หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ประจำปีงบประมาณ 2552 / การจัดการความรู้สายสนับสนุนวิชาการ / กลุ่มงาน Computer Knowledge / เทคนิคการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล
|
|
|||||
กลุ่มงาน Computer Knowledge ร่วมแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล โดยมีคุณธนฉัตร เป็นผู้ที่ใหเความรู้กับเพื่อนสมาชิก รายละเอียด ดังนี้
เทคนิคการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล การใช้กล้องดิจิตอลอย่างถูกวิธี อันนี้ไม่รู้ว่าจะเรียกเทคนิคได้ไหมเพราะมันเป็นประสบการณ์มากกว่า ไม่ตายตัว - การถ่ายภาพให้ได้ดีต้องรู้จักกล้องของความสามารถตัวเองเสียก่อนเป็นรู้จักกล้อง จดจำตำแหน่งปุ่ม การปรับตั้งฟั่งชันท์สำคัญๆอยู่ตรงไหน ฝึกให้ชำนาญจนขึ้นใจจะได้ไม่เสียเวลามากเมื่อถึงเวลาจะใช้ - ดูเรื่องความปลอดภัยขณะถ่ายภาพของทั้งตัวกล้อง ตากล้อง เช่นการใช้สายคล้องคอ สายรัดข้อมือ หลีกเลี่ยงบริเวณที่จะเกิดอันตรายเช่น น้ำ ที่สูง การชน การสูญหาย ควรหาสิ่งป้องกันขณะถ่ายภาพตามสถานการณ์ - พยายามฝึกการถือกล้องให้กระชับ นิ่ง ฝึกการถ่ายในมุมต่างๆ ให้คล่อง ค้นหาสิ่งที่ตนเองชอบ และสิ่งที่ถนัด - สุดท้ายรับฟังคำวิจารณ์ ติชมให้ได้ อย่ากลัว อย่าท้อ อย่าหยุด “ การถ่ายภาพไม่มีวิธี หรือ เทคนิคที่ถูกต้อง การถ่ายภาพคือการบอกเล่า” สำหรับการถ่ายแบบปรับ “ชัดตื้น ชัดลึก” ตัวกล้องเองต้องสามารถตั้งค่าที่เรียกว่า รู้รับแสง หรือ f-stop ได้ ดังนี้ f-stop ที่กว้าง (ที่เลนส์หรือตัวกล้อง จะเป็นตัวเลขน้อยเช่น 1.2, 1.4, 2.8 ยิ่งตัวเลขน้อยยิ่งกว้างขึ้น) จะได้ความ “ชัดตื้น” มากขึ้นโดยที่จะชัดบริเวณโฟกัสของภาพระยะที่ห่างออกมาจากจุดโฟกัสจะค่อยเลือนหายไป เช่นหากตัวแบบอยู่กลางภาพ โดยที่มีฉากหน้า หรือฉากหลัง แล้วจุดโฟกัสอยู่ตรงตัวแบบพอดี โดยให้มีการตั้งค่า f-stop ที่ 2.8 บริเวณตัวแบบจะชัด ฉากหน้าและฉากหลังหรือบริเวณนอกระยะโฟกัสจะเบลอไม่คมชัด กลับกันหากตั้งค่าที่ f-Stop ที่แคบ(ตัวเลขมาก) เช่น f-11 ก็จะทำให้ภาพมีระยะที่ชัดมากขึ้น - ระยะห่างระหว่างฉากกับตัวแบบ ยิ่งตัวแบบหากจากฉากหน้า หรือฉากหลังเท่าไร ยิ่งจะเกิดการเบลอมากขึ้น ตากล้องมักจะเรียกว่า “ละลาย” - ระยะการซูมของตัวเลนส์ เองก็เป็นตัวกำหนดความชัดตื้นอีกด้วย ยิ่งกล้องซูมได้มากเท่าไร ยิ่งละลายฉากหลังได้มากขึ้นเท่านั้นสำหรับกล้องที่ไม่สามารถใช้วิธีการปรับ f-stop ได้ระยะโฟกัสของกล้องมักจะอยู่ในระดับอินฟินิตี้ หรือไม่มีจุด กำหนดที่แน่นอน จึงทำให้มักได้ภาพที่เรียกว่า “ชัดลึก” คือชัดหมดตั้งแต่หน้าจนถึงหลังภาพ ไม่มีการเบลอของแบบ หรือฉาก สรุปหากต้องการเบลอหลังให้ตั้งค่า f-stop กว้าง สำหรับกล้องที่สามารถตั้งค่า f-stop ได้โฟกัสที่ตัวแบบ ให้มีระยะห่างระหว่างตัวแบบ และฉาก เพื่อให้ฉากหนีระยะโฟกัสใช้ระยะการซูมช่วย ยิ่งซูมมาก ยิ่งละลายฉากหลังได้มากขึ้น *การใช้ค่า f-stop ยังเป็นการปรับการตั้งค่ารับแสงของกล้องอีกด้วย ค่า f-stop ยิ่งกว้าง(ตัวเลขน้อย)แสงยิ่งเข้ามาก* 2.การถ่ายภาพเคลื่อนไหวโดยไม่ให้ภาพเบลอ - ต้องอาศัยการตั้งค่าตัวกล้อง ควรปรับให้อยู่ในโหมดการโฟกัสภาพเคลื่อนที่ เช่น การเลือกโหมดกีฬา และการถ่ายภาพต่อเนื่อง ในกล้องบางรุ่น - โฟกัสล่วงหน้า ให้หาตำแหน่งที่เราจะถ่ายภาพ และกำหนดการโฟกัสล่วงหน้า ก่อนที่ตัวแบบจะมาถึงตำแหน่งที่เราต้องการ จะได้ภาพที่ตัวแบบนิ่ง และฉากหลังที่ชัด - หากต้องการให้ภาพดูมีการเคลื่อนไหว ให้แพนกล้องตามขณะถ่ายภาพ จะทำให้ตัวแบบ ค่อนข้างชัด แต่ฉากจะมีการเคลื่อนไหวแทน - สำหรับการปรับตั้งในกล้อง D-Slr ให้เลือกโหมดจุดโฟกัสติดตามภาพเคลื่อนไหว โดยที่ค่า Speed Shuter จะต้องสูงพอที่จะหยุดการเคลื่อนที่ของตัวแบบได้ รวมทั้งควรเลือกโหมดถ่ายภาพต่อเนื่องยิ่ง กล้องมีความเร็วสูงเท่าไรภาพที่ได้จะยิ่งคมชัดและนิ่ง มากขึ้น 3. การเลือกซื้ออุปกรณ์แต่ละอย่างของกล้องดิจิตอล *ควรศึกษากล้องก่อนซื้อไม่ควรซื้อกล้องมาศึกษา* - แนะนำให้คำนึงถึงการใช้งานเป็นอับดับสูงสุด หากมีความจำเป็นที่ต้องใช้งานควรจะหา อุปกรณ์เสริมก่อนเพื่อความคุ้มค่า ไม่ควรเปลี่ยกล้องและอุปกรณ์บ่อยโดยไม่จำเป็น จะทำให้ไม่สามารถฝึกเทคนิคการถ่ายได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจะต้องเรียนรู้กล้อง และอุปกรณ์ใหม่อยู่ตลอดเวลา - ควรกำหนดวงเงินที่จะใช้ให้ชัดเจนเพื่อลดตัวเลือกให้น้อยลง ไม่ควรซื้อเกินงบ และไม่ควรงกเกินไป - ควรใช้อุปกรณ์เสริมที่เหมาะสม และอยู่ในระดับเดียวกับกล้อง หลีกเลี่ยงของเทียม เลียนแบบ เนื่องจากมักจะเกิดความเสียหายเพราะของไม่ได้มาตราฐานอยู่เสมอๆ หากมีเหตุจำเป็นให้พัฒนาการถ่ายภาพแทนอุปกรณ์ - อุปกรณ์เสริมจะต้องอำนวยความสะดวกให้ได้มากที่สุดไม่ใช้เพิ่มภาระ แม้กระทั่งการจะต้องแบกไปมาด้วย - อย่าซื้ออุปกรณ์เสริมมารอหากยังไม่ต้องการใช้งาน เก็บอุปกรณ์ ให้เหมาะสมความชื้น ความร้อน ทำลายตัวกล้องและอุปกรณ์ได้เร็วมาก |
|
||
การฟอร์แมตเครื่องและการติดตั้ง OS (Windows) |