Email to friend
* Your name:
* Your email:
* Friend's email:
Comment:


การประมวลและกลั่นกรองความรู้

การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ของกลุ่มแบ่งออกเป็น 2 กิจกรรมย่อย ได้แก่ การประมวลความรู้เทคนิคการเขียนผลงานวิจัยฯ และเชิญผู้เชี่ยวชาญเพื่อกลั่นกรองความรู้ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. การประมวลความรู้เทคนิคการเขียนผลงานวิจัยฯ
คณะกรรมการการจัดการความรู้ได้ประชุมระดมความคิดเพื่อประมวลความรู้ที่ได้รวบรวมไว้ในระบบให้เป็นองค์ความรู้ที่อ่านง่าย และสามารถนำไปใช้ได้ ซึ่งในการการประชุมครั้งที่ 3 คณะกรรมการฯ ได้มีการเสวนาระดมความคิดเพื่อจัดทำเป็นคู่มือการเขียนผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งจากการระดมความคิดให้เกิดแนวทางการจัดทำคู่มือแล้ว คณะกรรมการฯ ยังร่วมกันเสนอเทคนิคของตนเองในการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัยของตนเอง สรุปได้ดังนี้
1.    ทำการวิจัยในสาขาวิชาที่เรามีความเชี่ยวชาญ ชำนาญมากที่สุด รู้และเข้าใจทฤษฎีอย่างลึกซึ้ง และเลือกเรื่องที่จะทำวิจัย เป็นเรื่องที่แตกต่างจากที่มีผู้เคยทำมาก่อน
2.    หากยังเป็นนักวิจัยมือใหม่ควรหาผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รู้ในเรื่องที่จะทำวิจัย เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการทำวิจัย
3.    ถ้าจะขอทุนจากหน่วยงานภายนอกควรเขียนในหัวข้อที่เป็นประเด็นเล็ก ๆ แต่ทันสมัย มากกว่าหัวข้อที่กำลังเป็นที่สนใจ จะมีโอกาสได้ทุนมากกว่า และมีโอกาสในการตีพิมพ์มากกว่า
4.    ต้องอ่านเอกสารอ้างอิงจำนวนมาก เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิง และเทคนิคที่ใช้เขียนส่วนหนึ่งได้มาจากการอ่าน
5.    ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ต้องเป็นผลงานที่ดี เป็นผลงานใหม่ หรือแตกต่างจากที่เคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้วในวารสารอื่น ๆ
6.    ศึกษาวารสารที่เลือกจะส่งตีพิมพ์ โดยพิจารณารายละเอียดของวารสารที่เลือก เช่น ข้อกำหนดทั่วไปรูปแบบการเขียนที่วารสารกำหนด คุณภาพ ชื่อเสียงของวารสาร ค่าลงตีพิมพ์ ฯลฯ และการส่งผลงานลงตีพิมพ์ในวารสารที่มี impact factor สูง ๆ ดูจำนวนการ download เอกสารของผู้อ่านจะเป็นผลดีต่อตนเองและหน่วยงานด้วย
7.    เลือกวารสารตามความเป็นจริง คุณภาพการวิจัยของเราต้องอยู่ในระดับเดียวกันกับของงานวิจัยที่พิมพ์เผยแพร่ในวารสารนั้น
8.    ต้องมีความตั้งใจในการเขียนอย่างจริงจังจนเสร็จ เพื่อให้การเรียงลำดับความคิดเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ได้ใจความ และเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์
9.    การใช้ภาษาในการเขียน ควรใช้ภาษาที่ชัดเจน ไม่กำกวม ใช้ภาษาเขียน ไม่ใช้ภาษาพูด และการเขียนข้อความต่าง ๆ ต้องถูกต้องตามหลักวิชาการ มีหลักฐานเอกสารอ้างอิง ไม่เขียนขึ้นมาลอย ๆ จากความรู้สึกของผู้วิจัย
2.เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อกลั่นกรองความรู้ที่ได้และจัดทำเป็นคู่มือที่จะนำไปใช้ได้จริง
ทางคณะกรรมการการจัดการความรู้หลังจากที่จัดทำ (ร่าง) คู่มือการเขียนผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่เรียบร้อยแล้ว จึงได้ดำเนินการจัดส่ง (ร่าง) คู่มือให้แก่ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ ดร.กนกอร หัสโรค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการประกันคุณภาพและอุตสาหกรรม วิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เป็นผู้ตรวจทานและกลั่นกรองความรู้ ซึ่งหลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจทานและให้ข้อเสนอแนะแล้ว คณะกรรมการฯ ก็ได้ปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะเพื่อเตรียมดำเนินการในขั้นตอนต่อไป