|
|||||
5. การเข้าถึงความรู้ เป็นระยะการถ่ายทอด รายละเอียดการดำเนินงาน วิธีการในการทำให้นำความรู้ไปใช้งานได้ง่ายและเข้าถึงได้ง่าย โดยจัดทำเป็นคู่มือ/ เอกสารเพื่อเผยแพร่ ในเว็บไซต์ บอร์ดของวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ และขอข้อมูลย้อนกลับได้ ตามรูปภาพที่ 14 ดังนี้ 1) เผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น จัดบอร์ดประชาสัมพันธ์ จดหมายข่าว เผยแพร่ลงเว็ปไซด์2) จัดทำเอกสารองค์ความรู้ เรื่อง แนวทางการจัดการความรู้สู่รูปแบบการบูรณาการการวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นระยะการถ่ายทอด วิธีการในการถ่ายทอดความรู้ ทั้งที่เป็นความรู้ฝังลึกและความรู้ชัดแจ้ง ตามรูปภาพที่ 14 มีดังนี้
ความรู้ฝังลึก 1) ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ (CoP) หัวข้อเรื่องที่นำมาแลกเปลี่ยนความรู้จำนวน 1องค์ความรู้ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการบูรณาการ การวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ เพื่อพัฒนาสุขภาวะ 3 อ. กับ การลดพุง ของประชาชนวัยผู้ใหญ่ ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 2) จัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับบุคลากรภายในและภายนอกวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ ที่อยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา 3) รวบรวมเป็นเอกสาร แนวทางการจัดการความรู้สู่รูปแบบบูรณาการ การวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ เผยแพร่ใน website km ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและช่องทางอื่นๆ ความรู้ชัดแจ้ง ผลงานวิจัย เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่มีมาตรฐานทางวิชาการ เป็นที่ยอมรับ และเผยแพร่ในการประชุมวิชาการ รวมทั้ง website km ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและช่องทางอื่นๆ 7. การเรียนรู้ เป็นระยะการถ่ายทอด วิธีการในการนำองค์ความรู้ ที่ได้จากการจัดการความรู้ ไปใช้ประโยชน์และทำให้เกิดการแก้ปัญหาหรือพัฒนาหน่วยงาน ตามรูปภาพที่ 14 ดังต่อไปนี้ ประยุกต์ใช้ประโยชน์หรือพัฒนาหน่วยงาน 1) ตีพิมพ์ผลงานวิจัย ตีพิมพ์ในวารสารที่มีมาตรฐานเพื่อ เพิ่มสัดส่วนร้อยละของการตีพิมพ์เผยแพร่วิจัยขององค์กร 2) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับการศึกษาพยาบาลอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการทำวิจัยรูปแบบบูรณาการ การวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ 3) ขยายผลการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ไปยังสาขาวิชาอื่นๆ โดยใช้ storytelling และวิธีอื่นๆ การนำผลการวิจัยที่ได้มาเป็นเนื้อหาในการเรียนการสอนของนักศึกษา 4) เป็นวิทยากรบรรยายให้กับอาจารย์พยาบาลในวิทยาลัยและสถาบันอื่นๆ การทำให้เกิดการแก้ปัญหาหรือพัฒนาหน่วยงาน อาจารย์ในสาขาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น และสาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ที่ได้เข้าร่วมการดำเนินงานการจัดการความรู้ กลุ่มดอกปีป การดำเนินการจัดการความรู้ตลอดระยะของการทำงาน ทำให้ตัวอาจารย์เกิดความรู้ตลอดเวลา ทั้งที่เป็นความรู้ชัดแจ้งและความรู้ฝังลึก สามารถนำแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในบทบาทหน้าที่ ตามภาระกิจทั้ง 3 ด้าน คือ การเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ สามารถเรียนรู้เพื่อการบูรณาการ และดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ เป็นการเสริมสร้างให้นักศึกษามีความรู้จากประสบการณ์ตรงในการบูรณาการ และประยุกต์ใช้ความรู้สู่การปฏิบัติได้ดี |