อยละ 15 ของกลุ่มผู้สูงอายุ ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM การเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เป็นขอบเขตด้านพื้นที่ต้องเชื่อมโยงกับความเป็นมา บอกเหตุผลความจำเป็น ความรุนแรงที่เราต้องเลือกกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่นั้นๆ 14) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลดาวัลย์ อุ่นประเสริฐพงศ์นิชโรจน์ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ วัตถุประสงค์การวิจัย พัฒนาศักยภาพผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานโดยใช้ชื่อว่าพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อสังคมเป็นมิตรในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน โดยใช้ศาสตร์การนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าแบบพลังบำบัด เน้นที่การกดจุด โดยจะทำการพัฒนาเทรนนิ่ง เพื่อที่จะเข้ามาดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน พัฒนาศักยภาพผู้ดูแล โดยการหาคนที่จะไปเทรนนิ่ง เพื่อที่จะไปดูแลผู้ป่วย กรอบแนวคิด คัดเลือกกลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่จะมาเป็น Training จากนั้นจัดอบรมให้ความรู้โดยจะให้ความรู้เรื่องศาสตร์นวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าแบบพลังบำบัด มีการวัดประเมินผลความรู้ก่อนและหลังอบรม ว่าสามารถปฏิบัติได้หรือไม่ สุดท้ายจะได้ คู่มือในการสอนประชาชนที่เน้นการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้ากับโรคเบาหวานโดยตรง จากนั้นนำผู้แลที่ผ่านการอบรมและคู่มือไปทดลองกับกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน และวัดค่าน้ำตาลในเลือด โดยจะใช้เวลา 2-3 เดือนในการนวด ทั้งนี้มีแนวคิดที่จะจัดทำโปรแกรม Training จะสามารถขอเป็นโปรเจคใหญ่ๆ ได้เลยหรือไม่ ซึ่งจากที่ได้ทำการทดลองทำกับพยาบาลพบว่าคนไข้ไม่สามารถอยู่กับพยาบาลได้ตลอดเวลา จึงอยากจะ Train ให้กับคนที่ไม่ใช่พยาบาล แต่เป็นคนในครอบครัว คนในชุมชน ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM แยกกลุ่มให้ชัดเจนระหว่างผู้ดูแลที่เราจะ Training กับกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ว่าจะมีกี่คน และเมื่อนำไปทดลองกับกลุ่มผู้สูงอายุจะต้องตอบได้ว่า น้ำตาลในเลือดลดลงได้จำนวนกี่คน เขียนขั้นตอนการดำเนินการวิจัยในบทที่ 3 ให้ชัดเจน ทั้งนี้ลักษณะโครงการจะของบประมาณทำเป็นโปรเจคใหญ่ได้หรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับตัวอาจารย์ สถานที่ และระยะเวลา จะต้องทำเป็นขั้นตอน (จะขอทุนจากงบแผ่นดิน เพื่อจะมา Training คน 500 คน แต่จำนวนคนยังไม่มีนัยยะ ซึ่งไม่ควรทำเยอะมาก เพราะมันจะไม่ส่งผลอะไร แนะนำให้เพิ่มเติม คือ การทำ App และใส่โมเดลใหม่ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีผู้ดูแลก็ได้ 15) อาจารย์วัลลภา วาสนาสมปอง วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ วัตถุประสงค์การวิจัย พัฒนารูปแบบกิจกรรมนันทนาการเพื่อป้องกันภาวะพุทธิปัญญาเสื่อมระยะแรกในผู้สูงอายุ กรอบแนวคิด พัฒนารูปแบบกิจกรรมโดยสร้างโมเดลและศึกษาผลของโปรแกรม จากนั้นเปรียบเทียบคะแนนประเมินวุฒิปัญญาเสื่อม โดยจะมีกิจกรรมกระตุ้นการรู้คิด ผลลัพธ์ ได้กิจกรรมกระตุ้นการรู้คิด ครอบคลุมด้าน ความจำ ความสนใจ ความคิดรวบยอด การรับรู้สภาวะรอบตัว ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM ด้านสหเวชศาสตร์มีหลายมิติที่สามารถดำเนินการร่วมกันได้ ควรแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ท่านอื่นๆ ที่สนใจเรื่องสุขภาพ 16) อาจารย์สุพัตรา ปราณี วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ วัตถุประสงค์การวิจัย รูปแบบการทำงานและอาชีพที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการของผู้สูงอายุที่ยังสุขภาพดีที่ยังมีความต้องการอาชีพหรืองานที่ต้องทำมีอะไรบ้าง 2) ศึกษาความเป็นไปได้ของอาชีพหรือความต้องการในการทำงาน เช่น งานขาย ผู้ประกอบการจะสามารถรับได้ไหม 3) รูปแบบหรืออาชีพที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุของกรุงเทพมหานคร ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM ต้องศึกษาในเรื่อง กฎหมายผู้สูงอายุ ถ้าทำงานจะต้องทำอะไรบ้าง เช่น แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ ข้าราชการ และเอกชน เมื่อได้กลุ่มบุคคลแล้วต้องดูในเรื่อง มีกฎหมายรองรับหรือไม่ ในกรณีที่ อายุ 60 ปี แล้วจ้างงานต่อ เพราะเมื่อเราทำงานวิจัยเสร็จ แต่ไม่มีกฏหมายรองรับว่า ผู้ประกอบการสามารถจ้างงานคนอายุเกิน 60 ปี ซึ่งจะไม่มีกฏหมายรองรับ นิยามผู้สูงอายุ คือ คนที่อายุเกิน 60 ปีใช่หรือไม่ ถ้าใช่ต้องสำรวจว่าคนส่วนใหญ่ที่อายุเกิน 60 ปี ทำอะไร เช่น ทำงานต่อกี่คน อยุ่บ้านกี่คน โดยเก็บข้อว่าทั้งประเทศเมื่อเกษียณอายุราชการแล้วไปทำอาชีพอะไรต่อ เพื่อให้ได้กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน และควรมีการร่วมมือกับกระทรวงพัฒนาสังคม เพื่อเป็นข้อมูลให้ทราบว่า เมื่อคนเกษียณอายุแล้ว ยังมีสถานประกอบการที่จ้างงานอยู่ ผู้ใช้ประโยชน์ต้องมาอยุ่ในวัตถุประสงค์งานวิจัยของเรา กรอบแนวคิด ในต่างประเทศ อย่างเช่นญี่ปุ่นหรืออเมริกา ผู้สูงอายุจะมีการจ้างงาน เลยมองย้อนกลับมาที่ประเทศไทย ที่มีสังคมผู้สูงอายุ นอกจากที่เราจะดูแลผู้สูงอายุแล้วนั้น เราสามารถที่จะจ้างงานได้หรือไม่ โดยผู้สูงอายุอาจมีความต้องการในการประกอบอาชีพ 17) อาจารย์ ดร.พลอยทราย โอฮาม่า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาจารย์ ดร.รัตนชัย ไทยประทุม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผศ.ดร.วนิดา วอนสวัสดิ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาจารย์ ดร.เสาวณีย์ คำพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วัตถุประสงค์การวิจัย อาจารย์ ดร.พลอยทราย โอฮาม่า ชื่อเรื่องงานวิจัย สารป้องกันรังสี UV จากสมุนไพรไทย วัตถุประสงค์ สกัดสารป้องกันรังสี UV จากสมุนไพรไทย ศึกษาคุณสมบัติป้องกันรังสี UV ของสารสกัด และพัฒนาผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด กรอบแนวคิด เคยดำเนินการวิจัยเรื่องผ้า โดยสกัดสีจากสมุนไพรมาย้อมผ้า แล้วผ้าสามารถป้องกันรังสี UV จึงให้ความสนใจเรื่อง สารกัดจากสมุนไพรที่ป้องกันรังสี UV งานวิจัยชิ้นนี้สนใจเฉพาะสารสักดและจะพัฒนาไปสู่เครื่องสำอางค์ที่ป้องกันรังสี UV โดยวิเคราะห์เฉพาะสารสกัด จากนั้นนำไปใส่ในครีม และวิเคราะห์ค่าป้องกัน UV ของผลิตภัณฑ์ ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM ต้องนำสมุนไพรแต่ละชนิด มาวิเคราะห์เพื่อหาค่าในแลป แล้วนำมาวิเคราะห์ว่าสารสกัดใดที่มีผลป้องกันรังสี UV ทั้งนี้ในส่วนของขั้นตอนการวิเคราะห์สารสกัดว่ามีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ควรดูว่ามีผลต่อการชะลอวัยด้วยหรือไม่ จะสามารถทำเป็นชุดโครงการวิจัยได้ โดยอาจารย์ ดร.รัตนชัย ไทยประทุม สนใจศึกษาในเรื่อง สมบัติต้านการชะลอวัยของสมุนไพรไทย ส่วนของ ผศ.ดร.วนิดา สารสะกัดบางตัวที่อยู่ในสมุนไพรสามารถตกตะกอนโลหะหนักได้ โดยดูว่าสมุนไพรชนิดนั้นตรงกับของ อาจารย์ ดร. พลอยทราย และ อาจารย์ ดร.รัตนชัย หรือไม่ และของ อาจารย์ ดร.เสาวณีย์ จะทำในเรื่องของสารสกัดจากสมุนไพรไทยที่ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ดังนั้นให้ ออาจารย์ ดร.พลอยทรายเขียนเป็น ว1ช และท่านอื่นๆ เขียน ว1ด 18) ผศ.ดร.ลดาวัลย์ อุ่นประเสริฐพงศ์ นิชโรจน์ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ วัตถุประสงค์การวิจัย ชื่อเรื่อง ผลของโปรแกรมการท่องเที่ยวสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรมและสุขภาพด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แบบผสมผสาน เพื่อผู้ป่วยเบาหวาน ความดัน และไขมันในเลือดสูง เมืองสามน้ำสมุทรสงคราม กรอบแนวคิด ประชากรคือผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะนำมาเป็นนักท่องเที่ยว จะไม่ใช่กลุ่มคนทั่วไป เน้นเรื่องสุขภาพ เนื้อหาประกอบด้วยการจัดกิจกรรม 3 อ. อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ นำมาสู่การจัดกิจกรรม ซึ่งหน่วยงานที่สนับสนุนคือโรงแรมชูชัยบุรี จัดอาหารแบบ low fat low carbohydrate low saw ทั้ง 5 วัน มีการนวดกุดจุดสะท้อนฝ่าเท้า จะเป็นโปรแกรมการท่องเที่ยวภายใน 5 วัน วัดผลก่อน-หลัง เข้าโปรแกรมท่องเที่ยว 19) อาจารย์ ดร.มัณฑนาวดี เมธาพัฒนะ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ วัตถุประสงค์การวิจัย ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์ประกอบด้วย เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมอย่างมีส่วนร่วมสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อทดสอบรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ศึกษาสถานการณ์และสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อศึกษาระบบและกลไกการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านในชุมชน เพื่อวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านแบบองค์รวม เป็นการหาแนวทางหรือหารูปแบบในการดูแลฟื้นฟูสภาพของผู้สูงอายุที่อยู่ติดบ้าน กรอบแนวคิด นิยามผู้สูงอายุคือใคร จะได้กลุ่มผู้สูงอายุแบบช่วยเหลือตัวเองได้ กลุ่มผู้สูงอายุแบบติดบ้าน กลุ่มผู้สูงอายุแบบติดเตียง กลุ่มเป้าหมายจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุแบบติดบ้าน วิธีดำเนินการวิจัย ศึกษาว่าผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านต้องการการดูแลอย่างไร จากนั้นวิเคราะห์หารูปแบบในการดูแลฟื้นฟูสภาพของผู้สูงอายุที่อยู่ติดบ้าน ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM ต้องเกริ่นนำว่าในประเทศเรามีผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้ ผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ผู้สูงอายุที่ติดเตียง เท่าไหร่ แล้วสรุปให้เห็นภาพว่า ผู้สูงอายุที่ติดบ้านขาดการดูแลจริงไหม เมื่อได้รูปแบบการดูแลฟื้นฟูสภาพของผู้สูงอายุที่อยู่ติดบ้าน ให้นำสู่การถ่ายทอดให้กับผู้สูงอายุในชุมชน โดยอาจทำเป็นคู่มือออนไลน์ คู่มือดูแลสุขภาพใน App หรือ ถ่ายทอดในโปรแกรมการท่องเที่ยว 20) อาจารย์ธวัช พุ่มดารา วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ วัตถุประสงค์การวิจัย ชื่อเรื่อง การศึกษาแนวทางในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเขตท่องเที่ยวเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาถึงทัศนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2) ศึกษาถึงผลกระทบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม 3) ศึกษาถึงกระบวนการในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรอบแนวคิด กลุ่มเป้าหมายที่จะศึกษาทัศนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ และอำเภอแม่ระมาด ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM นิยามคำว่าทัศนะ ประกอบด้วยอะไรบ้าง เพราะในระเบียบวิธีวิจัย ต้องบอกว่าจะตอบโจทย์วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ได้อย่างไร วัตถุประสงค์ข้อ ที่ 2 จะมองในมิติไหนบ้าง วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 กระบวนการพัฒนามีอะไรบ้าง ต้องระบุในระเบียบวิธีวิจัยให้ชัดเจน เมื่อได้ผลลัพธ์ต้องมีกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย 21) อาจารย์วิภากร สอนสนาม วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ วัตถุประสงค์การวิจัย ชื่อเรื่อง รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในยุคไทยแลนด์ 4.0 วัตถุประสงค์ คือ การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง และติดตามผู้สูงอายุ กรอบแนวคิด สังคมไทยเข้าสู่ยุคสังคมผู้สูงวัย สมุทรสงครามเป็นอันดับที่ 5 แล้ว อำเภอบางนางลี่ เป็นอำเภอที่มีปัจจัยสนับสนุน เช่นมีแหล่งเรียนรู้ มีความร่วมมือ และมหาวิทยาลัยมีการให้บริการวิชาการมาอย่างต่อเนื่อง ผู้สูงอายุเมื่ออายุมากขึ้น การดูแลตนเอง หรือศักยภาพต่างๆ เริ่มลดลง อุบัติเหตุก็อาจจะเกิดขึ้น จึงสนใจที่จะสร้าง Application ในการเฝ้าระวัง ติดตามผู้สูงอายุ โดยผู้ดูแลจะเป็นผู้ควบคุม Application จากนั้นนำ Application ไปทดลองใช้กับผู้สูงอายุ และประเมินผล Application นี้ มีข้อมูลพื้นฐานทั้งหมดของผู้สูงอายุ จะทราบข้อมูลว่าผู้สูงอายุอยู่บริเวณใด ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ โดยมีชิฟอยู่ที่ผู้สูงอายุ Application ข้อคิดเห็นของสมาชิก KM ต้องมีเกณฑ์ในการคัดเลือกกลุ่มผู้สูงอายุ การสร้าง Application ควรมีส่วนเสริมที่นอกเหนือจากการทราบแค่ข้อมูลตำแหน่งที่อยู่และชีพจรของผู้สูงอายุ น้ำหนักจะเบาไป ต้อง Review ให้ชัดเจนว่าทำไมต้องทำ ซึ่งการดูชีพจรตรงนี้ เราจะทราบได้ว่าอัตราการเต้นของหัวใจช้าหรือเร็วเกินไป ผิดปกติหรือไม่ ซึ่งผู้ดูแลจะเห็นข้อมูลตลอด และต้องมีคู่มือประกอบการดูแล |