Email to friend
* Your name:
* Your email:
* Friend's email:
Comment:


รายงานการประชุมครั้งที่ 4/2556

การประชุมสมาชิก KM
กลุ่ม Business Administration Class (BAC)
ครั้งที่ 4/2556
วันที่ 22 มกราคม 2556
ณ ห้องประชุม 5627  คณะวิทยาการจัดการ
ผู้เข้าร่วมประชุม
1.ผศ.ดร.วิมลศรี  แสนสุข
2.ผศ.อนัญญา ธนะศรีสืบวงศ์
3.ผศ.ศิวิไล ชยางกูร
4.อาจารย์ปรเมษฐ์ แสงอ่อน
5.อาจารย์สุพัตรา กาญจโนภาส
6.อาจารย์ ดร.วิทยา อินทรพิมล
7.อาจารย์รุ่งลักษมี รอดขำ
8.อาจารย์สมชาย บัวรุ่ง
9.อาจารย์กิติเวทย์ บุญโญปกรณ์
10.อาจารย์ณัฐพงษ์ เตชะรัตนเสฎฐ์
11.อาจารย์กวินพัฒน์ เลิศพงษ์มณี
12.อาจารย์ ดร.วิชาดา โชคศิขริน
13.อาจารย์สุรางคนา พิพัฒน์โชคไชโย
14.อาจารย์ชุติมา คล้ายสังข์
15.อาจารย์พิสิษฐ์ พจนจารุวิทย์
 
การประชุม 4/2556 นี้ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการพัฒนานักศึกษาให้ได้ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์
 
อาจารย์สุรางคนา พิพัฒน์โชคไชโย ได้เล่าว่า ในครั้งแรกจะใช้เทคนิคการละลายพฤติกรรมโดยให้นักศึกษาแนะนำตนเอง จากนั้น อาจารย์ผู้สอน ชี้แจงแผนการเรียน การสอน กฎ กติกาในการเรียนการสอน ทดสอบก่อนเรียน  ส่วนการเรียนการสอนจะใช้วิธีการที่หลากหลาย คือ เอกสารประกอบการเรียนการสอนในการบรรยาย และจะมอบหมายให้นักศึกษาอ่านหนังสือนอกเวลา รวมถึงการใช้กรณีศึกษาเกี่ยวกับผู้ประกอบการธุรกิจบริการที่ประสบความสำเร็จเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน จะมีการ Share ประสบการณ์ที่ได้จากสถานการณ์จริงภายนอกห้องเรียนเกี่ยวกับงานบริการ นอกจากนี้ยังมีการใช้ Clip VDO ในการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมทางผ่านทางช่องทาง Internet และ Social Media เป็นต้น ซึ่งการประเมินผล จะพิจารณาจากการเข้าห้องเรียน การมีส่วนร่วมในห้องเรียน การคิดวิเคราะห์กรณีศึกษาต่างๆ การทดสอบก่อนเรียน การสอบปลายภาค เป็นต้น ผลลัพธ์ที่ได้ นักศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียน ไม่เบื่อ มีผลการเรียนที่ดี นักศึกษาสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี มีความอดทน และมีความพร้อมในการเป็นผู้ให้บริการที่ดีในอนาคต ปัญหาที่เผชิญ เช่น งานบริการมีหลากหลายดังนั้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จะต้องหาข้อมูลให้ครอบคลุมให้มากที่สุด
 
อาจารย์ปรเมษฐ์ แสงอ่อน ได้เล่าว่า ในครั้งแรกของการจัดการเรียนการสอนจะเน้นการสร้างความเข้าใจกับผู้เรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผลและการทำกิจกรรม ระหว่างเรียน เช่น กิจกรรมจะจำแนกเป็นกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่มเพื่อวัดผลเป็นรายบุคคลและวัดผลการทำงานร่วมกันส่งผลให้ผู้เรียนได้พัฒนาทั้งทักษะส่วนบุคคลและทักษะการทำงานเป็นทีม กิจกรรมระหว่างเรียนผู้สอนจะให้นักศึกษาเลือกกรณีศึกษาเอง แล้วนำมาวิเคราะห์เป็นรายบุคคล ผู้สอนจะตรวจงานและให้ข้อเสนอแนะแต่ละบุคคลรวมถึงให้ข้อเสนอแนะในภาพรวมทั้งห้อง ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามลำดับ ผลลัพธ์ที่ได้ สามารถพัฒนานักศึกษาด้านต่างๆ ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของรายวิชาและคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์เช่น พัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์จากการวิเคราะห์งาน พัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร จากการนำเสนองาน ทักษะการทำงานเป็นทีม จากการทำงานกลุ่มเป็นต้น ปัญหาที่เจอคือ การแบ่งกลุ่มอาจเป็นการยากที่นักศึกษาจะจัดคนให้เหมาะกับงานเพราะสมาชิกกลุ่มโดยส่วนใหญ่อาจมีความรู้ความสามารถใกล้เคียงกัน ผู้สอนจึงต้องให้คำแนะนำและอธิบายเกี่ยวกับลักษณะงานย่อยอย่างละเอียดเพื่อให้นักศึกษาจัดงานให้เหมาะสมกับความสามารถของบุคคล
 
อาจารย์สมชาย บัวรุ่ง ได้เล่าว่า จะใช้ระบบบทเรียนออนไลน์ซึ่งสร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปโมเดิ้ล (Moodle) เข้ามาเป็นเครื่องมีในการช่วยการเรียนการสอน เช่น การมอบหมายชิ้นงานย่อย, การส่งการบ้าน  และยังมีการใช้โปรแกรม packet tracer ในการจำลองการปฏิบัติงานจริงของการทำงานโครงข่ายซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาได้ปฏิบัติงานเหมือนกับการใช้อุปกรณ์จริงซึ่งมีราคาแพง นอกจากนี้ยังมีการมอบหมายงานในลักษณะโครงงานให้นักศึกษาทำตลอด 1 ภาคเรียน โดยอาจารย์ผู้สอนจะคอยให้คำปรึกษา ช่วยเหลือในส่วนของการให้แนวทางแก้ไขปัญหา และประเมินความก้าวของชิ้นงานโดยตลอด โดยจะมีการวัดผลจากการเข้าเรียน ความตรงเวลาในการส่งงาน ความตั้งใจในชั้นเรียน การสอบ เป็นต้น ซึ่งเมื่อเรียนเสร็จสิ้นนักศึกษามีความรู้ความสามารถที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ อีกทั้งยังมีทักษะด้านการคิด การวิเคราะห์ การทำงานเป็นกลุ่ม รวมถึงมีคุณธรรมจริยธรรมทางวิชาชีพอีกด้วย ปัญหาที่เจอ คือ อุปกรณ์การเรียนการสอนในเชิงปฏิบัติไม่เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา และในการทำงานกลุ่มที่เป็นโครงการนักศึกษาจะเจอปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องแก้อยู่เสมอๆดังนั้นอาจารย์ผู้สอนจึงต้องให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
 
          อาจารย์กิติเวทย์ บุญโญปกรณ์ ได้เล่าว่า อาจารย์ผู้สอนชี้แจง กฎ กติกาการเข้าชั้นเรียน การวัดผลและประเมินผล รวมถึงการทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนในวิชาจนเกิดความเข้าใจตรงกัน จากนั้นเมื่อเริ่มสอนอาจารย์ผู้สอนจะอธิบายหลักเกณฑ์และวิธีการในเรื่องนั้นๆและนักศึกษาลงมือปฏิบัติและตรวจชิ้นงานพร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะกับนักศึกษาเป็นรายบุคคลโดยภาพรวมของการสอนผู้สอนจะแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆและให้นักศึกษาฝึกไปทีละขั้นตอนและจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาถามคำถามที่นักศึกษาไม่เข้าใจหรือทำไม่ได้ สุดท้ายเมื่อสอนครบทุกขั้นตอนอาจารย์จะเป็นผู้สรุปภาพรวมอีกครั้งหนึ่ง การวัดผลจะประเมินจากความตรงเวลาในการเข้าใช้เรียน ชิ้นงานที่ทำ การสอบ ผลลัพธ์ที่ได้รับ นักศึกษาเข้าชั้นเรียนตรงเวลา มีความรับผิดชอบมากขึ้น ปัญหาด้านการเรียนการสอน คือ ทักษะด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาแต่ละคนอาจต่างกันดังนั้นจึงต้องใช้เวลาค่อนข้างเยอะในการตรวจสอบชิ้นงานแต่ละคนในห้องเรียน
 
 
 
 
อาจารย์พิสิษฐ์ พจนจารุวิทย์
ผู้บันทึกรายงานการประชุม
 
 
 
 
อาจารย์สุพัตรา กาญจโนภาส
 ผู้ตรวจรายงานการประชุม