ที่มาของกลุ่ม

        
Views: 403
Votes: 0
Comments: 0
Posted: 22 Jul, 2016
by: พิทักษ์ อ.ว.
Updated: 22 Jul, 2016
by: พิทักษ์ อ.ว.

          จากการประชุมกลุ่มเพื่อระดมความคิดของทางกลุ่ม BAC. ที่เกิดคำถามว่า การพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอน โดยมีแนวทางการจัดทำ มคอ.3 สำหรับการจัดการเรียนการสอนถูกต้องตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติได้ ทางกลุ่มได้เริ่มต้นการแสวงหาจากทั้งความรู้ฝังลึก (tacit knowledge) และความรู้ชัดแจ้ง (explicit knowledge)  โดยวิธีการดังนี้คือ

         - ชุมชนนักปฏิบัติแสวงหาความรู้แบบความรู้ฝัง ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคล ผ่านการเล่าเรื่อง (Story Telling)ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ที่เป็นสมาชิกกลุ่มชุมชน นักปฏิบัติซึ่งมีประสบการณ์ในด้านการเรียนการสอนมามากกว่า 10 ปี โดยมีคุณอำนวยเป็นผู้ดำเนินการควบคุมการถ่ายทอดความรู้ของผู้เล่าเรื่อง และจดบันทึกการเล่าเรื่องโดยคุณลิขิต ซึ่งรายละเอียดที่ได้รับคือขั้นตอนการเตรียมแผนการเรียน กระบวนการถ่ายทอดวิธีการสอนสู่ผู้เรียน กระบวนการเรียนการสอน และวิธีการประเมินผล รวมถึงปัญหาและอุปสรรคจากการจัดการเรียนการสอน ซึ่งความรู้ดังกล่าวนี้มีประโยชน์สำหรับเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน เน้นปฏิบัติจริงเพื่อเพิ่มศักยภาพนักศึกษาบริหารธุรกิจสู่ยุคประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน รวมทั้งแสวงหาความรู้โดยการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรม คือคุณจักรกริศน์ ศิลาทอง มาให้ความรู้เกี่ยวกับ “แนวทางการเรียนรู้ควบคู่การปฏิบัติในยุคอาเซียน ” 

- ชุมชมนักปฏิบัติแสวงหาความรู้แบบชัดแจ้ง โดยการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบ ปฏิบัติจริง ในรูปแบบของเอกสาร ตำรา รวมทั้งศึกษารายงานของผู้เรียนเพื่อศึกษาย้อนกลับกระบวนการจัดการเรียนการ สอนของคุณกิจ เพื่อช่วยเสริมให้ความรู้ฝังลึกที่ถูกถ่ายทอดออกมาไม่ครบถ้วนมีความสมบูรณ์ มากขึ้น นอกจากนี้ยังได้ศึกษาจากคู่มือเทคนิคการพัฒนานักศึกษาให้ได้ตามคุณลักษณะที่ พึงประสงค์ซึ่งได้จากการจัดการความรู้ของกลุ่ม BAC เอง ซึ่งจัดทำขึ้นในการจัดการความรู้ในปีการศึกษา 2557 และปีการศึกษา 2558 

          จากนั้นทางกลุ่ม BAC Team. ได้นำความรู้ที่ได้จากการแสวงหาทั้งความรู้ฝังลึก และ ความรู้ชัดแจ้ง มาประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนโดยเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เหมาะสมสำหรับการจัดทำ มคอ.3  จัดการเรียนการสอนของกลุ่มสาขาบริหารธุรกิจแบบเน้นการปฏิบัติจริงเพื่อเพิ่ม ศักยภาพนักศึกษาบริหารธุรกิจสู่ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยการวิเคราะห์ทั้ง จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค ซึ่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้กระทำโดยพิจารณาภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ อัตลักษณ์ของหมายวิทยาลัยฯ และผลการสำรวจความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต พบว่าบัณฑิตของกลุ่มสาขาวิชาบริหารธุรกิจสามารถปฏิบัติงานได้จริงอย่างมี ศักยภาพในยุคอาเซียนนั้น จะต้อง มีความรู้และทักษะทางวิชาการ มีคุณธรรมจริยธรรม มีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ มีทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะด้านการสื่อสาร มีภาวะผู้นำ มีความคิดสร้างสรรค์ มีกระบวนการคิดและการวางแผนอย่างเป็นระบบ อีกทั้งจะต้องสามารถนำกระบวนการคิดหรือแผนงานต่างๆมาสู่การปฏิบัติจริงโดย การทำงานเป็นทีม   ซึ่งคุณลักษณะและกระบวนการเหล่านี้ได้ถูกนำพิจารณาเพื่อสอดแทรกเข้าสู่ทุก ขั้นตอนของจัดการเรียนการสอนซึ่งได้จากการแสวงหา จึงก่อเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ โดยมีการทำรายละเอียดลงใน มคอ 3 

Others in this Category
document การบ่งชี้ความรู้
document การสร้างและการแสวงหาความรู้
document การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
document การประมวลและกลั่นกรองความรู้
document การเข้าถึงความรู้
document การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
document การเรียนรู้
document องค์ความรู้ที่ได้
document การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์
document การต่อยอดขององค์ความรู้สู่งงานวิจัยหรือนวัตกรรม