|
||
การประชุมสมาชิก KM
กลุ่ม Business Administration Class (BAC)
ครั้งที่ 2/2556
วันที่ 15 มกราคม 2556
ณ ห้องประชุม 5627 คณะวิทยาการจัดการ
ผู้เข้าร่วมประชุม
1.ผศ.ดร.วิมลศรี แสนสุข
2.ผศ.อนัญญา ธนะศรีสืบวงศ์
3.ผศ.ศิวิไล ชยางกูร
4.อาจารย์ปรเมษฐ์ แสงอ่อน
5.อาจารย์สุพัตรา กาญจโนภาส
6.อาจารย์ ดร.วิทยา อินทรพิมล
7.อาจารย์รุ่งลักษมี รอดขำ
8.อาจารย์สมชาย บัวรุ่ง
9.อาจารย์กิติเวทย์ บุญโญปกรณ์
10.อาจารย์ณัฐพงษ์ เตชะรัตนเสฎฐ์
11.อาจารย์กวินพัฒน์ เลิศพงษ์มณี
12.อาจารย์ ดร.วิชาดา โชคศิขริน
13.อาจารย์สุรางคนา พิพัฒน์โชคไชโย
14.อาจารย์ชุติมา คล้ายสังข์
15.อาจารย์พิสิษฐ์ พจนจารุวิทย์
การประชุม 2/2556 นี้ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการพัฒนานักศึกษาให้ได้ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์
อาจารย์อาจารย์ ดร.วิชาดา โชคศิขริน ได้เล่าว่า ลักษณะการสอนจะเป็นแบบการมีส่วนร่วม โดยจะเริ่มจะเริ่มต้นด้วยการพูดคุยทำความเข้าใจกับนักศึกษาในครั้งแรกของการเรียนการสอน จากนั้นจะมอบหมายให้นักศึกษาไปค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เมื่อเริ่มต้นการเรียนการสอนในครั้งต่อไปอาจารย์ผู้สอนจะเป็นผู้สอนในบทนำ สำหรับเนื้อหาในแต่ละบทจะให้นักศึกษาเป็นผู้ร่วมสอนและอาจารย์เป็นผู้เพิ่มเติมข้อมูลที่สำคัญและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ในการประเมินผลจะดูจาก ความรับผิดชอบต่องานที่มอบหมาย ความกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วม ภาษาที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ ความรู้ความเข้าใจเนื้อหาของบทเรียน วิจารณญาณและการคิดอย่างเป็นระบบ โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้วิธีนี้คือ นักศึกษาจะเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากต้องทำกิจกรรรมและมีความเป็นส่วนร่วมในการเรียนการสอนส่งผลให้นักศึกษาที่เข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอมีผลการเรียนผ่านตามเกณฑ์เป็นที่น่าพอใจ แต่ยังคงพบปัญหาบ้างในช่วงแรกของการเรียนการสอนซึ่งนักศึกษาอาจยังประหม่าในการนำเสนอความรู้ ซึ่งอาจารย์ผู้สอนก็จะช่วยปรับทัศนคติให้นักศึกษาเกิดความมั่นใจมากขึ้น
อาจารย์กวินพัฒน์ เลิศพงษ์มณี ได้เล่าว่าในการเรียนครั้งแรกจะมีการตกลงกติกาในการเรียนกับนักศึกษา ไม่ว่าจะเป็นกติกาการเข้าห้องเรียน กติกาการส่งงาน เป็นต้น และจะมอบหมายงานให้กับนักศึกษาสำหรับทำตลอด 1 ภาคเรียนในลักษณะของโครงการโดยให้นักศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับแผนกลยุทธ์ขององค์กร โดยให้นำข้อมูลจาก รายงานประจำปีขององค์กรที่นักศึกษาสนใจ โดยอาจารย์ผู้สอนจะเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำให้ตลอด และเมื่อถึงกำหนดส่งงานโครงการนักศึกษาจะต้องนำเสนองานเกี่ยวกับแผนกลยุทธ์ขององค์กร หน้าชั้นเรียน และจะมีการ Share Vision ร่วมกัน โดยมีคณาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกันและที่สอนในวิชาที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันทางด้านบริหารธุรกิจ เข้าร่วม Share Vision พร้อมทั้งให้ความรู้กับนักศึกษาในมุมมองทางด้านบริหารธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป ในการวัดผลจะวัดผลจากความตรงเวลาในการเข้าเรียน ความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ข้อมูล ความมีส่วนร่วมและกระบวนการคิดในการ share vision โดยผลลัพธ์ที่ได้ นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์จากอาจารย์และองค์กรทำให้ได้มุมมองด้านบริหารที่หลากหลาย ความรู้เกี่ยวกับองค์กรที่จะเป็นประโยชน์ในการที่จะไปประยุกต์ในการประกอบการในอนาคต อีกทั้งการศึกษาข้อมูลองค์กรในด้านแผนกลยุทธ์ขององค์กรยังสามารถนำไปสู่การปลูกฝังนักศึกษาเกิดภาวะผู้นำ ความกล้าในการตัดสินใจ ความมีคุณธรรมจริยธรรมในการประกอบอาชีพ ในขณะปัญหาอุปสรรคสำหรับการสอนในลักษณะนี้คือ เริ่มตั้งแต่การเลือกข้อมูลองค์กรมาวิเคราะห์ ซึ่งถ้าข้อมูลที่ได้รับมีไม่เพียงพอก็ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ ในขั้นนี้อาจารย์ผู้สอนจะต้องให้คำปรึกษา และ ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นร่วมกับนักศึกษา
ผศ.อนัญญา ธนะศรีสืบวงศ์ ได้เล่าว่า การเรียนการสอนจะเน้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมโดยการมอบหมายงานให้นักศึกษาหาประสบการณ์ตรงในการพัฒนาตนเองผ่านฝึกการอบรม/สัมมนานอกสถานที่ จากนั้นนำประสบการณ์การที่ได้มาทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องเรียนรวมถึงการอภิปรายผลร่วมกัน อีกทั้งยังใช้กรณีศึกษาในสถานการณ์ต่างๆ ให้นักศึกษาทำการวิเคราะห์ปัญหา และสังเคราะห์หาความรู้เพื่อที่จะได้ความรู้สำหรับการประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้นักศึกษาสร้างสรรค์ผลงานทางด้านวิชาการเช่นวิธีการดำเนินธุรกิจอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงการให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติโดยการใช้วิธีจำลองสถานการณ์จริงอย่างเช่นการจัดสัมมนาและฝึกอบรม เป็นต้น ซึ่งการวัดผลจะมาจากการมีส่วนร่วม ความสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกการอบรม/สัมมนานอกสถานที่มีประสมผสานเข้ากับทฤษฎีจากบทเรียนในตำรา ความคิดสร้างสรรค์ การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย โดยผลลัพธ์ที่ได้คือนักศึกษาได้รับทั้งความรู้ในทางภาคทฤษฏีและปฏิบัติ รวมถึงการได้เห็นปัญหาในการปฏิบัติงานจริงทำให้เกิดปฏิภาณไหวพริบในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ โดยปัญหาที่พบในการสอนวิธีนี้คือ การเรียนช่วงต้นนักศึกษาจะยังขาดความกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วม ซึ่งอาจารย์ผู้สอนจะต้องกระตุ้นให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของการแสดงความคิดเห็น โดยการตั้งคำถามนำก่อน
อาจารย์พิสิษฐ์ พจนจารุวิทย์
ผู้บันทึกรายงานการประชุม
อาจารย์สุพัตรา กาญจโนภาส
ผู้ตรวจรายงานการประชุม
|