Email to friend
* Your name:
* Your email:
* Friend's email:
Comment:


ส่วนที่ 2 การดำเนินงานจัดการความรู้ ขั้นตอนที่ 3 การปรับปรุง ดัดแปลง ความรู้บางส่วนให้เหมาะสมต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน

กลุ่มความรู้ได้แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย ดังนี้

       1) การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2560 โดยนำความรู้ที่ได้จากการถอดบทเรียนของอาจารย์แต่ละคน มาสกัดความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน ปรับปรุงดัดแปลงความรู้ให้เหมาะสมกับการนำไปปฏิบัติ ดังนี้

หัวข้อ

เทคนิค/วิธีปฏิบัติ

ยื่นเสนอขอรับทุนในกลุ่มเรื่อง

- ระบุกลุ่มเรื่องเดียวเท่านั้น

- การระบุกลุ่มเรื่อง ตรงตามกลุ่มที่ วช. กำหนด

กรอบวิจัย

- ระบุชื่อกรอบวิจัยภายใต้กลุ่มเรื่องเพียงกรอบวิจัยเดียวเท่านั้น

- การกำหนดกรอบวิจัย เป็นไปตามกรอบที่ วช. กำหนด

กรอบวิจัยย่อย

- ระบุชื่อกรอบวิจัยย่อยเพียงข้อเดียวเท่านั้น

- การกำหนดกรอบวิจัยย่อย ภายใต้กรอบวิจัยที่เลือกเท่านั้น

ชื่อโครงการวิจัย   (ภาษาไทย)

(ภาษาอังกฤษ)

- การกำหนดชื่อเรื่องวิจัย ต้องสัมพันธ์กับ กลุ่มเรื่อง กรอบวิจัย และกรอบวิจัยย่อย

– ให้นำวัตถุประสงค์ข้อสุดท้ายมาปรับเป็นชื่อเรื่อง

ชื่อแผนงานวิจัย

- ใส่ชื่อแผนงานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กรณีเป็นโครงการวิจัยย่อยภายใต้แผนงานวิจัย

- กรณีที่เป็นวิจัยเดี่ยวไม่ต้องระบุชื่อแผนวิจัย ถ้าเป็นชุดวิจัย ต้องระบุแผนงานวิจัยย่อย

ส่วน ก : องค์ประกอบของข้อเสนอโครงการวิจัย

1) ผู้รับผิดชอบประกอบด้วย

- กรณีเป็นทุนความร่วมมือกับต่างประเทศให้ระบุผู้รับผิดชอบทั้ง “ฝ่ายไทย” และ “ฝ่ายต่างประเทศ”

1.1) หัวหน้าโครงการ

- เปอร์เซ็นที่ใส่สัดส่วนไม่จำเป็นต้องมากกว่าผู้ร่วมวิจัย ไม่จำเป็นว่าต้องมากกว่า 50 % ขึ้นอยู่กับภาระงานที่ทำจริง

- ไม่จำเป็นต้องมีคุณวุฒิตรงกับหัวข้อวิจัย แต่ต้องสัมพันธ์ ถ้าสามารถหาคุณวุฒิได้ทั้งตรงและสัมพันธ์จะดีมาก

- ทั้งนี้ในกรณีที่ต้องการนำผลงานวิจัยไปสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ ต้องมีชื่อเป็นหัวหน้าโครงการ และมีสัดส่วนการทำวิจัย ตั้งแต่ 50 % ขึ้นไป

– ควรมีศาสตร์ที่ตรงกับเนื้อหาที่เสนอขอและมีตำแหน่งทางวิชาการ หรือผู้ที่เคยได้รับทุน (ใส่สัดส่วน)

1.2) ผู้ร่วมงานวิจัย

- ไม่ใช่ผู้ช่วยนักวิจัย ผู้ร่วมวิจัยต้องระบุสัดส่วนการทำวิจัย แต่ผู้ช่วยงานวิจัยไม่ต้องใส่สัดส่วน ในกรณีที่มีนักศึกษามาช่วยทำวิจัยจะแสดงถึงการบูรณาการกับการเรียนการสอน

- ผู้ร่วมวิจัยคุณวุฒิต้องสัมพันธ์กับหัวข้อวิจัย เพราะแสดงถึงความสำเร็จในการทำวิจัย

- ผู้ร่วมวิจัยไม่ควรเป็นคณะเดียวกัน ศาสตร์เดียวกัน เพราะเราไม่ได้ทำวิจัยแนวดิ่ง ปลายสุดของงานวิจัยต้องนำไปสู่การใช้ประโยชน์ ไม่ควรเป็นคณะเดียวกันทั้งหมด เพื่อแสดงถึงการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ร่วมกัน

- ผู้ร่วมวิจัยควรมีอาจารย์ที่ยังไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ  ร่วมทำวิจัย 1-2 คน เพื่อแสดงถึงการสร้างและพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่

– ควรเป็นศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์หรือตรงกับเนื้อหาที่เสนอขอ (ถ้าเป็นหน่วยงานอื่นจะดีมาก) (ใส่สัดส่วน)

1.3) หน่วยงานหลัก

- ให้ระบุคณะ/วิทยาลัยที่อาจารย์สังกัด

1.4) หน่วยงานสนับสนุน

- ให้ระบุหน่วยงานที่เราทำความร่วมมือในการทำวิจัย โดยใส่ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง และหน่วยงานที่สังกัด ต้องเป็นชื่อหัวหน้าหน่วยงานที่เราทำความร่วมมือ อาทิเช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด ประธานชุมชน เพื่อแสดงถึงงานวิจัยชิ้นนี้มีผู้สนับสนุน สามารถดำเนินการได้สำเร็จ ใส่ได้มากกว่าหนึ่งหน่วยงาน ถ้ามีความร่วมมือมากยิ่งดี

2) ประเภทการวิจัย

- มีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ การวิจัยพื้นฐาน (basic research) การวิจัยประยุกต์ (applied research) และการพัฒนาทดลอง (experimental development) โดยอาจารย์ต้องเลือกเพียง 1 จาก 3 ประเภทนี้เท่านั้น และต้องสัมพันธ์กับชื่อเรื่อง

3) สาขาวิชาการและกลุ่มวิชาที่ทำการวิจัย

- มีทั้งหมด 12 กลุ่มวิชา ได้แก่ 1) วิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ 2) วิทยาศาสตร์การแพทย์ 3) วิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช 4) เกษตรศาสตร์และชีววิทยา 5) วิศวกรรมและอุตสาหกรรมวิจัย 6) ปรัชญา

7) นิติศาสตร์ 8) รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ 9) เศรษฐศาสตร์ 10) สังคมศาสตร์ 11) เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 12) การศึกษา

- เลือกเพียง 1 จาก 12 กลุ่มวิชาเท่านั้น โดยกลุ่มวิชาที่เลือกจะสัมพันธ์กับชื่อเรื่องงานวิจัย เมื่อเราได้รับทุนสนับสนุนวิจัยอย่างต่อเนื่อง วช. จะให้เลขรหัสผู้วิจัยแห่งชาติตามกลุ่มวิชา

4) มาตรฐานการวิจัย (ถ้ามี)

- ถ้ามีให้ระบุและแนบเอกสาร ถ้าไม่มีก็ไม่ต้อง

- กรณีที่อาจารย์ทำเกี่ยวกับเรื่องจริยธรรม ต้องเพิ่มเอกสารแนบ

5) คำสำคัญ (Keyword) ของการวิจัย

– ให้ใช้ชื่อเรื่อง หรือตัวแปรที่ศึกษา มาเขียน

6) ความสำคัญ และที่มาของปัญหา

– ให้เขียนออกเป็น 3 ย่อหน้า (เขียนไม่ควรเกิน 5 หน้า)

ย่อหน้าที่ 1 เกริ่นนำ อดีตมาถึงสถานการณ์ปัจจุบันที่เป็น hot issue โลกประเทศ ปัญหา (อ้างอิงที่มา)

ย่อหน้าที่ 2 สภาพปัญหาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ (เชิงปริมาณ/ กราฟ/ ตาราง) (อ้างอิงที่มา)

ย่อหน้าที่ 3 นำประเด็นเข้าสู่กรอบการวิจัยเพื่อหาคำตอบ นำไปสู่การเขียนวัตถุประสงค์

 ประเด็นสำคัญการเกริ่นนำต้องระบุการอ้างอิงที่มาของข้อมูล

7) วัตถุประสงค์ของการวิจัย

– ให้ระบุเป็นข้อและสอดคล้องกับปัญหาที่จะศึกษา

- ตอบโจทย์รัฐบาล องค์กร มหาวิทยาลัย

- เขียนจากง่ายเป็นหายากและนำข้อสุดท้ายไปเป็นชื่อเรื่อง

8) ขอบเขตของการวิจัย

- ด้านพื้นที่ทำที่ไหน (จังหวัด อำเภอ ตำบล)

- ทำกับใคร (กลุ่มคน หรือระดับบุคคล ประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง)

- ด้านเนื้อหาที่จะศึกษา (สภาพปัญหา สิ่งที่ต้องการศึกษา รูปแบบการวิจัย)

9) ทฤษฎี สมมติฐานและ/หรือกรอบแนวความคิดของการวิจัย

- หาทฤษฎีหรือแนวคิดแล้วมาสรุปเป็นกรอบแนวคิดในการทำวิจัยครั้งนี้ ระบุแบบสั้นๆ

- ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม/ Flow / I P O หรือความเรียงก็ได้

10) การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ (Information) ที่เกี่ยวข้อง

- ไปดูประเด็นปัญหาของการวิจัยที่จะทำ (อ้างอิง)

- โดยแบ่งออกเป็นแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัย ไม่ให้ผสมกัน

- ศึกษาข้อมูลให้ครอบคลุมตัวแปรที่ศึกษา (อ้างอิง) เพื่อนำไปสู่กรอบแนวคิด

11) เอกสารอ้างอิง

- ให้นำหนังสือ ตำรา และวิจัยที่ค้นคว้า ใส่ทุกเล่ม

12) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

- ด้านวิชาการ สามารถใช้กับการเรียนการสอน และตีพิมพ์ลงวารสารทางวิชาการ

- ด้านนโยบาย นำไปทำแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน และวิเคราะห์ปัญหาสู่การปฏิบัติ

- ด้านเศรษฐกิจ/พาณิชย์/อุตสาหกรรม สามารถนำไปทดลองใช้กับภาคอุตสาหกรรม และเพิ่มยอดขายให้กับผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

- ด้านสังคมและชุมชน ชุมชนเกิดการเรียนรู้ และการสร้างเครือข่ายให้มีความเข้มแข็ง

- ให้ระบุชื่อ ที่อยู่หน่วยงานที่จะนำไปใช้ประโยชน์

- แก้ปัญหาในการดำเนินงานของหน่วยงานที่ทำการวิจัย/ บริการความรู้แก่ประชาชน/ บริการความรู้แก่ภาคธุรกิจ/ นำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์/ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

13) แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมายเมื่อสิ้นสุดการวิจัย

- ให้บอกกิจกรรมหรือวิธีการที่จะถ่ายทอด เช่น อบรม สัมมนา จัดทำเป็นคู่มือ หรือสื่ออื่นๆ

- ให้เขียนเป็นข้อๆ หรือเป็นขั้นตอน หรือ Flow

14) วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล

- ให้ระบุเป็นงานวิจัยประเภทไหน เช่น วิจัยพื้นฐาน วิจัยประยุกต์ หรือวิจัยพัฒนาทดลอง

- ให้เขียนเป็นขั้นตอน เช่น ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ฯลฯ

- ให้ระบุกลุ่มประชากร หรือกลุ่มตัวอย่าง หรือกลุ่มทดลอง ให้ชัดเจน

- ให้ระบุสูตร หรือการคำนวณ หรือเปิดตารางที่มาของกลุ่มตัวอย่าง

- ให้ระบุวิธีสุ่มตัวอย่างว่าใช้วิธีอะไรที่จะมาเป็นตัวแทนในการวิจัย

- ให้ระบุเครื่องมือที่ใช้ให้ชัดเจนของแต่ละตอน และการหาความเที่ยงตรง

- การเลือกสถิติให้ตรงกับวัตถุประสงค์

15) ระยะเวลาทำการวิจัย และแผนการดำเนินงานตลอดโครงการวิจัย

- ให้ทำเป็นตาราง ระบุวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุด

16) เป้าหมายของผลผลิต (Output) และตัวชี้วัด

- ระบุผลผลิต และตัวชี้วัดเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ

17) เป้าหมายของผลลัพธ์ (Outcome) และตัวชี้วัด

- ระบุผลลัพธ์ และตัวชี้วัดเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ

18) ปัจจัยที่เอื้อต่อการวิจัยที่มีอยู่

- ทุนความรู้ คณะผู้วิจัยมีความรู้ ความสามารถประสบการณ์ในการวิจัยทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับชุมชนกลุ่มชุมชนที่ได้ทำการวิจัยต่อเนื่องมาเป็นเวลา 7 ปี ตั้งแต่ปี 2550 ถึง 2558 ที่ได้รับทุนอุดหนุน

-

  • ประสบการณ์กับกลุ่มชุมชนในพื้นที่ คณะผู้วิจัยได้ทำงานวิจัยร่วมกับชุมชนเมื่อปี 2548-2558  ซึ่งเข้าใจบริบทและสภาพปัญหาที่แท้จริงของชุมชนและได้รับความร่วมมือและมีเครือข่ายในการทำวิจัย

-

 - ที่ต้องการเพิ่ม ทางคณะผู้วิจัยได้รับความร่วมมือ และรับทราบสภาพปัญหาจากสำนักพัฒนาชุมชน จังหวัดเพชรบุรี องค์การบริหารส่วนตำบล ประธานชุมชน และกลุ่มชุมชนผู้ผลิตสินค้าได้รับทราบสภาพปัญหาต่าง ๆ เป็นอย่างดี จึงจำเป็นที่ต้องแสวงหาแนวทางมาแก้ไขโดยตลอด แต่ยังขาดงบประมาณในการดำเนินการวิจัยเพื่อหาข้อเท็จจริง

19) งบประมาณของโครงการวิจัย

- เขียนให้สอดคล้องกับกระบวนการเก็บ รวบรวมข้อมูล (ข้อ 14 วิธีการดำเนินการวิจัย)

- ห้ามเขียนครุภัณฑ์และสิ่งปลูกสร้าง (กรณีค่าจ้างเหมาบริการสามารถเขียนได้)

- ให้เขียนรายละเอียดทุกประเด็นที่สอดคล้องกับกระบวนการเก็บข้อมูล

- ห้ามจ้างทั้งหมด เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล/ การทดลอง (เราทำอะไรบ้าง)

(รายละเอียดตาม คู่มือประกอบการเขียน แบบเสนอโครงการวิจัย (Research Project) (แบบ คอบช. 2ค หน้าที่ 3-7)

20) ผลสำเร็จและความคุ้มค่าของการวิจัยตามแผนการบริหารงานและแผนการดำเนินงาน

- P I G เลือกให้เหมาะสมกับผลลัพธ์ที่ได้ของแต่ละวัตถุประสงค์หรือกิจกรรม (รายละเอียดคู่มือนักวิจัย หน้าที่ 123) และเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

21) ข้อเสนอการวิจัยหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อเสนอการวิจัยนี้ (เลือกได้เพียง 1 ข้อ)

- เลือกได้เพียง 1 ข้อ

¦   ไม่ได้เสนอต่อแหล่งทุนอื่น

¦   เสนอต่อแหล่งทุนอื่นคือ (ระบุชื่อแหล่งทุน)

22) คำชี้แจงอื่น ๆ

- หนังสือความร่วมมือ หรือ รูปภาพที่ไปพบชุมชน พบหน่วยงาน

- เอกสารที่แสดงถึงการลงพื้นที่

- เอกสารแสดงการมีปฏิสัมพันธ์กับหน่วยงาน ชุมชน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง

23) ลงลายมือชื่อหัวหน้าโครงการและนักวิจัยร่วมโครงการเพื่อให้คำรับรองในการจัดทำข้อเสนอการวิจัยและดำเนินการวิจัยตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เรื่องการรับข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2560

- ชื่อหัวหน้าโครงการและนักวิจัยร่วมต้องมีในระบบ MRMS ถ้าอาจารย์ท่านใดยังไม่มีต้องไปลงทะเบียนในระบบก่อน

24) คำอนุมัติของผู้บังคับบัญชาระดับอธิบดี หรือเทียบเท่าของภาครัฐ (หรือผู้ได้รับมอบอำนาจ) หรือกรรมการผู้จัดการใหญ่ หรือเทียบเท่าของภาคเอกชน (หรือผู้ได้รับมอบอำนาจ) ในการยินยอม/อนุญาต ให้ดำเนินการวิจัย รวมทั้งให้ใช้สถานที่ อุปกรณ์ และสาธารณูปโภคในการดำเนินการวิจัย

- กรณีที่ทำกับหน่วยงานภายนอก ต้องดำเนินการให้อธิการบดีลงนามด้วยตนเอง แต่ถ้าทำกับบุลคากรภายในมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยและพัฒนาจะเป็นผู้ดำเนินการเสนออธิการบดีให้เอง

สมาชิกกลุ่มได้เสนอชื่อเรื่องงานวิจัย เพื่อแบ่งกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยตามหัวข้อวิจัยที่สนใจ