|
|||||
4. การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ เป็นระยะจัดเก็บและสังเคราะห์ รายละเอียดการดำเนินงาน วิธีการในการประมวลและกลั่นกรองความรู้ที่ได้ โดยรูปแบบของความรู้ ที่จะทำให้เข้าใจได้ง่ายและสมบูรณ์ มีรายละเอียดผลการดำเนินงานรูปแบบของความรู้ โดยการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อ วิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุป รูปแบบบูรณาการ การวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ ที่ทำให้เข้าใจได้ง่ายและสมบูรณ์ ตามรูปภาพที่ 13 ซึ่งในการประมวลผลและกลั่นกรองความรู้นั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ความรู้ก่อนและหลังจากการทำวิจัย ส่วนที่ 2 ความรู้จากการจัดการความรู้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 ความรู้ก่อนและหลังจากการทำวิจัย 1.1 ความรู้ก่อนการทำวิจัย ความรู้ชัดแจ้ง นำความรู้จากการทบทวนองค์ความรู้ ประกอบด้วยทฤษฎีและกรณีตัวอย่าง มาประยุกต์ใช้ในการจัดทำเป็นเอกสารหลักฐาน/คู่มือ เพื่อใช้ในการวิจัย ตามลำดับขั้นตอนดังนี้ 1) นำความรู้มาวิเคราะห์หารือร่วมกันกับคณะทำงาน 2) ประมวลกลั่นกรองความรู้ที่ได้โดยส่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ต่างๆตรวจสอบเนื้อหา 3) นำความรู้มาจัดทำเป็นเอกสารหลักฐาน/คู่มือเพื่อใช้ในการวิจัย ดังนี้ - เอกสารความรู้เรื่องคุณค่าทางโภชนาการการออกกำลังกายและอารมณ์ - เอกสารความรู้เรื่องอาหารแลกเปลี่ยน - เอกสารข้อแนะนำสำหรับการบริโภคอาหารที่ถูกส่วน - เอกสารเรื่องหลักในการควบคุมน้ำหนัก - คู่มือการออกกำลังกายด้วยยางในรถจักรยาน - คู่มือความเครียดและการปรับตัวต่อความเครียด 1.2 ความรู้หลังจากการทำวิจัย ประกอบด้วยความรู้ชัดแจ้ง และ ความรู้ฝังลึก ลักษณะที่ 1 ความรู้ชัดแจ้ง นำข้อมูลที่ได้จากการทำวิจัยมา วิเคราะห์ผล เขียนรายงาน อภิปรายผล เสนอแแนะ และ เผยแพร่ในการประชุมวิชาการหรือตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีมาตรฐาน
ลักษณะที่ 2 ความรู้ฝังลึก เป็นองค์ความรู้ ที่ได้จากการถอดบทเรียน ในการดำเนินการวิจัยดังนี้ คือ ในการทำงานวิจัย นั้นสาระสำคัญที่ได้รับจากประสบการณ์ตรง ประกอบด้วย 1. ต้องระบุกลุ่มเป้าหมายที่แน่ชัด คือ ประชากร และตัวอย่างจะต้องเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ที่มีปัญหาจริงๆ เช่น อ้วนลงพุง หรือ เป็นบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ เพื่อให้เกิดส่วนร่วมสูงสุดในการร่วมวิจัย 2. เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพในพื้นที่ควรมาร่วมเป็นทีมวิจัย โดยมาเรียนรู้ และวางแผนร่วมกัน คือ การนำเจ้าหน้าที่ของรพ.สต. มาร่วมเป็นทีมวิจัย เพื่อจะได้เป็นผู้ประสานงานในพื้นที่ สะดวกในการติดตามกลุ่มตัวอย่าง 3. วิธีการให้ความรู้ และระยะเวลา การปรับปรุงแผนการทดลอง เนื้อหา ควรนำไปทดสอบแผนการทดลอง (Try out) ก่อน โดยทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง 4. ในแผนการทดลองนั้น ในการออกแบบการวิจัยนั้นๆควรออกแบบให้ กลุ่มตัวอย่าง ได้เข้ามามีส่วนร่วมตามความเหมาะสม แทนที่ผู้วิจัยจะมาคิดตามลำพัง ทั้งอาจจะเป็นการศึกษานำร่อง (Pilot Study)
ส่วนที่ 2 ความรู้จากการจัดการความรู้ ได้จากการจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุป รูปแบบของความรู้ที่ทำให้เข้าใจได้ง่ายและสมบูรณ์ และจัดทำเป็นเอกสารหลักฐาน แนวทางการจัดการความรู้สู่รูปแบบบูรณาการ การวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ
|