ความรู้ที่ได้และการกลั่นกรองความรู้ ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ มีดังนี้ 1.การจัดหมวดหมู่ของวัสดุ/อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการพยาบาล : จำแนกตามกลุ่มวิชาทางรายวิชาทางการพยาบาล 2.การมีคู่มือการใช้ห้องปฏิบัติการพยาบาล : เป็นคู่มือที่ใช้งานจริง ณ ปัจจุบัน บันทึกอยู่ที่ -รายการจำแนกประเภทอุปกรณ์ตามกลุ่มวิชา
-คู่มือการใช้ห้องปฏิบัติการ
การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ภายในหน่วยงาน : มีคู่มือการใช้ห้องปฏิบัติการ ซึ่งอาจารย์ นักศึกษา สามารถใช้ห้องปฏิบัติการได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และมีระบบในการให้บริการที่เกิดความพึงพอใจ ภายนอกหน่วยงาน : บุคลากรที่สนใจเข้ามาศึกษาหรือต้องการยืมอุปกรณ์ของห้องปฏิบัติการพยาบาล สามารถเลือกรายการที่จำแนกหมวดหมู่ที่สนใจได้ ก่อนที่จะรับบริการ ผลการดำเนินงานของตัวชี้วัด ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ (เป้าหมาย มากกว่าร้อยละ 80) = ร้อยละ 82.70 ร้อยละความพึงพอใจของผู้ให้บริการ (เป้าหมาย มากกว่าร้อยละ 80) = ร้อยละ 91.20
สรุปการดำเนินการจัดการความรู้ของ จิปาถะ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ : เกิดจากความร่วมมือของบุคลากร ทั้งจากสมาชิกภายในกลุ่ม และบุคลากรที่เกี่ยวข้องที่ให้การสนับสนุนการทำกิจกรรม ปัญหาและอุปสรรค : เนื่องจากพื้นที่ของห้องปฏิบัติการพยาบาลมีจำกัด ทำให้การจัดเก็บอุปกรณ์เกิดความแออัด การจัดวางดูไม่สบายตาเท่าที่ควร