การจัดการความรู้ด้วยวิกิพีเดียของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (The Humanities and Social science Staff knowledge management with Wikipedia : A case study of Faculty of Humanities and Social sciences Suan Sunandha Rajabhat University )

        
Views: 847
Votes: 0
Comments: 0
Posted: 26 Aug, 2013
by: ภนียมบุญ น.ม.
Updated: 26 Aug, 2013
by: ภนียมบุญ น.ม.

การจัดการความรู้ด้วยวิกิพีเดียของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
The Humanities and Social science Staff knowledge management with Wikipedia : A case study of Faculty of Humanities and Social sciences Suan Sunandha Rajabhat University

กฤษณ์ปกรณ์ บุญมา , วุฒิพงศ์ เนียมบุญ , นิธิ เฉลยปราชญ์ , ชัยวัฒน์ รุ่งนิ่ม , และธนากร อุยพานิชย์

1 นักวิชาการคอมพิวเตอร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
2 นักวิชาการคอมพิวเตอร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
3 นักวิชาการโสตทัศนศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
4 นักวิเคราะห์นโยบายและแผน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
5 อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

บทคัดย่อ
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความพึงพอใจของการดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ด้วยวิกิพีเดีย ( Wikipedia ) ในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น (Web.Application).เพื่อใช้เป็นแหล่งจัดเก็บและแบ่งปันความรู้ของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผู้ใช้ระบบสามารถจำแนกได้ 3 ประเภท ดังนี้ 1. ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการระบบได้ทั้งหมด เช่น การเพิ่ม การแก้ไข การลบ การค้นหา แสดงความเห็นและเป็นผู้ควบคุมการแสดงผล 2. สมาชิกสามารถจัดการระบบได้บางส่วน เช่น การเพิ่ม การแก้ไข การลบ การค้นหา แสดงความคิดเห็นและเป็นผู้ควบคุมการแสดงผลได้ก็เมื่อผู้ดูแลระบบอนุญาตเท่านั้น 3. บุคคลทั่วไปสามารถเข้ามาอ่าน ค้นหา แต่ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นและทำอย่างอื่นได้ ความรู้ที่ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) และมีคุณค่าของผู้เชี่ยวชาญสามารถถ่ายทอดผ่านระบบนี้สู่ผู้ที่สนใจทั่วไป เช่น คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้แลกเปลี่ยนความรู้ที่ตนมีให้แก่กันและกัน เช่น การนำเสนอบทความ (Articles การแสดงความคิดเห็น))Comments).และส่วนอื่น.ๆ.) ผลของการดำเนินกิจกรรมสามารถสรุปได้ว่า ผู้ใช้บริการส่วนมากมีความพึงพอใจในระดับดี






Abstract

The purpose of this study is to finding the satisfication of knowledge management with Wikipedia.for. Faculty of Humanities and Social sciences.Suan.Sunandha.Rajabhat.University.
The knowledge management system is developed by Doku wiki; which is the web application. Users of this system divided into three types: The.administrators.can.add.and manage.all.contents With.full permission.The.member.can.manage.contents.which authorized by administrator. The visitors can search articles and answer questionnaires but do not allow edit all articles:.A tacit knowledge but do information management in this web application.is.not.only for.students.but.also.for.sharing.ideas.articles and comments between lecturer and students. Additionally, users in this system are able to deal the rapidly and easily information and knowledge management
The.findings.of.this.study.effect.to.the.model.of.instruction.at.Information Management Department, Suan Sunandha Rajabhat University that the students are satisfied with this application in good level.



คำนำและวัตถุประสงค์
ในสังคมปัจจุบันหลายๆองค์กรได้หันมาให้ความสำคัญกับเรื่อง การแบ่งปันความรู้ (Knowledge.Sharing).หรือกล่าวย่อๆว่า.KS.เพิ่มมากขึ้น.โดยอาศัยวิธีการเปลี่ยน.ความรู้แฝงเร้น. (Tacit Knowledge).เป็น.ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เพื่อได้นาการแบ่งปันความรู้มาใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างองค์มีความรู้ ประมวลความรู้ และใช้ความรู้ที่ได้มีการจัดไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ.เพื่อให้สามารถนำมาใช้ตอบสนองต่อความต้องการและรวดเร็วอันจะมีส่วนสำคัญช่วยให้หน่วยงานบรรลุผลสัมฤทธิ์.นอกจากนั้นการนำการแบ่งปันความรู้มาใช้นั้นก็เพื่อต้องการสร้างให้เป็นองค์กรสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปทุกขณะได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม.ส่วนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information.
Technology). เป็นเครื่องมือ.หรือกลไกการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ส่วนสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จของการแบ่งปันความรู้ในองค์กรให้เป็นความรู้ที่เกิดประโยชน์ต่อบุคคล โดยเทคโนโลยีสารสนเทศมีหน้าที่เป็นเครื่องมือจัดเก็บความรู้.และเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเครื่องมือในการจัดเก็บความรู้ไม่หยุดนิ่ง.นอกจากจัดเก็บความรู้แล้วยังง่ายในการนำความรู้ออกมาใช้จริง ง่ายในการนาความรู้ออกมาต่อยอด และง่ายในการปรับข้อมูลไม่ให้ล้าสมัย ประโยชน์การแบ่งปันความรู้ ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับความผิดพลาดในการทำงานซ้ำๆ ช่วยในการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอาศัยความรู้ประสบการณ์ ทำให้มีการตัดสินใจที่ดีขึ้น.และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น.และพัฒนาคุณภาพของความรู้เพื่อช่วยตอบสนองผู้ใช้ได้ดีขึ้น.นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ในอนาคตเพื่อให้ได้ถึงประโยชน์ได้อย่างรวดเร็วตามสถานนะการทำงานในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงด้านธุรกิจรวดเร็วขึ้น.และมีปัจจัยด้านเศรษฐกิจ.การเมือง.และสังคม.องค์กรมีการใช้เทคโนโลยีเพิ่มจำนวนมากขึ้นเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการจากระบบเดิม.ซึ่งใช้งานเอกสารในการประสานงานกัน.มาเป็นรูปแบบที่ใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำให้มีจำนวนคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นและโปรแกรมประยุทธ์เป็นระบบงานเฉพาะด้าน.(Unspecific).เพิ่มขึ้นตาม.เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องนำไปใช้ในการตัดสินใจ.และใช้เทคโนโลยีช่วยการประสานงานกันทั้งภายในเองและต่างองค์กรมีความสะดวกรวดเร็ว.เพื่อเพิ่มศักยภาพ.และความเชื่อมั่นต่อองค์กรภายนอก.
Wiki.เป็นตัวเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยให้การจัดการองค์ความรู้เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก และยังส่งเสริมการทำงานในแบบเครือข่ายของการมีส่วนร่วมในการจัดการองค์ความรู้ที่มีในระบบ ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง แก้ไข ลบ หรือการจัดหมวดหมู่องค์ความรู้ ทุกคนที่ได้รับสิทธิ์ในการใช้คลังความรู้.(wiki).สามารถที่จะเผยแพร่องค์ความรู้ที่ตนเองมี และสืบค้นความรู้ที่ตนเองต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และเป็นอิสระ

วิธีดำเนินงานวิจัย
การจัดการความรู้บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ กรณีศึกษา:.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความพึงพอใจของการจัดการความรู้ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการด้วยวิกิพีเดีย กรณีศึกษา :.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
1 การออกแบบระบบฐานความรู้
2 การจัดหาระบบฐานความรู้
3 การทดสอบประสิทธิภาพของระบบ
4 การประเมินผล
5. วิเคราะห์ผลด้วยสถิติ

ผลการวิจัย
ผลการทดสอบโดยบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ 30 คน ทำการทดสอบระบบเพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบการจัดการความรู้ ที่พัฒนาขึ้นโดยเนื้อหาในแบบประเมินได้แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านภารวมของระบบจัดการความรู้ และด้านการใช้งานระบบจัดการความรู้ ดังต่อไปนี้

ตารางที่ 1 ความพึงพอใจของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่มีต่อระบบการจัดการความรู้ โดยภาพรวมและรายด้าน

ความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาการจัดการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่มีต่อระบบการจัดการความรู้ โดยภาพรวมและรายด้าน ระดับความพึงพอใจ
ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบน(S.D.) คะแนนเฉลี่ยเชิงคุณภาพ
1. ด้านภาพรวมของระบบจัดการความรู้ 2.94 0.23 ดี
2. ด้านการใช้งานระบบจัดการความรู้ 2.64 0.13 ดี
รวม 2.79 1.43 ดี

จากตารางที่1 ความพึงพอใจของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่มีต่อระบบการจัดการสารสนเทศ ในภาพรวม โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.79 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับดีทั้งหมดโดยเรียงลำดับ ดังนี้ 1) ด้านภาพรวมของระบบจัดการความรู้ โดยเฉลี่ยเท่ากับ 2.94 และ 2) ด้านการใช้งานระบบจัดการความรู้ โดยเฉลี่ยเท่ากับ 2.64



ตารางที่ 2 ผลการประเมินประสิทธิภาพด้านภาพรวมของระบบการจัดการความรู้

รายการประเมิน ระดับประสิทธิภาพ
ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบน(S.D.) คะแนนเฉลี่ยเชิงคุณภาพ
1.1 ระบบการจัดการความรู้ ช่วยในการรวบรวมบทความต่างๆและให้ความรู้ อย่างเป็นระบบ 3.12 0.52 ดี
1.2 ระบบการจัดการความรู้ มีเนื้อหาที่ครอบคลุมและชัดเจน 3.04 0.62 ดี
1.3 ระบบการจัดการความรู้.มีรูปแบบของเนื้อหามีความทันสมัย 3.18 0.52 ดี
1.4 ระบบการจัดการความรู้ ช่วยให้มีความรู้ความเข้าใจในสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศเพิ่มมากขึ้น 2.84 0.8 ดี
1.5 ระบบการจัดการความรู้ ช่วยแก้ไขปัญหาความไม่เข้าใจในโครงสร้างหลักสูตร 2.54 0.75 ดี
รวม 2.94 0.23 ดี

จากตารางที่ 2 เมื่อพิจารณาผลการประเมินประสิทธิภาพด้านภาพรวมของระบบการจัดการความรู้ จากนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พบว่า ประสิทธิภาพทุกรายการอยู่ในระดับดี ซึ่งผลสรุปการประเมินประสิทธิภาพด้านภาพรวมของระบบการจัดการความรู้ โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.94 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.23 ดังนั้นสรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพในด้านความสามารถตามความต้องการของผู้ใช้งานจากสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อยู่ในระดับดี

ตารางที่ 3 ผลการประเมินประสิทธิภาพด้านการใช้งานระบบการจัดการความรู้

รายการประเมิน ระดับประสิทธิภาพ
ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าส่วนเบี่ยง เบน(S.D.) คะแนนเฉลี่ยเชิงคุณภาพ
2.1 การเข้าใช้งานระบบการจัดการความรู้ สามารถใช้งานได้ดี
และมีความเสถียร 2.81 0.52 ดี
2.2 การใช้งานระบบการจัดการความรู้ มีความสะดวกรวดเร็ว 2.76 0.40 ดี
2.3 การเขียนบทความเพิ่ม หรือการแก้ไขปรับปรุงในระบบใช้งานง่าย และสะดวกรวดเร็ว 2.21 0.77 พอใช้
2.4 การดาวน์โหลดเอกสารหรือไฟล์ต่างๆ สามารถใช้งานได้ดี 2.93 0.60 ดี
2.5 การเข้าถึงบทความต่างๆมีความสะดวก 2.96 0.45 ดี
2.6 การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในหน้าสนทนา สามารถใช้งานได้ดี 2.15 0.50 พอใช้
รวม 2.64 0.13 ดี

จากตารางที่ 3 เมื่อพิจารณาผลการประเมินประสิทธิภาพด้านการใช้งานระบบการจัดการความรู้ จากบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พบว่าประสิทธิภาพบางรายการอยู่ในระดับดี และบางรายการอยู่ในระดับพอใช้ ซึ่งผลสรุปการประเมินประสิทธิภาพด้านประสิทธิภาพด้านการใช้งานระบบการจัดการความรู้ โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.64 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยเฉลี่ยเท่ากับ 0.13 ดังนั้นสรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพในด้านการใช้งานระบบ อยู่ในระดับดี

ตารางที่ 4 การวิเคราะห์ความคิดเห็นเพิ่มเติมของประชากรกลุ่มตัวอย่างผู้วิจัยทำการวิเคราะห์หาค่าร้อยละปรากฏผลดังแสดงใน ตารางที่ 4

ความคิดเห็น จำนวน ร้อยละ
1. ไม่ออกความคิดเห็น 30 100.0
รวม 30 100.0

จากตารางที่ 4 จะเห็นได้ว่าจากจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยจำนวน.30.ราย มีความคิดเห็นต่อระบบการจัดการความรู้ ไม่ออกความคิดเห็นจำนวน 30 คน คิดร้อยละ 100

สรุป
ความพึงพอใจของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.ที่มีต่อการใช้ระบบการจัดการความรู้ พบว่า บุคลากรใหญ่มีความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบการจัดการความรู้ โดยเฉลี่ยเท่ากับ.2.79.และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน.พบว่าอยู่ในระดับดีทั้งหมด เรียงลำดับคือ.1).ด้าน

เอกสารอ้างอิง
ชัชวาล วงษ์ประเสริฐ. (2548). การจัดการความรู้ในองค์กรธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์
บดินทร์ วิจารย์. (2547). การจัดการความรู้ สู่ปัญญาปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ธรรกมลการพิมพ์.
บุญดี บุญญากิจและคณะ. (2548) การจัดการความรู้ จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สถาบันเพิ่ม ผลผลิตแห่งชาติ.
พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้ พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ
พรพรรณ สายมาอินทร์. (2554). ระบบการแบ่งปันความรู้โดยอาศัยบล็อกและวิกิ. สารนิพนธ์
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
ภารดร จินดาวงศ์. (2549). Knowledge Management the Experience. กรุงเทพฯ.
สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา. (2546). การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
โอภาส เอี่ยมศิริวงศ์. (2546). การออกแบบและการจัดการฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ : บริษัทซีเอ็ด ยูเคชั่น จำกัด(มหาชน).
อำไผ พรประเสริฐกุล. (2544). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ : บริษัทออฟเซ็ทเพรส จำกัด.

ภาพรวมของระบบจัดการความรู้.โดยเฉลี่ยเท่ากับ.2.94.และ 2) ด้านการใช้งานระบบจัดการความรู้ โดยเฉลี่ยเท่ากับ 2.64 เพื่อให้มีการใช้ระบบอย่างเต็มประสิทธิภาพควรมีการเผยแพร่ระบบการจัดการความรู้ เพื่อสร้างแนวทางใหม่ๆ ให้กับบุคคลหรือองค์กรที่สนใจในระบบการจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดการแบ่งปันความรู้กันอย่างแพร่หลาย



ศิวัช กาญจนชุม. (2544). ระบบฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ : บริษัทพัฒนาวิชาการ จำกัด
การจัดการความรู้.(2554). สืบค้นวันที่ 16 ตุลาคม 2555, จาก http://iknewuknow.com/Presentation_
Documents/Modern_Management/KM-LO_Presentation_6_January_2011.pdf.
คู่มือการใช้ Dokuwiki.(ม.ป.ป.). สืบค้นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555, จากhttp://www.stks.or.th/wiki/doku.php?id=wiki:start.

Others in this Category
document ภาพกิจกรรม