ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้:1.การบ่งชี้ความรู้ ระยะการสำรวจความรู้ :1.3 การเขียนโครงการวิจัยเพื่อให้ได้รับทุน และ 1.4 การเขียนโครงการบริการวิชาการเพื่อให้ได้รับทุน : กลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ

        
Views: 1363
Votes: 0
Comments: 0
Posted: 22 Aug, 2013
by: ช่วยทอง พ.ว.
Updated: 23 Aug, 2013
by: ช่วยทอง พ.ว.

1.3 การเขียนโครงการวิจัยเพื่อให้ได้รับทุน และ 1.4 การเขียนโครงการบริการวิชาการเพื่อให้ได้รับทุน 

องค์ความรู้ที่ได้รับจากการถอดบทเรียนในการดำเนินการจัดการความรู้  คือ

1.ทั้งโครงการวิจัยและโครงการบริการวิชาการ นั้นจำเป็นจะต้องเตรียมการเขียนรายละเอียดของโครงการเพื่อยื่นเสนอขอทุนไว้ล่วงหน้า ก่อนการกำหนดประกาศระยะเวลาให้ยื่นขอทุน  ดังนั้น การศึกษาเกี่ยวกับวันเวลา เพื่อวางแผนพัฒนาโครงร่าง การทำวิจัยแบบบูรณาการ การวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ ล่วงหน้า ให้ครอบคลุมประเด็นที่หน่วยงานสนับสนุนทุน กำหนดทั้งโครงการวิจัย และโครงการบริการวิชาการ เพื่อยื่นเสนอขอทุน จึงมีความสำคัญที่สุด เพราะทั้งโครงการวิจัย และโครงการบริการวิชาการ จะดำเนินการได้นั้น จะต้องได้รับงบประมาณสนับสนุนการทำงาน และในการยื่นเสนอขอทุนตามระบบ ทันตามกำหนดระยะเวลา และ ดำเนินการแก้ไขตามข้อแนะนำที่ได้รับจากผู้วิพากย์ทุน พร้อมยื่นทันตามกำหนดเวลาเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้ได้รับทุนสนับสนุน ตามรูปภาพที่ 6 ขั้นตอนการดำเนินการ การเสนอโครงการวิจัย และโครงการบริการวิชาการ

     ทั้งนี้ในการดำเนินงาน เพื่อให้ได้รับทุนสนับสนุนนั้น กลุ่มดอกปีป

ได้วางแผนพัฒนาโครงการวิจัยบูรณาการ การวิจัย การเรียนการสอน และบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการบริการวิชาการ ไว้อย่างดี จึงสามารถส่งตัวแทนของแต่ละกลุ่มวิชา เข้าร่วม “อบรมนักวิจัยรุ่นใหม่” ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดขึ้น ได้ทันเวลา ควบคู่กันไปกับการพัฒนาและส่งโครงการทั้ง 2 โครงการ ได้แก่ โครงการวิจัย และ โครงการบริการวิชาการ เพื่อขอทุนสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยส่งผ่านทางคณะ/วิทยาลัย เพื่อให้ผู้บังคับบัญชารับทราบ และ ผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัย ตามลำดับขั้นตอน


2.องค์ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ของการดำเนินงาน พัฒนาโครงการวิจัยและโครงการบริการวิชาการและการเบิกจ่ายงบประมาณ  จากการถอดบทเรียน

ในการดำเนินการ  ได้องค์ความรู้ว่าในการวางแผนการทำงานนั้น จำเป็นที่จะต้องวางแผนการทำงานอย่างรัดกุม ดังต่อไปนี้ คือ

 

1.การเขียนโครงการ    เนื่องจากเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ จึงมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเรื่องอื่นๆ ฉะนั้นจึงควรมีระบบพี่เลี้ยงเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ

2.การเบิกจ่ายงบประมาณ  ควรวางแผนอย่างรัดกุม  ทั้งนี้เนื่องจากในการดำเนินงานครั้งนี้ ได้รับงบประมาณจากมหาวิทยาลัย ทั้ง 2 โครงการ และวิธีการเบิกจ่ายงบประมาณของแต่ละโครงการจะแยกออกจากกัน และ พบว่า การเบิกจ่ายงบประมาณของโครงการบริการวิชาการนั้นมีข้อจำกัด ดังตัวอย่าง เช่น งบประมาณจะถูกปิดวันต่อวันของการให้บริการวิชาการ มีผลกระทบทางลบทำให้มีข้อจำกัดในการทำงาน เพราะบางครั้งไม่สามารถทำได้ทันภายในวันเดียวกันและไม่สามารถเบิกจ่ายได้อีกในวันถัดไป

      *ส่วนผลของการวิจัย ขณะนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนของการประมวลผลข้อมูล

 

Others in this Category
document ชื่อผู้ร่วมโครงการการจัดการความรู้ กลุ่มดอกปีบ ปี 2556
document ผลจาก การจัดการความรู้ของกลุ่มดอกปีป(Peep Flower KM ) : คุณค่าของสุนทรียสนทนา
document ภาพกิจกรรมบางส่วน ในการทำ KM กลุ่มดอกปีป
document สมาชิกกลุ่มดอกปีป กับ การใช้ web KM ของมหาวิทยาลัย
document รูปแบบการบูรณาการ "การวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ" เพื่อพัฒนาสุขภาวะ 3อ. ลดพุง พิชิตโรค ของประชาชนวัยผู้ใหญ่ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
document ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนามหาวิทยาลัย ชุมชน และประเทศชาติ แผนการจัดการความรู้ของ กลุ่ม “ดอกปีป”
document สรุป กิจกรรมการจัดเมนูอาหารและการสาธิตการจัดเมนูอาหาร ในโครงการ การสร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ลดพุง พิชิตโรค ของประชาชนวัยผู้ใหญ่ ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
document กิจกรรมประเมินพฤติกรรมการบริโภค และการออกกำลังกายคลายเครียด ใน โครงการ การสร้างเสริมสุขภาพ3อ. ลดพุง พิชิตโรค ของประชาชนวัยผู้ใหญ่ ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
document รายงานผลการดำเนินงานจัดการความรู้ของ “กลุ่มดอกปีป”รอบ 9 เดือน (ตุลาคม 2555 - มิถุนายน 2556) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556หน่วยงาน วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
document ประเด็นสำคัญของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
document เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "การจัดการความรู้ของวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ ปี 2556" ศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2556 ณ ห้อง Self study วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
document สรุปภาพรวมโดยสังเขป ของรายงานส่วนที่ ๒ ของ KM กลุ่มดอกปีป
document ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ :1.การบ่งชี้ความรู้ ระยะการสำรวจความรู้ ของกลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้1.การบ่งชี้ความรู้ ระยะการสำรวจความรู้ 1.1ขั้นตอนการสร้าง รูปแบบการบูรณาการ การวิจัย การเรียนการสอน และ การบริการวิชาการ ของกลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้:1.การบ่งชี้ความรู้ ระยะการสำรวจความรู้ :1.2 วิธีการจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้:1.การบ่งชี้ความรู้ ระยะการสำรวจ :1.5 การบริหารจัดการความรู้อย่างมืออาชีพ : กลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้:1.การบ่งชี้ความรู้ ระยะการสำรวจ:1.6 การเขียนแผนการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ : กลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ :1.การบ่งชี้ความรู้ ระยะการสำรวจ :1.7 วิธีการพัฒนาความร่วมมือ : กลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ :2.การสร้างและแสวงหาความรู้ เป็นระยะการรวบรวมและพัฒนา :กลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ :3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นระยะจัดเก็บและสังเคราะห์ :กลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ :4.การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ เป็นระยะจัดเก็บและสังเคราะห์ : กลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ :5.การเข้าถึงความรู้ &6.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ &7.การเรียนรู้ เป็นระยะการถ่ายทอด : กลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ