|
||
ในแต่ละวันหากร่างกายไม่ได้รับกากใยอาหารอย่างเพียงพอจะเกิดปัญหากับระบบขับถ่าย ท้องผูก และเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ในผักและผลไม้มีกากใยอาหารหรือไฟเบอร์สูง แบ่งออกเป็นชนิดละลายน้ำกับชนิดที่ไม่ละลายน้ำ ชนิดที่ละลายน้ำได้จะช่วยลดคอเลสเทอรอลได้อีกด้วย พบใน คะน้า บล็อกโคลี่ กระเจี๊ยบ ถั่วลันเตาทั้งฝัก ถั่วเหลือง ถั่วแดง ส้ม ลูกพรุน แคนตาลูป แอ๊ปเปิ้ลและสตรอว์เบอร์รี่ ส่วนชนิดไม่ละลายน้ำพบมากในผักผลไม้ทั่วไป กินผักผลไม้ต่างสี วันละเท่าไรถึงจะพอ วิธีกินผักที่ถูกต้องคือ ควรเลือกกินผักอย่างน้อยวันละ 3 ชนิด เป็นผักที่มีสีเขียวจัด 2 ชนิด ชนิดละประมาณ 1/2 ถ้วยตวง เช่น คะน้า บล็อกโคลี่ ผักโขม ผักบุ้ง ตำลึง กระเจี๊ยบเขียว เนื่องจากผักสีเขียวจัดมีสารจำพวกโฟเลท ช่วยป้องกันโรคหัวใจ สมองเสื่อม และยังป้องกันความผิดปกติในระบบประสาทของทารกในครรภ์ ส่วนผักอีกชนิดที่เหลือให้เลือกสีอื่นตามชอบ ความร้อนและระยะเวลาในการปรุงอาหารทำให้วิตามินบางชนิด เช่น วิตามินซีและบี สลายไป ส่วนวิตามินอื่นๆ ที่ทนต่อความร้อนได้ก็จะมีปริมาณลดลง เช่น วิตามินที่ละลายในไขมัน คือ วิตามินเอ ดี อี เค และเบต้าแคโรทีน รวมทั้งแร่ธาตุ แต่มีผักผลไม้บางชนิดที่แนะนำให้ปรุงก่อนรับประทาน เพื่อให้ร่างกายดูดซึมสารที่มีประโยชน์ไปใช้ได้มากขึ้น ลองดูตัวอย่างดังนี้ค่ะ บล็อกโคลี่สดให้วิตามินซีสูง เมื่อผ่านความร้อนวิตามินซีและบีจะลดลงมาก แต่วิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ ยังคงอยู่ ผลไม้ที่กินได้ทั้งเปลือก ควรกินเปลือกด้วยเพราะมีสารที่เป็นประโยชน์อยู่ที่เปลือก เช่น แอ๊ปเปิ้ลแดงมีสารฟลาโวนอยด์ช่วยต้านมะเร็ง ส่วนเนื้อจะมีใยอาหารชนิดละลายในน้ำและวิตามินซี ผักผลไม้แหล่งรวมสารพิษ ผักผลไม้มีประโยชน์แต่ก็อาจทำให้เกิดโทษได้ เพราะปัจจุบันมีการเก็บเกี่ยวพืชผักก่อนเวลาสลายตัวของยาฆ่าแมลงทำให้ร่างกายสะสมสารตกค้างเหล่านี้ไว้ โดยเฉพาะคนที่กินผักหรือผลไม้ซ้ำๆ กัน จะได้รับสารเคมีตัวเดิมเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย รวมทั้งเชื้อโรคและพยาธิชนิดต่างๆ ขอขอบคุณข้อมูล จาก สยามดารา |