องค์ความรู้ที่ได้ ครูสีฟ้า

        
Views: 1174
Votes: 1
Comments: 0
Posted: 29 Aug, 2013
by: หนูเมียน น.ว.
Updated: 29 Aug, 2013
by: หนูเมียน น.ว.
1.      ความรู้ที่ได้และการกลั่นกรองความรู้
ความรู้ที่ได้ (อธิบายรายละเอียดความรู้เป็นลายลักษณ์อักษร และให้มีรายละเอียดตามขั้นตอน 3 การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ)
หลังสิ้นสุดการดำเนินงานการจัดการความรู้ (Knowledge Management) สามารถสรุปความรู้ที่ได้ ดังต่อไปนี้
1.1 คู่มือฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนฉบับเตรียมรองรับประชาคมอาเซียนฉบับสมบูรณ์ประกอบด้วย
·       คู่มือซักประวัติภาษาอังกฤษ1 เล่ม
·       คู่มือซักประวัติภาษาพม่า1 เล่ม
·       คู่มือซักประวัติภาษากัมพูชา1 เล่ม
ซึ่งได้ทำการแจกจ่ายคู่มือเหล่านี้แก่อาจารย์นิเทศและนักศึกษา เพื่อนำไปใช้ประกอบการฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน และจะทำการแจกจ่ายแก่กลุ่มวิชาอื่นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
1.2 แบบปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานการจัดการความรู้ในครั้งนี้
สามารถสรุปขั้นตอนการบูรณาการ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาพยาบาลด้านการใช้ภาษาอังกฤษในการฝึกปฏิบัติการ พยาบาลอนามัยชุมชนเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การบ่งชี้ความรู้
-         จัดตั้งกลุ่มความรู้ Community of Practice(CoP)
-         กำหนดบทบาทสมาชิกในกลุ่มตามความเหมาะสม
-         สุนทรียสนทนา (Dialogue) และ Story Telling ภายในกลุ่ม เพื่อสกัดความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่อยู่ภายในตัวสมาชิกแต่ละคน เมื่อเรียบเรียงออกมาได้เป็นความรู้เชิงประจักษ์ (Explicit Knowledge) และนำมาจัดตั้งหัวข้อการจัดการความรู้
ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและแสวงหาความรู้
-         สุนทรียสนทนา (Dialogue) และ Story Telling ภายในกลุ่ม เพื่อสกัดความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่อยู่ภายในตัวสมาชิกแต่ละคน เมื่อเรียบเรียงออกมาได้เป็นความรู้เชิงประจักษ์ (Explicit Knowledge) และนำมาสร้างเป็นร่างคู่มือฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน
 
 
ขั้นตอนที่ 3 การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
-         สุนทรียสนทนา (Dialogue) และ Story Telling ภายในกลุ่ม เพื่อสกัดความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่อยู่ภายในตัวสมาชิกแต่ละคน เมื่อเรียบเรียงออกมาได้เป็นความรู้เชิงประจักษ์ (Explicit Knowledge) และนำมาสร้างร่างข้อมูลสำคัญที่ต้องบันทึกลงในคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียน
ขั้นตอนที่ 4 การประมวลและกลั่นกรองความรู้
-         นำร่างคู่มือเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา (Peers Review)
-         นำร่างคู่มือที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา (Peers Review) ไปทดลองใช้จริงในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน
-         ถอดบทเรียน After Action Review (AAR)หลังทดลองใช้ร่างคู่มือ
-         นำผลการทดลองใช้และผลการถอดบทเรียนมาเป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไขร่างคู่มือ และนำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา (Peers Review) เพื่อปรับปรุงให้คู่มือมีความสมบูรณ์พร้อมแก่การนำไปใช้จริงมากที่สุด
ขั้นตอนที่ 5 การเข้าถึงความรู้
-         แจกจ่ายคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียนให้อาจารย์นิเทศและนักศึกษานำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติงานอนามัยชุมชน ได้แก่
·       คู่มือซักประวัติภาษาอังกฤษ1 เล่ม
·       คู่มือซักประวัติภาษาพม่า1 เล่ม
·       คู่มือซักประวัติภาษากัมพูชา1 เล่ม
-         จัดทำรายงานผลการดำเนินงานความรู้กลุ่มครูสีฟ้าเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงาน
-         เผยแพร่ผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ผ่านทาง www.km.ssru.ac.th กลุ่มความรู้ครูสีฟ้าเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานผ่านทางเว็บไซด์
-         จัดทำสรุปรายงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ (Knowledge Sharing)และถอดบทเรียนเพื่อเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลในการจัดการความรู้ครั้งต่อไป
-         เข้าร่วมการจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum)ของวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานระหว่างกัน
ขั้นตอนที่ 6 การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
-         แจกจ่ายคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียนให้อาจารย์นิเทศและนักศึกษานำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติงานอนามัยชุมชน ได้แก่
·       คู่มือซักประวัติภาษาอังกฤษ1 เล่ม
·       คู่มือซักประวัติภาษาพม่า1 เล่ม
·       คู่มือซักประวัติภาษากัมพูชา1 เล่ม
-         จัดทำรายงานผลการดำเนินงานความรู้กลุ่มครูสีฟ้าเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงาน
-         เผยแพร่ผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ผ่านทาง www.km.ssru.ac.th กลุ่มความรู้ครูสีฟ้าเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานผ่านทางเว็บไซด์
-         จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ (Knowledge Sharing)และถอดบทเรียนเพื่อเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลในการจัดการความรู้ครั้งต่อไป
-         เข้าร่วมการจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum)ของวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานระหว่างกัน
ขั้นตอนที่ 7 การเรียนรู้
-         จัดทำคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียน (Explicit Knowledge) และแจกจ่ายให้อาจารย์นิเทศและนักศึกษานำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติงานอนามัยชุมชน ได้แก่
·       คู่มือซักประวัติภาษาอังกฤษ1 เล่ม
·       คู่มือซักประวัติภาษาพม่า1 เล่ม
·       คู่มือซักประวัติภาษากัมพูชา1 เล่ม
-         จัดทำรายงานผลการดำเนินงานความรู้กลุ่มครูสีฟ้า (Explicit Knowledge) เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อเป็นแบบอย่างในการจัดการความรู้ในหน่วยงานอื่นๆ
-         เผยแพร่ผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ผ่านทาง www.km.ssru.ac.th กลุ่มความรู้ครูสีฟ้าเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานผ่านทางเว็บไซด์
-         จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ (Knowledge Sharing) เพื่อสกัด Tacit Knowledge จากการฝึกปฏิบัติงาน ออกมาเป็น Explicit Knowledge ที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มได้ และเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชม เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานเพื่อเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติในหน่วยงานอื่นๆ
-         เข้าร่วมการจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum)ของวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขั้นตอนการดำเนินงานของแต่ละกลุ่ม และนำข้อมูลที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไปแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงานในหน่วยงานอื่นๆ
-         ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเล่มรายงานของนักศึกษาหลังนำคู่มือฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนฉบับเตรียมรองรับประชาคมอาเซียนไปใช้ประกอบการทำรายงาน
-         ถอดบทเรียนหลังสิ้นสุดการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ครูสีฟ้าเพื่อเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลการดำเนินงานจัดการความรู้ในปีถัดไป
-         ติดตามคะแนนประเมินนักศึกษาหลังฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนว่ามีคะแนนสะสมมากกว่า 60 คะแนน หรือไม่
 
ผ่านการกลั่นกรองจากใคร และมีวิธีการอย่างไร (อธิบายวิธีการในการกลั่นกรองความรู้พร้อมระบุชื่อผู้เชี่ยวชาญที่กลั่นกรองความรู้)
 
การดำเนินการจัดทำคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียน ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโดย กลุ่มความรู้ได้ส่งร่างคู่มือซักประวัติแก่ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อปรึกษาเรื่องความถูกต้องและการออกเสียงของภาษาโดยติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง และติดต่อผ่านทาง E-mail และโทรศัพท์ โดยขอความร่วมมือผ่านทางเครือข่ายของผู้ทำงานด้านสุขภาพที่เล็งเห็นความสำคัญของการจัดทำคู่มือนี้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและผู้ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการจัดทำคู่มือ มีดังนี้
-          คุณฐิติมา พึ่มกุล ผู้ประสานงานด้านติดตามและประเมินผล สำนักงานบริหารโครงการกองทุนโลก
-          เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับงานแรงงานต่างด้าว (International of Migrant) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
-          คุณพนาศักดิ์ ทวีอัจฉริยวุฒิ เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ มูลนิธิสุวรรณนิมิต อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
-          คุณดรุณี ไชยศรีรัมย์ เจ้าหน้าที่พยาบาลศูนย์บริการสาธารณสุข51 วัดไผ่ตัน กรุงเทพมหานคร
-          วิทยากรโครงการ English Summer Camp 2013 วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
·       Mr. AnantachaiAeka
·       Mr. James Mackenzie
·       Ms. Louie Sabugo
·       Ms. Roselle Ruiz
·       Mr. Jay CammerNayuma
·       Mr. Felicissimo Santiago
·       Mr. Nathaniel Gutlay
·       Ms. Sam Manguerra
ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือในการเลือกใช้คำศัพท์และการออกเสียงที่ถูกต้อง และ 3 หน่วยงาน ที่ได้จัดทำคู่มือต้นแบบเป็น Explicit Knowledge และทางคณะผู้จัดทำได้นำมาปรับปรุงเพื่อให้เข้ากับการนำไปใช้จริงในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนได้แก่
-          คู่มือการซักประวัติและการให้บริการภาษากัมพูชาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราดกลุ่มงานประกันสุขภาพ
-          หลักสูตรพม่าเพื่อการสื่อสารเบื้องต้น สำหรับผู้ให้บริการด้านสุขภาพ โครงการส่งเสริมการป้องกันเอดส์ในแรงงานข้ามชาติ มูลนิธิรักษ์ไทย
-          HANDBOOK OF MEDICAL CONVERSATION FOR ARMY MEDICAL PERSONNEL โรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก
ระหว่างการจัดทำคู่มือซักประวัติ กลุ่มความรู้ได้นำร่างคู่มือ แจกจ่ายแก่อาจารย์นิเทศและนักศึกษา เพื่อทดลองใช้ประกอบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน เพื่อทดสอบคู่มือและถอดบทเรียนหลังการทดลองใช้ และนำผลการทดลองใช้เสนอแก่ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา เพื่อช่วยปรับปรุงแก้ไขให้คู่มือมีความสมบูรณ์เหมาะแก่การนำไปใช้งานมากที่สุด
 
2.      การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
2.1   ภายในหน่วยงาน (อธิบายรายละเอียดกระบวนการในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ และแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อหน่วยงาน)
-         นำคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียนแจกจ่ายแก่อาจารย์นิเทศและนักศึกษา เพื่อนำไปใช้ประกอบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน และถอดบทเรียนหลังทดลองใช้ ซึ่งผลการถอดบทเรียนพบว่าคู่มือสามารถช่วยลดช่องว่างด้านความแตกต่างของภาษาของชาวต่างชาติในชุมชนได้และช่วยให้รายงานการศึกษาชุมชนมีความสมบูรณ์ของข้อมูลมากขึ้น และคะแนนประเมินนักศึกษาหลังฝึกปฏิบัติผ่านเกณฑ์ 60 คะแนน
-         จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน เพื่อสกัดความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) จากการฝึกปฏิบัติออกมาเป็นความรู้เชิงประจักษ์ (Explicit Knowledge)เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และถอดบทเรียนหลังจัดเวทีเพื่อเก็บข้อมูลไว้เป็นฐานข้อมูลในการจัดการความรู้ครั้งต่อไป
-         เข้าร่วมการจัดเวทีย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ในวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดการความรู้ระหว่างกลุ่ม
2.2   ภายนอกหน่วยงาน (อธิบายรายละเอียดกระบวนการในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ และแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อหน่วยงานภายนอก)
1.       นำคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียนแจกจ่ายแก่พยาบาลประจำศูนย์บริการสาธารณสุข และผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาที่ทำงานเกี่ยวข้องด้านสุขภาพ เพื่อนำไปใช้ประกอบการทำงานร่วมกับชาวต่างชาติ ผลการนำไปใช้พบว่าคู่มือสามารถช่วยลดช่องว่างด้านความแตกต่างของภาษาของชาวต่างชาติในชุมชนที่ดูแลได้
2.       จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพ หลังการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน เพื่อสกัดความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) จากการฝึกปฏิบัติออกมาเป็นความรู้เชิงประจักษ์ (Explicit Knowledge) เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าร่วมชมงานเพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อนำไปปรับใช้ในหน่วยงานอื่นได้
3.       เข้าร่วมการจัดเวทีย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ในวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดการความรู้ระหว่างกลุ่ม
4.       ส่งผลการดำเนินงานกลุ่มความรู้เข้าร่วมประกวดหา Best Practice ของมหาวิทยาลัย
 
3.      ผลการดำเนินงานของตัวชี้วัด
 
ตัวชี้วัด (KPI) ตามแผนการจัดการความรู้
ค่าเป้าหมาย
ผล
ร้อยละของนักศึกษาที่สอบผ่านตามเกณฑ์
ร้อยละ 80
ร้อยละ 100
         
เอกสารหลักฐานอ้างอิง
1.       คะแนนประเมินหลังฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษา
2.       คู่มือการซักประวัติภาษาอาเซียน1 เล่มภายในประกอบด้วย
·       คู่มือซักประวัติภาษาอังกฤษ
·       คู่มือซักประวัติภาษาพม่า
·       คู่มือซักประวัติภาษากัมพูชา
3.       ภาพกิจกรรมการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ วันที่ 10 กรกฎาคม2556 8.00-12.30 น.ณ ลานเอนกประสงค์ชั้น 1 อาคาร 37
4.       รายงานการถอดบทเรียนหลังการทดลองใช้ร่างคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียนและหลังจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
 
 
4.      สรุปการดำเนินการจัดการความรู้ของกลุ่มความรู้
4.1   ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
-         จิตสำนึกของการพัฒนาการเรียนการสอนและการคำนึงถึงคุณค่าของการศึกษาของอาจารย์และนักศึกษาทุกท่าน
-         ความร่วมมือร่วมใจกันในการดำเนินงานของอาจารย์และนักศึกษา
-         การสนับสนุนโดยอำนวยความสะดวกในการทำงาน งบประมาณ สถานที่ เวลาและกำลังใจที่ดีจากเพื่อนร่วมงานผู้บังคับบัญชาและมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
-         บรรยากาศแห่งการเรียนรู้ในหน่วยงาน ระหว่างหน่วยงาน และภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
-         การมองเห็นโอกาสภายใต้วิกฤตที่ประสบระหว่างการดำเนินงาน
-         ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในกลุ่มความรู้และระหว่างกลุ่มความรู้อื่นในหน่วยงานเดียวกันและระหว่างหน่วยงาน
-         จิตวิญญาณของการเป็นครูที่พร้อมและเต็มใจที่จะถ่ายทอดความรู้แก่ผู้รับ ทั้งจากอาจารย์อาวุโสสู่อาจารย์รุ่นน้อง และจากอาจารย์สู่นักศึกษา และจากนักศึกษาสู่นักศึกษาด้วยกันเอง
-         ความร่วมมือและความช่วยเหลือจากเครือข่ายทางด้านสุขภาพที่เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทย
 
4.2 ปัญหาและอุปสรรค
-         การดำเนินงานในบางขั้นตอนคาบเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาในรายวิชาอื่นทำให้มีเวลาในการเตรียมงานการจัดการความรู้จำกัดและมีโอกาสพบปะพูดคุยกันไม่เท่าที่ควรแก้ไขปัญหาโดยการติดต่อทางโทรศัพท์ อีเมล์
-         เนื่องจากผู้ดำเนินงานคืออาจารย์พยาบาลซึ่งมีการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ทำให้บางช่วงอาจติดภารกิจทำให้การประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ต่อเนื่อง
-         กำหนดการจัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่ระหว่างการฝึกภาคปฏิบัติ ทำให้การประชาสัมพันธ์โครงการไม่ทั่วถึงแต่การดำเนินงานก็สามารถผ่านไปได้ด้วยดี
Others in this Category
document ที่มาการตั้งกลุ่มและสมาชิกกลุ่ม.....^^
document แผนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตาม 7 ขั้นตอน......
document ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตาม 7 ขั้นตอน ครูสีฟ้า
document ตัวอย่างคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียน ครูสีฟ้า
document รายงานการถอดบทเรียนหลังจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูสีฟ้า
document ภาพกิจกรรมการดำเนินงานการจัดการความรู้กลุ่มครูสีฟ้า