การสร้างและแสวงหาความรู้

        
Views: 501
Votes: 0
Comments: 0
Posted: 30 Aug, 2016
by: ภัทรดาภา น.บ.
Updated: 30 Aug, 2016
by: ภัทรดาภา น.บ.

1) แสวงหาความรู้โดยพัฒนาความรู้ให้กลุ่มเป้าหมาย

บัณฑิตวิทยาลัยได้จัดโครงการอบรมบทบาทและหน้าที่อาจารย์ประจำ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา ขึ้น โดยกลุ่ม Grad Public KM ได้มีส่วนร่วมในการเข้ารับฟังวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์ในการจัดทำงานวิจัยโดยมีการมาให้ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่

- การเป็นอาจารย์ประจำอย่างมีคุณภาพ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุดา สุวรรณาภิรมย์

- เทคนิคการเขียนบทความวิชาการ/บทความวิจัยอย่างมีคุณภาพ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.องอาจ นัยพัฒน์ อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

- โปรแกรมการตรวจสอบการลักลอกผลงานทางวิชาการ (อักขราวิสุทธิ์) โดย ดร.วิชญ์ เนียรนาถตระกูล

ซึ่งโครงการดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 1-2 ธันวาคม 2558 มีคณะกรรมการการจัดการความรู้ของกลุ่มเข้าร่วมอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 20 ท่าน ซึ่งท่านวิทยากรมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยโดยตรง ซึ่งถือเป็น Tacit Knowledge ในตัวของวิทยากร กลุ่มการจัดการความรู้จึงได้มีการแสวงหาความรู้ในตัวของวิทยากร

โดยในกิจกรรมการแสวงหาความรู้ มีตัวชี้วัดคือ ร้อยละความรู้ความเข้าใจของทีม KM ร้อยละ 80 ผลปรากฏว่าในการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานการจัดการความรู้บัณฑิตวิทยาลัย ครั้งที่ 1/2559 วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559ระเบียบวาระที่ 5.1 รายงานผลการเข้าอบรมโครงการฯ มีผลการประเมินด้านความรู้ความเข้าใจ ร้อยละ 100

Others in this Category
document ความเป็นมาของชุมชนนักปฏิบัติ (Grad Public KM)
document สมาชิกชุมชนนักปฏิบัติและบทบาทหน้าที่ของสมาชิก
document การบ่งชี้ความรู้
document แสวงหาความรู้
document การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
document การประมวลและกลั่นกรองความรู้
document การเข้าถึงความรู้
document การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
document การเรียนรู้
document ความรู้ที่ได้และการกลั่นกรองความรู้
document ประโยชน์ขององค์ความรู้และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางาน
document ผลการดำเนินงานของตัวชี้วัด
document คู่มือการพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์ในการทำงานวิจัย