หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ 2556 / คณะวิทยาการจัดการ / กลุ่ม Business Administration Class (BAC) / รายงานการประชุมครั้งที่ 3/2556
|
|
|||||
การประชุมสมาชิก KM
กลุ่ม Business Administration Class (BAC)
ครั้งที่ 3/2556
วันที่ 18 มกราคม 2556
ณ ห้องประชุม 5627 คณะวิทยาการจัดการ
ผู้เข้าร่วมประชุม
1.ผศ.ดร.วิมลศรี แสนสุข
2.ผศ.อนัญญา ธนะศรีสืบวงศ์
3.ผศ.ศิวิไล ชยางกูร
4.อาจารย์ปรเมษฐ์ แสงอ่อน
5.อาจารย์สุพัตรา กาญจโนภาส
6.อาจารย์ ดร.วิทยา อินทรพิมล
7.อาจารย์รุ่งลักษมี รอดขำ
8.อาจารย์สมชาย บัวรุ่ง
9.อาจารย์กิติเวทย์ บุญโญปกรณ์
10.อาจารย์ณัฐพงษ์ เตชะรัตนเสฎฐ์
11.อาจารย์กวินพัฒน์ เลิศพงษ์มณี
12.อาจารย์ ดร.วิชาดา โชคศิขริน
13.อาจารย์สุรางคนา พิพัฒน์โชคไชโย
14.อาจารย์ชุติมา คล้ายสังข์
15.อาจารย์พิสิษฐ์ พจนจารุวิทย์
การประชุม 3/2556 นี้ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการพัฒนานักศึกษาให้ได้ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ผศ.ศิวิไล ชยางกูร ได้เล่าว่า มีการเริ่มต้นการสอนโดยการนำเข้าสู่บทเรียนด้วย เกมส์ใบ้คำ การอัพเดทข่าวสารด้านเศรษฐกิจ จากนั้นสรุปสาระคำที่เกี่ยวข้องกับคำในเนื้อหาของบทเรียนในแต่ละครั้ง โดยสอนตามเนื้อหาในแต่ละบทซึ่งมีเอกสารประกอบการสอนให้กับนักศึกษาทุกครั้ง โดยอาจารย์ผู้สอนบรรยายทีละหัวข้อ และมอบหมายงานให้นักศึกษาหาพ๊อกเก็ตบุ๊คเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่นักศึกษาสนใจและศึกษารายละเอียดเพื่อที่จะนำมาแลกเปลี่ยนมุมมองในชั้นเรียน นอกจากนี้ยังมอบหมายงานให้นักศึกษาไปรับฟังการอัพเดทสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจผ่านสื่อต่างๆ รวมถึงการเข้าร่วมงานสัมมนา แล้วทำการสรุปผลส่งอาจารย์ผู้สอนในรูปแบบของ CD- ROM โดยในการประเมินผลจะพิจารณาจากความตรงเวลาในการเข้าเรียน การตั้งใจเรียน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การกล้าแสดงความคิดเห็น ผลงานที่มอบหมาย การสอบ ซึ่งผลที่ได้จากการสอนคือนักศึกษาสามารถคิดและวิเคราะห์รวมถึงเชื่อมโยงสิ่งที่ตนเองศึกษาด้วยตนเองเข้าเนื้อหาในบทเรียนได้ ปัญหาที่เจอคือ สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจจากสื่อต่างๆอาจให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกัน ซึ่งอาจผู้สอนจะต้องคอยเป็นพี่เลี้ยงที่จะแนะนำแนวทางในการพิจารณาเลือกรับข้อมูลข่าวสาร
อาจารย์ชุติมา คล้ายสังข์ ได้เล่าว่า เป็นการเรียนรู้แบบใช้คำถาม โดยในการเรียนการสอนแต่ละครั้งทั้งก่อนการเริ่มต้นการเรียน ระหว่างการเรียนและเมื่อสิ้นสุดการเรียน ทั้งนักศึกษาและอาจารย์จะมีการตั้งคำถามและค้นหาคำตอบที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่สอนในชั้นเรียนร่วมกัน การประเมินผลจะพิจารณาจากความกล้าแสดงความคิดเห็นในการตอบคำถาม การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การมีน้ำใจในการช่วยเหลือกันในห้องเรียน การคิดวิเคราะห์ และการสอบวัดความรู้ โดยผลลัพธ์ที่ได้นักศึกษาและอาจารย์สามารถคิดวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบร่วมกันอย่างหลายหลาย และตกผลึกทางความคิด รวมทั้งเป็นการฝึกให้นักศึกษายอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และทราบถึงจุดแข็ง จุดอ่อนของนักศึกษาแต่ละคน ทำให้สามารถนำไปสู่การวางแผนและการพัฒนานักศึกษาต่อไป ปัญหาที่พบ เช่น บางครั้งนักศึกษาให้คำตอบที่หลุดออกนอกประเด็นของคำถามซึ่งอาจเป็นเพราะนักศึกษาไม่เข้าใจคำถาม ซึ่งอาจผู้สอนก็ได้ทำการย้ำและอธิบายถึงข้อคำถามใหม่อีกครั้ง
อาจารย์ ดร.วิทยา อินทรพิมล ได้เล่าว่า ในการพบกันครั้งแรกในการเรียนการสอนผู้สอนจะมีการแนะนำถึงเทคนิควิธีการเรียนให้ได้ผลการเรียนที่ดี โดยแนะนำให้นักศึกษา
1) จัดหาหนังสือตำราหลักของแต่ละรายวิชา แล้วทำการศึกษาเนื้อหาล่วงหน้าพร้อมทั้งตั้งคำถามเพื่อนำไปถามอาจารย์ในชั่วโมงเรียน
2)ศึกษาเนื้อหาล่วงหน้าสำหรับการเรียนแต่ละครั้ง
3.) ในระหว่างเรียนให้ตั้งใจเรียนและในส่วนของคำถามที่เคยตั้งไว้ให้ยกมือและถามอาจารย์ทันทีที่ถึงเรื่องนั้นๆ
4)ในแต่ละครั้งที่เรียนจบเนื้อหา ให้นักศึกษากลับไปทบทวนเนื้อหาซ้ำอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งทำแบบฝึกหัดและการบ้านที่ได้รับมอบหมาย ถ้าเป็นไปได้ควรจะมีหนังสือหรือตำราของวิชานั้นๆ อีกอย่างน้อย 2 – 3 ผู้แต่งเพื่อใช้เปรียบเทียบหรือยืนยันเนื้อหา
5)นักศึกษาสรุปเนื้อหาทั้งตำราหลักและรองด้วยตัวเอง
6)นำเนื้อหาที่สรุปไว้มาทบทวนอย่างน้อย 2 ครั้งก่อนจะมีการสอบ กลางภาคและปลายภาค
โดยข้อตกลงในการเรียนรายวิชา อาจารย์ชี้แจงและทำความเข้าใจในประเด็นต่างๆดังนี้
1) การเข้าชั้นเรียน
2)การทำรายงาน
3)การนำเสนองาน
4)การสอบ
ซึ่งข้อตกลงต่างๆ จะมาจากสาขาวิชาเป็นผู้ร่วมกำหนด
การเรียนการสอนวิชาบรรยาย เริ่มจากการให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียน อาจารย์บรรยายเนื้อหาในบทเรียนแล้วมอบหมายให้นักศึกษาไปศึกษาหาความรู้จากข่าวและบทความเพิ่มเติมแล้วให้นักศึกษาทำแบบทดสอบหลังเรียน ทั้งนี้การทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนมีการจัดทำเป็นบางเนื้อหา
การเรียนการสอนวิชาคำนวณ เริ่มจากให้นักศึกษาสรุปเนื้อหาและสูตรที่จะใช้เรียนในครั้งต่อไป เมื่อถึงชั่วโมงเรียนก็นำสูตรคำนวณมาใช้คำนวณในตัวอย่างที่จะสอนแล้วให้นักศึกษาวิเคราะห์ผลที่ได้ ว่าเป็นประโยชน์ต่อกิจการหรือไม่อย่างไร ถ้าไม่ดีก็ให้เสนอวิธีการปรับปรุงถ้าดีอยู่แล้วทำอย่างไรถึงจะดียิ่งขึ้น
อาจารย์พิสิษฐ์ พจนจารุวิทย์
ผู้บันทึกรายงานการประชุม
อาจารย์สุพัตรา กาญจโนภาส
ผู้ตรวจรายงานการประชุม
|