|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้กำหนดพันธกิจที่มุงผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ และมีคุณภาพในด้านธุรกิจระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมการบริการ และวิชาชีพเฉพาะทาง ดังนั้น นักศึกษาจะต้องมีความรู้ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ ในปีการศึกษา 2552 วิทยาลัยนานาชาติ ได้ศึกษาประสิทธิผลของการใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานควบคู่กับรูปแบบร่วมมือ (Problem-Based Learning and Cooperative Learning Model : PBL & CL) พบว่า ประสิทธิผลของการปฏิรูปการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานควบคู่กันไปกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นผลการเรียนรู้และผลผลิตที่เกิดขึ้นกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้แก่ ผู้สอน นักศึกษา ผู้บริหาร พนักงานสายสนับสนุนของวิทยาลัยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะผู้สอนเห็นความสำคัญของการใช้ PBL & CL ปรับปรุงการเรียนการสอนตามกรอบแนวคิดตามวงจรเดมมิ่ง P-D-C-A (Plan, Do, Check, Act) (กรองทอง ไคริรี, 2552, หน้า 21 – 38) ปีการศึกษา 2553 วิทยาลัยนานาชาติได้ศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบ PBL_CL เปรียบเทียบกับการเรียนการสอนแบบปกติ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติที่เรียนแบบ PBL & CL ดีขึ้นกว่าการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญ ที่ตลอดจนขีดความสามารถด้านภาษาอังกฤษดีขึ้นและมีทัศนคติในทางบวกต่อการจัดการเรียนการสอนที่ใช้รูปแบบ PBL & CL (กรองทอง ไคริรี, 2553, หน้า 27 – 45)
จากผลงานวิจัยดังกล่าว วิทยาลัยนานาชาติ ได้กำหนดนโยบายให้ผู้สอนจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้รูปแบบ PBL & CL และจัดตารางเรียนให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรม PBL & CL ตามรายวิชาต่าง ๆ (ดังภาคผนวก) นอกจากนั้น วิทยาลัยนานาชาติได้กำหนดนโยบาย การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน โดยเฉพาะการใช้โปรแกรม Moodle ในการจัดการเรียนรู้ แบบ e-learning ที่นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ผู้สอนทุกคนเป็นสมาชิกของชุมชนนักปฏิบัติที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
สมาชิกชุมชนนักปฏิบัติและบทบาทหน้าที่ของสมาชิก
|