Email to friend
* Your name:
* Your email:
* Friend's email:
Comment:


PBL Driven อาจารย์พัทธนันท์ รัตนวรเศวต

เทคนิคการเรียนการสอนแบบ Project Base Learning: PBL
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
 
ผู้เขียนบทความ: อาจารย์พัทธนันท์ รัตนวรเศวต, อาจารย์มัทญา พัชนี
สาขาวิชา: ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ
การกำหนดเอกลักษณ์ PBL ของสาขาวิชา (เพื่อให้สาขาวิชารู้สึกเป็นเจ้าของ PBL)
          P = Physical Process
          B = Boundary of Economic Area
          L = Location Analysis 
 
รายวิชา
รายละเอียดรายวิชา
1. GEO1201 ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ Economic Geography 3(2-2-5)
ธรรมชาติรายวิชา (ให้ทำสัญลักษณ์ ü)
รายละเอียด
4
3
2
1
1.ท่องจำ
 
 
ü
 
2.ฝึกทักษะ
ü
 
 
 
3.การประยุกต์ศาสตร์อื่น
 
 
ü
 
4.เน้นประสบการณ์
 
ü
 
 
5.เน้นการคิด วเคราะห์ หาสาเหตุ
 
ü
 
 
 
วิธีการสอน
วิธีการสอนอื่นๆ และ/หรือใช้ PBL
กลุ่ม / ประเภทวิธีการสอน
1.การสอนโดยการบรรยายทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทำเลที่ตั้ง ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ และการแสดงความเป็นเหตุเป็นผลเพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ที่สัมพันธ์กับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
บรรยาย
2.การสอนโดยการฝึกปฏิบัติ โดยการให้นักศึกษาลงพื้นที่ภาคสนามในการเก็บข้อมูล นอกจากนี้นักศึกษาจะต้องทำการค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลอื่น ทำให้นักศึกาเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น
ฝึกปฏิบัติ
3.ให้นักศึกษาเขียนแบบเสนอโครงการ (Proposal) ซึ่งผู้สอนได้ทำการออกแบบไว้ รวมถึงแบบการประเมิงโครงงานด้วย ทำให้ผู้สอนมีทิศทางในการประเมินและทิศทางให้แก่นักศึกษาในการจัดทำโครงงาน  โดยนักศึกษาที่ทำการสอนเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1
การทำโครงงาน
 
ผลที่ได้รับ
ผลที่ได้รับ
กลุ่ม / ประเภทผลที่ได้รับ
1.นักศึกษาทราบและเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับทฤษฎีด้านทำเลที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่สัมพันธ์กับสภาพทางภูมิศาสตร์
ทราบ/เข้าใจ
2.นักศึกษาทราบและสามารถเก็บข้อมูลเบื้องต้นในพื้นที่ภาคสนามได้ ค้นคว้าหาข้อมูลประกอบการศึกษาได้
สามารถเก็บข้อมูลตัวอย่างเบื้องต้นและสืบค้นข้อมูลได้
3.นักศึกษาสามารถจัดทำโครงงาน ศึกษาวิเคราะห์สภาพทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ศึกษาที่ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยใช้ทฤษฎีและแนวทางการเก็บข้อมูลจากภาคบรรยายและปฏิบัติตามที่ได้เรียนรู้
สามารถวิเคราะห์ได้
 
ความเห็นอื่นๆ
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นให้นักศึกษาทำโครงงาน หรือ PBL นั้น ขอให้ความเห็นว่า ควรมีการจัดระดับของโครงงานในแต่ละชั้นปี เนื่องจาก แต่ละชั้นปีมีความแตกต่างกันในเรื่องของทักษะและความรู้ เช่น นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ควรมีการทำโครงงานที่มีความซับซ้อนและมีการจัดทำรายงานที่ตอบข้อคำถามหรือสมมติฐาน 5 บท ส่วนชั้นปีที่ 1 ควรมีการจัดทำโครงงานในรูปแบบของโครงร่างที่อาจารย์กำหนด ซึ่งมีข้อคำถามน้อยกว่าชั้นปีที่ 4