การเขียนข่าวอย่างง่าย
โดย ผศ. สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ได้รับเกียรติจาก ผศ. สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ ในการเป็นวิทยากรหลัก แลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องของการเขียนข่าวอย่างง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถเขียนข่าวได้เอง โดยสรุปเป็นบทความ เพื่อให้ผู้ที่สนใจในการเขียนข่าวได้ทราบถึงเทคนิคเหล่านี้ด้วย คือ
การเขียนข่าว ต้องมี "ประเด็น" !!!
- อะไร คือ ประเด็น (Issue)
- ข้อความสำคัญของเรื่อง ที่แยกหยิบยกขึ้นพิจารณา
- ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นใหม่ ผิดไปจากปกติ
- ตราบใดที่ยังเป็นประโยชน์ของประชาชน
กระบวนการ "หาข่าว ข่าวมาหา" เทคนิค 6 ส
- สังเกตุ สิ่งรอบๆตัว
- สนใจ ไม่เห็นแล้วเดินผ่านไปเฉยๆ
- สงสัย ช่างสงสัย ช่างคิด ช่างตั้งคำถาม
- สันนิฐาน ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วจะเกิดอะไรตามมา
- แสวงหาคำตอบ จากคนที่สามารถให้คำตอบ หรือข้อมูลได้
- นำเสนอข่าว ตามรูปแบบการเขียนข่าว
เทคนิคการเขียนข่าว
- สรุปสาระสำคัญ หรือ ธีม (Theme) ที่จะบอกแก่ผู้อ่าน คือ กำหนดประเด็นในใจเสียก่อน
- กำหนดเค้าโครงเนื้อข่าวที่จะอธิบายประเด็น
- กำหนดโปรยข่าวหรือ "หลีด" (Lead) ของข่าวไว้ในใจ
- เขียนโปรยข่าว
- เขียนพาดหัวข่าว
- ตรวจทานความถูกต้องของข้อมูล / ภาษา
วิธีเขียนพาดหัวข่าว
- จับประเด็น หา "คำสำคัญ"
- เขียนออกมาเป็นประโยค โดยให้มีคำสำคัญที่คิดไว้ด้วย อาจใช้คำย่อ คำร่วมสมัยได้ เพราะสามารถสื่อความหมายได้ง่าย รวดเร็ว
- จากนั้นให้แบ่งประโยคออกเป็นบรรทัดตามที่ต้องการว่าจะพาดหัวข่าวบรรทัดเดียวหรือ 2 บรรทัด
- ทำให้ประโยคสั้นลง กระชับ สื่อความหมายได้ ลองตัดคำที่ตัดออกแล้ว ประโยคยังสื่อความหมายได้ตามที่ต้องการ
พาดหัวข่าวที่ดี
- มีความหมายตรงกับเนื้อข่าว
- ไม่บิดเบือนจากข้อเท็จจริง
- ใช้ภาษาที่สื่อความหมาย เข้าใจง่าย
- เลือกใช้คำที่สรุปเนื้อหาได้ทั้งหมด
โปรยข่าว (Lead) - เป็นการสรุปสาระสำคัญทั้งหมดที่ปรากฏในข่าวด้วยภาษาที่กระชับ แต่ก็สามารถสื่อความหมายประเด็นข่าวได้ดี
วิธีเขียนโปรยข่าว
- เรียงลำดับสาระสำคัญเป็นลำดับก่อนหลังโดยนำสาระที่สำคัญที่สุดมากล่าวถึงก่อน
- ข่าวที่มีสาระสำคัญเพียงประเด็นเดียว ไม่ซับซ้อน อาจไม่มีส่วนโปรยข่าว มีแต่เพียงพาดหัวข่าว
- ความยาวของความนำของข่าว ขึ้นอยู่กับสาระสำคัญในข่าวนั้นๆ แต่โดยส่วนใหญ่ความยาวประมาณ 3 - 5 บรรทัด
- ขัดเกลาถ้อยคำภาษาให้กระชับ ไม่คลุมเครือ
ส่วนเชื่อม - ส่วนต่อระหว่างโปรยข่าว กับเนื้อข่าว มักให้รายละเอียดเกี่ยวกับที่มาที่ไปของข่าว เช่น สถานที่ บุคคล เวลา หรือเหตุการณ์ ยาวประมาณ 2-3 บรรทัด
การเขียนเนื้อข่าว
- เนื้อข่าวย่อหน้าละประมาณ 3 - 5 บรรทัดเท่านั้น เมื่อเวลาจัดหน้าบรรทัดจะไม่มากอ่านง่าย
- แต่ละย่อหน้าต้องมีแหล่งข่าวกำกับ เว้นแต่เป็นย่อหน้าต่อเนื่องจากแหล่งข่าวเดิม
ภาษาในข่าว
- ภาษาแบบทางการ
- กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ
- อนุญาตให้ใช้ภาษาหนังสือพิมพ์ได้ในการเขียนโปรยข่าวและพาดหัวข่าวเท่านั้น
เทคนิคการอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าว
- อ้างอิงโดยไม่ระบุชื่อแหล่งข่าว
- อ้างอิงข้อมูลเบื้องลึกโดยไม่ระบุแหล่งข่าว
ประเภทของการอ้างคำพูดแหล่งข่าว
- อ้างคำพูดตรงๆทั้งหมด
- คำพูดของแหล่งข่าวสำคัญมาก
- ทำให้เห็นภาพ จินตนาการ
- ยืนยันอารมณ์ ความรู้สึก ข้อเท็จจริง
- ต้องใช้เครื่องหมายอัญประกาศ ("....") เสนอ
- ระวังเปิดอัญประกาศแล้วต้องปิด
2. อ้างคำพูดเพียงบางส่วน
- พิจารณาแล้วว่ามีเหตุผลที่ไม่อ้างทั้งหมด
- อ้างบางส่วนมาประกอบการเขียนข่าว
3. อ้างคำพูดโดยอ้อม หรือเรียบเรียงจากคำพูดของแหล่งข่าว
- ไม่ต้องใช้เครื่องหมายอัญประกาศ
- สรรพนามใช้แทนเป็นบุรุษที่ 3
ข้อพึงระวังในการเขียนอ้างคำพูดแหล่งข่าว
- ต้องเป็นอ้าง "ความเห็น" เท่านั้น ไม่ใช้กับข้อเท็จจริง
- การเขียนข่าวมิใช่นำคำพูดที่แหล่งข่าวบอกมาเขียนต่อๆกันไป แต่เป็นการนำเสนอความคิด ประเด็น
- การอ้างคำพูดในจังหวะที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจข่าวได้ง่ายขึ้น
การกล่าวถึงชื่อแหล่งข่าว
- ให้ใช้คำนำหน้านามที่เป็นทางการทุกครั้ง นาย นาง นางสาว ยศที่ได้รับตำแหน่ง และ คำนำหน้าบรรดาศักดิ์ ม.ร.ว. , ม.ล.
- ไม่เขียนคำว่าคุณ เนื่องจากเป็นภาษาคำพูด
- การให้ข้อมูลจำเพาะของแหล่งข่าว