|
||
1. ประโยชน์ขององค์ความรู้ อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัยสามารถนำองค์ความรู้ที่ผ่านการกลั่นกรองจนเป็นคู่มือการพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์ในการทำงานวิจัยไปใช้โดยยึดถือเป็นแนวทางการดำเนินงานการวิจัย ยกตัวอย่างเช่น ส่วนที่ 1 องค์ประกอบของสมรรถนะด้านการวิจัยที่จําเป็นสําหรับอาจารย์ อาจารย์ประจำจะสามารถทราบถึงสมรรถนะที่จำเป็นในการทำงานวิจัย เพื่อนำไปพัฒนาตนเองในจุดที่ตนเองยังขาด โดยการอบรมเพิ่มเติม การศึกษาดูงาน เป็นต้น ส่วนที่ 2 กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของอาจารย์ เป็นส่วนของกลยุทธ์ที่อาจารย์ประจำสาขาวิขานั้นสามารถดึงไปใช้กับอาจารย์ใหม่ในสาขาตนเอง และฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการของบัณฑิตวิทยาลัยก็สามารถดึงกลยุทธ์ดังกล่าวไปใช้ได้ด้วย ส่วนที่ 3 เทคนิคและวิธีการขอทุนวิจัยสำหรับอาจารย์ใหม่ ส่วนนี้จะจำเป็นสำหรับอาจารย์ใหม่ที่พึ่งเข้ามาประจำที่บัณฑิตวิทยาลัย จะเป็นแนวทาง และเทคนิคที่อาจารย์นำไปใช้ 2. การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางาน อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัยหลังจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีการพูดคุยระหว่างอาจารย์อาวุโส กับอาจารย์ใหม่เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่าง ๆ ช่วยส่งผลให้อาจารย์มีแนวทางในการขอทุนวิจัยมากขึ้น ผลปรากฎตามตัวชี้วัดผลการปฏิบัติราชการ ประจำปี ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ.2558 บัณฑิตวิทยาลัยมีอาจารย์ประจำ จำนวน 26 คน มีผลงานวิจัย จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มีอาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย จำนวน 42 คน เพิ่มขึ้นมา จำนวน 16 คน และอาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัยมีผลงานวิจัยเพิ่มขึ้นเป็น จำนวน 28 ผลงาน ทั้งยังสามารถจัดหาทุนวิจัยจากภายนอกเพิ่มขึ้น และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มีอาจารย์ประจำส่งโครงร่างงานวิจัยไปแล้ว 3. การขยายผลการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง มีอาจารย์ประจำที่เข้ามาใหม่ส่งโครงร่างงานวิจัยเพื่อขอทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนา ในปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ไปแล้ว จำนวน 5 ท่านซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาอนุมัติทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยอยู่ |