กลุ่มความรู้ได้มีการแสวงหาความรู้ในเรื่อง การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย โดยประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกในกลุ่ม ดังนี้
1) การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2560 ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ เทคนิค/วิธีปฏิบัติในเรื่องการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่ท่านเคยปฏิบัติ โดยสมาชิกได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน เทคนิค/วิธีปฏิบัติในเรื่องการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย โดยมีใบงานถอดบทเรียนการปฏิบัติงาน (รายบุคคล) ดังนี้
ใบงาน 1 ถอดบทเรียนการปฏิบัติงาน (รายบุคคล)
|
1. ชื่อ-นามสกุล
สังกัด
|
2. ชื่อกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ(Community of Practice : CoP).......................เลขกลุ่มย่อ (1/1,1/2,2/1)..........
|
3. ท่านมีเทคนิค/วิธีปฏิบัติในเรื่องการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย อย่างไร ที่ท่านเคยปฏิบัติ
|
สมาชิกกลุ่มร่วมแลกเปลี่ยนและเขียนเทคนิค/วิธีปฏิบัติในเรื่องการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย จากนั้นนำมาสกัดองค์ความรู้เพื่อให้ได้แนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย นำไปสู่การปรับปรุงความรู้ให้เหมาะสมกับการนำไปปฏิบัติในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งต่อไป โดยสรุปความรู้ที่สมาชิกได้ร่วมกันถอดบทเรียนและสกัดองค์ความรู้ ดังนี้
วิธีการปฏิบัติ
|
1.1 ความสำคัญ และที่มาของปัญหา
|
- เลือกปัญหาจากโจทย์ วิจัย หรือปัญหาของชุมชน
- ต้องเป็นงานที่มีความเป็นไปได้ ไม่ซ้ำกับงานคนอื่น
- เขียนให้กระชับ ชัดเจน เล็งถึงเป้าหมายและความจำเป็น
- ต้องมีข้อมูลของสถานการณ์/ สภาพในปัจจุบันที่เป็นอยู่ ความต้องการ
- ศึกษากรอบการวิจัยและวัตถุประสงค์ที่ผู้ให้ทุนต้องการ ให้เข้าใจ
- เขียนบรรยายความสำคัญและที่มาของปัญหาให้สอดคล้องกับกรอบวิจัย และวัตถุประสงค์
- สืบค้นข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และนำมาอ้างอิงประกอบการเขียน)
- เรียบเรียงเนื้อหาจากภาพใหญ่ลงมาเข้าสู่ประเด็นปัญหาที่ต้องการวิจัยเพื่อหาคำตอบ
- ศึกษาประเด็นที่เป็น hot issue
- เขียนอธิบายความจำเป็นที่จะต้องทำ
- อ้างอิงแนวคิด บทความ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดประเด็นปัญหาที่กำลังเป้นที่สนใจ/ หรือมีผลกระทบในปัจจุบัน
- เขียนตามระเบียบวิธีวิจัย (เกริ่นนำสภาพปัญหาทั่วไป ระบุปัญหาที่จะทำ บ่งบอกว่ามีความสำคัญอย่างไร)
- ถ้าไม่ทำเกิดอะไร ทำเกิดอะไร ทำทำไม
- ปัญหามาจากอะไร
- เขียนเนื้อหาให้ครอบคลุม สรุปประเด็นชัดเจน
- ศึกษา ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง/ สนใจทำวิจัยจาก Internet
- หาข้อมูลมาสนับสนุนว่าเป็นปัญหาในปัจจุบัน
- ร้อยเรื่องจากภาพใหญ่ โลก-ประเทศ-ปัญหา
|
1.2 วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
|
- ตอบโจทย์องค์กร รัฐบาล มหาวิทยาลัย
- ต้องมีระเบียบวิจัย
- นำไปใช้ประโยชน์ได้
- เขียนให้สอดคล้องกับประเด็นการวิจัย
- มีกลุ่มเป้าหมายในวัตถุประสงค์
- เขียนให้ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร เพื่อนำไปสู่การตอบโจทย์วิจัย
- ตอบหัวข้อ/โจทย์วิจัย ต้องการอะไร
- สอดคล้องกับสภาพปัญหา
- ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการศึกษา
- สามารถกำหนดรูปแบบการวิจัย ตั้งสมมุติฐาน
- ต้องการอะไร อยากรู้เรื่องอะไร
- เชื่อมต่อปัญหา + เส้นทางแก้ไข + ประโยชน์
|
1.3 ขอบเขตของการวิจัย
|
- ทำที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ทำกับใคร
- จัดทำ Grant Chart เพื่อดูระยะเวลาการทำ
- ระบุจำนวนกลุ่มประชากรให้แน่นอน
- ระบุกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน
|
1.5 การทบทวนวรรณกรรม/ สารสนเทศ ที่เกี่ยวข้อง
|
- ศึกษาจากฐานข้อมูลออนไลน์ เพื่อจัดทำรายการเอกสารที่ใช้ในการทบทวนวรรณกรรม
- ศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำ
- ลงพื้นที่หาข้อมูล และหาข้อมุลจากตัวบุคคลที่มีความรู้เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน
- ใช้ฐานข้อมูลที่ใหม่และน่าเชื่อถือ
|
1.7 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
|
- ดูความเกี่ยวข้องกับเรื่องว่าเกี่ยวข้องกับหน่วยงานใด
- ดูจากวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
- จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง
- ตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อเป็นแนวทางต่อไป
- เขียนให้เห็นถึงประโยชน์ต่อส่วนรวมในระดับประเทศ/ ประโยชน์สูงสุด
- ไม่ควรเขียนในลักษณะที่ล้อจากวัตถุประสงค์
- วิเคราะห์ worst case ของปัญหาและสร้างประโยชน์เพื่อกันปัญหา
- ไม่ขยายเกินความจริง อยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์
- สร้างประโยชน์จากการแก้ปัญหา
|
1.8 แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมายเมื่อสิ้นสุดการวิจัย
|
- อบรมและสัมมนา
- บริการวิชาการ
- เผยแพร่ของเว็บไซต์
|
- วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล
|
- เรียบเรียงให้เป็นระบบ อ่านง่าย เป็นขั้นตอน
- รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง (กึ่งทดลอง/ทดลอง) มีการสุ่ม/มี Intervention กลุ่มตัวอย่างกี่กลุ่ม
- ประชากร & กลุ่มตัวอย่าง มีวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ชัดเจนถูกต้องตามหลักการวิจัย เช่น สูตรการคำนวณขนาดตัวอย่าง ระดับนัยสำคัญ ค่าขนาดอิทธิพล (effect size) ระดับ เล็ก กลาง ใหญ่ การสุ่มเลือก
- ขั้นตอนการวิจัย แบ่งเป็นชั้นให้เห็นชัดเจน
- ขั้นเตรียมการ เตรียมเครื่องมือ สถานที่ อาสาสมัคร จริยธรรม
- ขั้นดำเนินการ
- ระยะก่อน Intervention ชี้แจงอาสาสมัคร แบ่งกลุ่ม
- ระยะ Intervention ดำเนินการทดสอบเก็บข้อมูล
- ระยะประเมินผล เก็บข้อมูลแต่ละครั้ง ดูแลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
- เครื่องมือ บอกให้ชัดว่าใช้เครื่องมือ แบบสอบถาม มีความเที่ยง? รายละเอียดแบบสอบถามกี่ข้อ มาจากไหน กรมอนามัย แต่ต้องมาหาความตรงและเที่ยงของเครื่องมืออีกครั้ง
- สถิติที่ใช้ ดูว่าเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ/ คุณภาพ หาความสัมพันธ์ วิเคราะห์ให้ถูกหลัก ตามหลัก
- เขียนให้ครอบคลุม 4 ประเด็น (ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การสร้างและตรวจสอบคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล)
- การสร้างเครื่องมือ (ควรเลือกเครื่องมือที่จะวัดค่าตัวแปรให้สอดคล้องกับสิ่งที่ทำวิจัย)
- การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ (ต้องหาค่า Validity กับ Reliability)
- เลือกสถิติให้เหมาะสมกับข้อมูล และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย และเป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติแต่ละตัว
- เลือกใช้การดำเนินการวิจัยให้สอดคล้องกับงานวิจัย ถูกต้อง
- เลือกเครื่องมือ สร้างเครื่องมือให้ถูกต้อง
|
1.12 เป้าหมายของผลลัพธ์ (outcome) และตัวชี้วัด
|
1) มีผลลัพธ์เป็นสิ่งที่จับต้องได้ชัดเจนและวัดระดับได้ เฉพาะเจาะจง
2) outcome ที่ได้ มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างชัดเจน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์วิจัยชาติ
3) มีหน่วยงานรับรองการนำไปใช้ประโยชน์อย่างชัดเจน มีหนังสือการทำความตกลงเรียบร้อย
|
1.14 งบประมาณของโครงการวิจัย
|
- งบประมาณ ประมาณการให้ครอบคลุมกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกิจกรรมที่ทำ
|