ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ :2.การสร้างและแสวงหาความรู้ เป็นระยะการรวบรวมและพัฒนา :กลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ

        
Views: 2592
Votes: 0
Comments: 0
Posted: 22 Aug, 2013
by: ช่วยทอง พ.ว.
Updated: 22 Aug, 2013
by: ช่วยทอง พ.ว.

2.  การสร้างและแสวงหาความรู้  เป็นระยะการรวบรวมและพัฒนา 

     รายละเอียดการดำเนินงาน วิธีที่ใช้ในการสร้างและแสวงหาความรู้ให้ได้ตามที่กำหนดในขั้นตอนการบ่งชี้ความรู้ โดยระบุว่าความรู้อยู่ที่ใคร อยู่ในรูปแบบอะไร และจะนำมาเก็บรวบรวมได้อย่างไร

      มีดังนี้ วิธีที่ใช้ในการสร้างและแสวงหาความรู้ให้ได้ตามที่กำหนดในขั้นตอนการบ่งชี้ความรู้ คือ ขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อบ่งชี้ความรู้ 7 ขั้นตอน ตามรูปภาพที่ 2  และ ตารางที่ 1 ดังต่อไปนี้

 

ตารางที่ 1 วิธีที่ใช้ในการสร้างและแสวงหาความรู้ให้ได้ตามที่กำหนดในขั้นตอนการบ่งชี้ความรู้ 7 ขั้นตอน

           

     

ขั้นตอนการบ่งชี้ความรู้ 7 ขั้นตอน*

ความรู้อยู่ที่

ใคร

อยู่ในรูป

แบบอะไร

จะนำมาเก็บ

รวบรวม

ได้อย่างไร

1.1)  ขั้นตอนและแนวทางการสร้างรูปแบบการบูรณาการ

การวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ

สมาชิกกลุ่มดอกปีป

ความรู้ชัดแจ้ง &

ความรู้ฝังลึก

การถอดบทเรียน

1.2)  วิธีการจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

สมาชิกกลุ่มดอกปีป

ความรู้ชัดแจ้ง &

ความรู้ฝังลึก

การถอดบทเรียน

1.3)  การเขียนโครงการวิจัยเพื่อให้ได้รับทุน

สมาชิกกลุ่มดอกปป

ความรู้ชัดแจ้ง &

ความรู้ฝังลึก

การถอดบทเรียน

1.4)  การเขียนโครงการบริการวิชาการเพื่อให้ได้รับทุน

สมาชิกกลุ่มดอกปีป

ความรู้ชัดแจ้ง &

ความรู้ฝังลึก

การถอดบทเรียน

1.5)  การบริหารจัดการความรู้อย่างมืออาชีพ

สมาชิกกลุ่มดอกปีป

ความรู้ชัดแจ้ง &

ความรู้ฝังลึก

การถอดบทเรียน

1.6)  การเขียนแผนการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ

สมาชิกกลุ่มดอกปีป

ความรู้ชัดแจ้ง &

ความรู้ฝังลึก

การถอดบทเรียน

1.7) วิธีการพัฒนาความร่วมมือการมีส่วนร่วมและการสร้าง

ความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายในการทำงานจัดการความรู้

ทุกระดับ

สมาชิกกลุ่มดอกปีป

ความรู้ชัดแจ้ง &

ความรู้ฝังลึก

การถอดบทเรียน

*รายละเอียดของแต่ล่ะขั้นตอนระบุไว้ในแต่ล่ะขั้นตอน

 

องค์ความรู้จากการทำวิจัย ที่ได้จากการถอดบทเรียน มีดังนี้ คือ

1.การเลือกประเด็นหัวข้อวิจัย จะต้องสอดคล้องตรงกับความต้องการจึงจะเกิดประโยชน์ คือ ได้รับทั้งทุนสนับสนุน และความร่วมมือในการดำเนินการวิจัยจากทุกภาคส่วน

2.โครงการวิจัยจะต้องมีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้องและสามารถทำวิจัยได้จริง

3.โครงการวิจัยจะต้องผ่านการวิพากษ์จากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิจัย


ดังรายละเอียดต่อไปนี้ คือ

   จากการที่มีการดำเนินการ ทำงานจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ การทำวิจัยอยู่บนพื้นฐานของระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง และ ประเด็นเรื่องที่ทำ มีความสอดคล้องตรงกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน กล่าวคือ มีขั้นตอนการดำเนินการแบบองค์รวม โดย ผ่านการกลั่นกรองมาจากนักวิชาการ ผู้ให้บริการ ผู้ให้ทุนสนับสนุน ประเด็นหัวข้อวิจัยจะต้องสอดคล้องตรงกับความต้องการจึงจะเกิดประโยชน์ คือ ได้รับทั้งทุนสนับสนุน และความร่วมมือในการดำเนินการวิจัยจากทุกภาคส่วน ทั้งนี้เพราะประเด็นการวิจัย ได้มาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกันกำหนดจาก อาจารย์พยาบาล กลุ่มดอกปีป และผ่านการเห็น

     ชอบจากชุมชนในพื้นที่ ที่สอดคล้องตรงกับความต้องการของชุมชน และยังเป็นรูปแบบการวิจัยที่ผ่านการ

     ประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิจัย

ดังนี้ คือ

1) ความรู้เพื่อสร้างโจทย์วิจัย อยู่ที่กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง ตามรูปภาพที่ 8

ต่อไปนี้ คือ

                        - อาจารย์พยาบาลกลุ่มดอกปีบซึ่งเป็นคณะทำงานการจัดการความรู้เรื่อง ได้มีการการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการบูรณาการการวิจัย การจัดการเรียนการสอน และการบริการวิชาการ โดยมีการสร้างการมีส่วนร่วม และ การสร้างความร่วมมือกับ

                        - ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกสถาบัน

                        - ปราชญ์ชาวบ้าน

                        - อสม.

                        - ผู้นำและผู้เกี่ยวข้องข้องในพื้นที่

                        - อบต.

                        - รพสต.

2) ความรู้อยู่ในรูปแบบของ ความรู้ฝังลึก และความรู้ชัดแจ้ง ซึ่งอยู่ที่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นจึงต้องมีการจัดประชุมร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้



3) นำความรู้มาเก็บรวบรวมดังนี้

            - จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อาจารย์กลุ่มดอกปีป ซึ่งเป็นคณะทำงานการจัดการความรู้เป็นผู้รับผิดชอบสอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของประชาชนวัยผู้ใหญ่ คือรายวิชา โภชนาการเพื่อสุขภาพ วิชาการพยาบาลเด็ก วิชาการพยาบาลสุขภาพจิต วิชาชีพพยาบาล วิชาจริยธรรมและกฏหมายทางการพยาบาล วิชาภาวะผู้นำทางการพยาบาลและการจัดการนิเทศภาคปฏิบัติ วิชาการพยาบาลเข้มข้น ที่วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ เพื่อวางแผนบูรณาการ การเรียนการสอนและบริการวิชาการ ไปพร้อมกับการวิจัยและสร้างโจทย์วิจัย

          - ผู้แทนอาจารย์กลุ่มดอกปีบ ที่อาสาสมัครเข้าร่วมประชุมนักวิจัยรุ่นใหม่ ที่จัดขึ้น ณ สถาบันวิจัย ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และดำเนินการเขียนโครงการวิจัยเพื่อให้ได้รับทุน โดยมีผู้เชี่ยวชาญการวิจัยจากภายนอกสถาบันเป็นที่ปรึกษา

                                    - การดำเนินการในพื้นที่เป้าหมาย ติดต่อประสานงานกับผู้บริหารองค์การบริหาร

ส่วนตำบลและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อวิเคราะห์ปัญหาหารือร่วมกันและแนวทางแก้ไขปัญหา

โดยจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับกลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน อสม.ผู้นำและผู้เกี่ยวข้องข้องในพื้นที่ พร้อมทั้งนำมาใช้ในการปรับปรุงโจทย์วิจัยที่สร้างไว้แล้ว และจัดโครงการบริการวิชาการสู่วิจัย

-       ดำเนินการเขียนโครงการวิจัยเพื่อให้ได้รับทุน โดยปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ

การวิจัยจากภายนอกสถาบัน เกี่ยวกับโครงร่างวิจัย “รูปแบบการบูรณาการ การวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ เพื่อพัฒนาสุขภาวะของประชาชนวัยผู้ใหญ่ ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม”เพื่อวิพากย์กระบวนการพัฒนาสุขภาวะของประชาชนวัยผู้ใหญ่ ตาม (ร่าง) กรอบแนวคิดในการศึกษา ตามรูปภาพที่ 9 ซึ่งข้อมูลที่เกียวข้องกับการดำเนินงานจะโพสใน Facebook กลุ่มดอกปีป เพื่อให้สมาชิกกลุ่ม ดอกปีป รับรู้ร่วมกัน รวมทั้งสามารถเสนอความคิดเห็น เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ทันเหตุการณ์ ทำให้ไม่มีข้อจำกัดด้านระยะเวลา เกิดความ สะดวก รวดเร็วในการสื่อสาร โดยใช้ Social media ให้เป็นประโยชน์และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานจัดการความรู้ ของกลุ่มดอกปีป


 

รูปภาพที่ 9 กรอบแนวคิดในการศึกษา

 

-       คณะทำงานจัดการความรู้แสวงหาความรู้จากตำรา เอกสารเว็ปไซด์และ

ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตามรูปภาพที่10และ รูปภาพที่11 กำหนดตัวชี้วัด สร้างแบบประเมินภาวะสุขภาพนำความรู้มาจัดทำเป็นเอกสารหลักฐานประกอบด้วยทฤษฎีและกรณีตัวอย่าง ประมวลกลั่นกรองความรู้ที่ได้โดยส่งให้ผู้ที่

เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ต่างๆตรวจสอบเนื้อหาและรายละเอียดขององค์ความรู้เพื่อให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์


รูปภาพที่10 การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณะทำงานกลุ่มดอกปีบ


รูปภาพที11การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณะทำงานกลุ่มดอกปีบ

 

 

Others in this Category
document ชื่อผู้ร่วมโครงการการจัดการความรู้ กลุ่มดอกปีบ ปี 2556
document ผลจาก การจัดการความรู้ของกลุ่มดอกปีป(Peep Flower KM ) : คุณค่าของสุนทรียสนทนา
document ภาพกิจกรรมบางส่วน ในการทำ KM กลุ่มดอกปีป
document สมาชิกกลุ่มดอกปีป กับ การใช้ web KM ของมหาวิทยาลัย
document รูปแบบการบูรณาการ "การวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ" เพื่อพัฒนาสุขภาวะ 3อ. ลดพุง พิชิตโรค ของประชาชนวัยผู้ใหญ่ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
document ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนามหาวิทยาลัย ชุมชน และประเทศชาติ แผนการจัดการความรู้ของ กลุ่ม “ดอกปีป”
document สรุป กิจกรรมการจัดเมนูอาหารและการสาธิตการจัดเมนูอาหาร ในโครงการ การสร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ลดพุง พิชิตโรค ของประชาชนวัยผู้ใหญ่ ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
document กิจกรรมประเมินพฤติกรรมการบริโภค และการออกกำลังกายคลายเครียด ใน โครงการ การสร้างเสริมสุขภาพ3อ. ลดพุง พิชิตโรค ของประชาชนวัยผู้ใหญ่ ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
document รายงานผลการดำเนินงานจัดการความรู้ของ “กลุ่มดอกปีป”รอบ 9 เดือน (ตุลาคม 2555 - มิถุนายน 2556) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556หน่วยงาน วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
document ประเด็นสำคัญของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
document เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "การจัดการความรู้ของวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ ปี 2556" ศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2556 ณ ห้อง Self study วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
document สรุปภาพรวมโดยสังเขป ของรายงานส่วนที่ ๒ ของ KM กลุ่มดอกปีป
document ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ :1.การบ่งชี้ความรู้ ระยะการสำรวจความรู้ ของกลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้1.การบ่งชี้ความรู้ ระยะการสำรวจความรู้ 1.1ขั้นตอนการสร้าง รูปแบบการบูรณาการ การวิจัย การเรียนการสอน และ การบริการวิชาการ ของกลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้:1.การบ่งชี้ความรู้ ระยะการสำรวจความรู้ :1.2 วิธีการจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้:1.การบ่งชี้ความรู้ ระยะการสำรวจความรู้ :1.3 การเขียนโครงการวิจัยเพื่อให้ได้รับทุน และ 1.4 การเขียนโครงการบริการวิชาการเพื่อให้ได้รับทุน : กลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้:1.การบ่งชี้ความรู้ ระยะการสำรวจ :1.5 การบริหารจัดการความรู้อย่างมืออาชีพ : กลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้:1.การบ่งชี้ความรู้ ระยะการสำรวจ:1.6 การเขียนแผนการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ : กลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ :1.การบ่งชี้ความรู้ ระยะการสำรวจ :1.7 วิธีการพัฒนาความร่วมมือ : กลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ :3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นระยะจัดเก็บและสังเคราะห์ :กลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ :4.การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ เป็นระยะจัดเก็บและสังเคราะห์ : กลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ :5.การเข้าถึงความรู้ &6.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ &7.การเรียนรู้ เป็นระยะการถ่ายทอด : กลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ