รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่วิทยาลัยนานาชาติใช้นั้น มี 2 รูปแบบคือ
1. การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
2. การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL (Problem- based Learning)
การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
Cooperative Learning หรือปัจจุบันในวงการศึกษาไทยเรียกว่า “การเรียนแบบมีส่วนร่วมและร่วมมือ” เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อแก้ปัญหาการแบ่งผิวหรือการเหยียดผิวระหว่างคนผิวดำกับคนผิวขาวให้สามารถเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างมีความสุข เพื่อแก้ไขปัญหา discrimination ให้คนสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี โดยการเรียนการสอนแบบ Cooperative Learning นั้น มีรากฐานความคิดมาจากการใช้กระบวนการกลุ่ม (Group Dynamic or Group Process) ที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างคนในกลุ่ม เพียงแต่ group process นั้นจะมีขนาดของกลุ่มและจำนวนคนในกลุ่มมากกว่าเพราะเป็นกลุ่มใหญ่ แต่ขนาดของกลุ่มของ Cooperative จะมีขนาด 3-6 คนเท่านั้น และจะเน้นความแตกต่างของคนในกลุ่ม กล่าวคือ จะเป็นกลุ่มที่คละเพศ ระดับสติปัญญา สังคมและชุมชน เป็นต้น
หลักการของการเรียนแบบ Cooperative จะคำนึงถึงหลักการของสติปัญญาของมนุษย์ที่แสดงให้เห็นว่าคนเราแต่ละคนมีความสามารถเฉพาะตัวที่หลากหลายและสามารถที่จะค้นพบความสามารถที่แท้จริงนั้นได้หากได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างถูกวิธีแล้วคนเราก็จะสามารถแสดงความสามารถของตนนั้นออกมาได้ เพราะเมื่อเวลาที่คนเราเข้าร่วมกลุ่ม เราจะสามารถเรียนรู้ความสามารถของตนเองจากกลุ่มได้ว่าเรามีความถนัดในเรื่องใดและยังเป็นการฝึกการมีบทบาทร่วมกันในกลุ่มสังคม เรียนรู้การทำงานร่วมกันและการอยู่ร่วมกันในสังคมที่แต่ละคนจะมีส่วนสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น เพราะคนเราแต่ละคนต่างก็มีความสามารถที่หลากหลาย หากแต่เมื่ออยู่ร่วมกันในสังคมแล้ว สังคมก็จะสามารถพัฒนาไปได้ด้วยดี และตามแนวคิดของการปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบันพบว่า Cooperative Learning น่าจะเป็นวิธีการหนึ่งในการสอนเด็กของเราให้รู้จักการทำงานเป็นทีมและอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นสุข
รายละเอียดเพิ่มเติมดังเอกสารแนบ