หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 / บัณฑิตวิทยาลัย / Grad Public KM / ประโยชน์ขององค์ความรู้และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางาน

ประโยชน์ขององค์ความรู้และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางาน

        
Views: 671
Votes: 0
Comments: 0
Posted: 30 Aug, 2016
by: ภัทรดาภา น.บ.
Updated: 30 Aug, 2016
by: ภัทรดาภา น.บ.

1. ประโยชน์ขององค์ความรู้

          อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัยสามารถนำองค์ความรู้ที่ผ่านการกลั่นกรองจนเป็นคู่มือการพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์ในการทำงานวิจัยไปใช้โดยยึดถือเป็นแนวทางการดำเนินงานการวิจัย  ยกตัวอย่างเช่น ส่วนที่ 1 องค์ประกอบของสมรรถนะด้านการวิจัยที่จําเป็นสําหรับอาจารย์ อาจารย์ประจำจะสามารถทราบถึงสมรรถนะที่จำเป็นในการทำงานวิจัย เพื่อนำไปพัฒนาตนเองในจุดที่ตนเองยังขาด โดยการอบรมเพิ่มเติม การศึกษาดูงาน เป็นต้น ส่วนที่ 2 กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของอาจารย์ เป็นส่วนของกลยุทธ์ที่อาจารย์ประจำสาขาวิขานั้นสามารถดึงไปใช้กับอาจารย์ใหม่ในสาขาตนเอง และฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการของบัณฑิตวิทยาลัยก็สามารถดึงกลยุทธ์ดังกล่าวไปใช้ได้ด้วย ส่วนที่ 3 เทคนิคและวิธีการขอทุนวิจัยสำหรับอาจารย์ใหม่ ส่วนนี้จะจำเป็นสำหรับอาจารย์ใหม่ที่พึ่งเข้ามาประจำที่บัณฑิตวิทยาลัย จะเป็นแนวทาง และเทคนิคที่อาจารย์นำไปใช้

2. การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางาน

อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัยหลังจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีการพูดคุยระหว่างอาจารย์อาวุโส กับอาจารย์ใหม่เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่าง ๆ ช่วยส่งผลให้อาจารย์มีแนวทางในการขอทุนวิจัยมากขึ้น ผลปรากฎตามตัวชี้วัดผลการปฏิบัติราชการ ประจำปี ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ.2558 บัณฑิตวิทยาลัยมีอาจารย์ประจำ จำนวน 26 คน มีผลงานวิจัย จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มีอาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย จำนวน 42 คน เพิ่มขึ้นมา จำนวน 16 คน และอาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัยมีผลงานวิจัยเพิ่มขึ้นเป็น จำนวน 28 ผลงาน ทั้งยังสามารถจัดหาทุนวิจัยจากภายนอกเพิ่มขึ้น และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มีอาจารย์ประจำส่งโครงร่างงานวิจัยไปแล้ว

3. การขยายผลการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง

มีอาจารย์ประจำที่เข้ามาใหม่ส่งโครงร่างงานวิจัยเพื่อขอทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนา ในปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ไปแล้ว จำนวน 5 ท่านซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาอนุมัติทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยอยู่

Others in this Category
document ความเป็นมาของชุมชนนักปฏิบัติ (Grad Public KM)
document สมาชิกชุมชนนักปฏิบัติและบทบาทหน้าที่ของสมาชิก
document การบ่งชี้ความรู้
document การสร้างและแสวงหาความรู้
document แสวงหาความรู้
document การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
document การประมวลและกลั่นกรองความรู้
document การเข้าถึงความรู้
document การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
document การเรียนรู้
document ความรู้ที่ได้และการกลั่นกรองความรู้
document ผลการดำเนินงานของตัวชี้วัด
document คู่มือการพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์ในการทำงานวิจัย