Email to friend
* Your name:
* Your email:
* Friend's email:
Comment:


ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ :3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นระยะจัดเก็บและสังเคราะห์ :กลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ

3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นระยะจัดเก็บและสังเคราะห์

   มีรายละเอียดการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้ วิธีการในการจัดระบบความรู้ที่ได้จากการสร้างและแสวงหา นั้น จะเก็บและแบ่งประเภทหัวข้อของความรู้ โดยบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร และพิมพ์เย็บเล่ม และจะแบ่งประเภทหัวข้อของความรู้เป็น 3 ส่วน

ส่วนที่1 ความรู้ก่อนการทำวิจัย ส่วนที่ 2 ความรู้หลังการทำวิจัย และ ส่วนที่ 3 ความรู้จากการจัดการความรู้

องค์ความรู้ที่ได้จากการจัดความรู้ เรื่องรูปแบบการบูรณาการการวิจัย การเรียนการสอน และ การบริการวิชาการ มีดังนี้ คือ

  

ส่วนที่1 ความรู้ก่อนการทำวิจัย โดยมีที่มาตามรูปภาพที่ 12

ในขั้นตอนแรกของการเริ่มดำเนินการ การจัดความรู้ ในการทำวิจัยรูปแบบบูรณาการ การวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ และ กำหนดรูปแบบการบูรณาการ การวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ เพื่อพัฒนาสุขภาวะ 3. กับการลดพุง ของประชาชนวัยผู้ใหญ่ ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ที่มาขององค์ความรู้ ได้มาจากการแสวงหาความรู้จากตำรา เอกสารเว็ปไซด์  และนำวาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุป เป็น เอกสารดังต่อไปนี้ คือ

1.จัดทำเอกสารความรู้เรื่องคุณค่าทางโภชนาการการออกกำลังกายและอารมณ์

2.จัดทำเอกสารความรู้เรื่องอาหารแลกเปลี่ยนจัดทำเอกสารข้อแนะนำสำหรับการ

บริโภคอาหารที่ถูกส่วน

3.จัดทำเอกสารเรื่องหลักในการควบคุมน้ำหนัก

                   ส่วนที่ 2 ความรู้หลังการทำวิจัย  เป็นความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัย กำลังอยู่ในระยะการประมวลผลข้อมูล

แบ่งออกเป็น 2  ลักษณะ ประกอบด้วย ความรู้ชัดแจ้ง และ ความรู้ฝังลึก

       ลักษณะที่ 1 ความรู้ชัดแจ้ง เป็นความรู้ที่ได้จากผลของการทำวิจัย ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการสร้างเสริมสุขภาพ และ ประเด็นที่ควรทำวิจัยต่อไป ทั้งนี้ ความรู้ชัดแจ้งอัน เป็นผลงานวิจัย ที่ได้จากการทำวิจัย สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ เพื่อนำเอาผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์นั้น จะเตรียม Manuscript เพื่อนำไปสู่การเผยแพร่ ตีพิมพ์ ในวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับ และมี Peer review ต่อไป

การดำเนินการวิจัยโดยสรุป มี ดังนี้

ครั้งที่1. สำรวจข้อมูลทั่วไป

ครั้งที่2. ให้ Intervention 1 ครั้ง (วันที่ 3-4 พฤษภาคม 2556) ประกอบด้วย การให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย เรื่อง การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การบริหารอารมณ์ วิธีการ คือ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต วัดรอบเอว เจาะเลือด ตรวจหาค่าน้ำตาลในเลือด

ครั้งที่3. วัดผลโดยการเก็บข้อมูลระยะเวลาห่างจากครั้งที่2 เท่ากับ 1 เดือนหลังจากให้ความรู้

  หมายเหตุ ตามแผนการเดิมจะต้องเก็บข้อมูล 4 เดือนหลังจากให้ความรู้ และ ติดตามทุก 1 เดือน

 แต่ด้วย ข้อจำกัดของงบประมาณ ที่จะต้องปิดโครงการวิจัยตามปีงบประมาณ จึงจำเป็นต้องปรับแผนการทดลอง เปลี่ยนเป็นการวัดผลหลังทำการทดลอง 1 เดือน ทั้งๆที่ตามทฤษฎีการวัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การบริโภคนิสัย จะต้องวัดภายหลังการทดลอง 4 เดือน

         ลักษณะที่ 2 ความรู้ฝังลึก  เป็นองค์ความรู้ ทีได้จากการถอดบทเรียน ในการดำเนินการวิจัยดังนี้ คือ

ในการทำงานวิจัย นั้นสาระสำคัญที่ได้รับจากประสบการณ์ตรง ประกอบด้วย

1.     ต้องระบุกลุ่มเป้าหมายใ้แน่ชัด คือ ประชากร และตัวอย่างจะต้องเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ที่มีปัญหาจริงๆ เช่น อ้วนลงพุง หรือ เป็นบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ เพื่อให้เกิดส่วนร่วมสูงสุดในการร่วมวิจัย

2.     เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพในพื้นที่ควรมาร่วมเป็นทีมวิจัย โดยมาเรียนรู้ และวางแผนร่วมกัน คือ การนำเจ้าหน้าที่ของรพ.สต. มาร่วมเป็นทีมวิจัย เพื่อจะได้เป็นผู้ประสานงานในพื้นที่ สะดวกในการติดตามกลุ่มตัวอย่าง

3.     วิธีการให้ความรู้ และระยะเวลา การปรับปรุงแผนการทดลอง เนื้อหา ควรนำไปทดสอบแผนการทดลอง (Try out) โดยทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง

4.     ในแผนการทดลองนั้น ครวรออกแบบให้ กลุ่มตัวอย่างได้เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบการวิจัยนั้นๆตามความเหมาะสม แทนที่ผู้วิจัยจะมาคิดตามลำพัง ทั้งอาจจะเป็นการศึกษานำร่อง (Pilot Study)

               ส่วนที่ 3 ความรู้จากการจัดการความรู้   โดยมีที่มาตามรูปภาพที่ 12

         มีลักษณะเป็นความรู้ฝังลึก เป็นความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ ซึ่งได้มาจากการถอดบทเรียน เป็นประเด็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ในระหว่างการดำเนินงานทุกขั้นตอนของการจัดการความรู้ การดำเนินการวิจัย รูปแบบบูรณาการ การวิจัย การเรียนการสอน และบริการวิชาการ เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ 3. กับการลดพุง  ของบุคคลวัยผู้ใหญ่ ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ทั้งนี้ความรู้ฝังลึก เป็นความรู้ที่ได้มาจากการจัดการความรู้ ที่จะต้องอาศัยเครื่องมือ หลายชนิดร่วมกัน ที่สำคัญ สิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ คือ สุนทรียสนทนาในการทำงานทุกครั้ง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนที่กำหนดไว้ และได้รวบรวมเอกสาร  คือ จัดทำเอกสาร แนวทางการจัดการความรู้สู่รูปแบบการบูรณาการ การวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ