องค์ความรู้ที่ได้

        
Views: 488
Votes: 0
Comments: 0
Posted: 26 Jul, 2013
by: สาครวรรณศักดิ์ ฝ.
Updated: 26 Jul, 2013
by: สาครวรรณศักดิ์ ฝ.
1. การวิจัยท้องถิ่น เป็นงานวิจัยที่ไม่มีระเบียบแบบแผนมากนัก อาจจะไม่ต้องใช้ระเบียบวิธีวิจัย เป็นเพียงแก้โจทย์ปัญหา คล้าย ๆ กับการทำ R2R เมื่อประมาณ 30 ปีก่อนนั้นยังไม่ยอมรับการทำวิจัยแบบนี้ ซึ่งในปี 1950 จึงได้มีการยอมรับว่าการทำวิจัยมีหลายแบบ ดังนั้น การทำวิจัยท้องถิ่นเป็นการวิจัยคล้ายๆกับเชิงมนุษย์ตวิทยา หรือวิจัยเชิงกรณีศึกษา เป็นรูปแบบของการวิจัยที่ใช้ในการแก้ปัญหามากกว่าที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่
2. ปัญหางานวิจัยท้องถิ่น เป็นสิ่งสำคัญในการทำวิจัยท้องถิ่น นั่นคือโจทย์ของงานวิจัย ได้แก่ ผู้ที่อยู่ในท้องถิ่น สภาพปัญหา ความต้องการ ซึ่งการที่จะได้โจทย์ปัญหาเรื่องงานวิจัยท้องถิ่นมานั้นผู้วิจัยต้องลงพื้นที่เพื่อศึกษาปัญหาของงานวิจัยนั้น
3. ผลที่เกิดจากการวิจัย เมื่อพบสภาพปัญหา ศึกษาปัญหาและหาวิธีการแก้ไข ก็จะได้คำตอบและค้นพบแนวทางตามวิธีของการทำวิจัย ยกตัวอย่าง เช่น งานวิจัยท้องถิ่นกรณีหมู่บ้านสามขา เป็นงานวิจัยที่ไม่มีระเบียบวิธีวิจัย แต่เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่แทรกอยู่ ปัญหาของการวิจัย คือ ปัญหาหนี้สินของชาวบ้านในหมู่บ้าน โดยนักวิจัยจะต้องเข้าไปพูดคุย สร้างความคุ้นเคยกับชาวบ้าน ซึ่งการวิเคราะห์ปัญหาทำโดยให้ชาวบ้านทำบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งผลสรุปว่า รายจ่ายของชาวบ้านมากกว่ารายรับ ซึ่งคนในชุมชนก็ได้ตระหนักถึงปัญหา และเกิดกระบวนการเรียนรู้ และในปัจจุบันหมู่บ้านนี้กลายเป็นหมู่บ้านที่เจริญมาก หรือในกรณีของตัวอย่างชุดโครงการวิจัยโรงเรียนต้นแบบในสมัยที่ยังเป็นสถาบันราชภัฏ ซึ่งมีโครงการย่อย 4 โครงการ มีสถาบันราชภัฏมาทำวิจัย 8 กลุ่ม ซึ่งสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา มี 4 ชุด ได้แก่ ชุดหลักสูตร ชุดการสอน ชุดบริหาร และชุดโรงเรียนเปิดสอน ส่วนในปัจจุบันชุดโครงการวิจัยที่เอาโรงเรียนเป็นตัวตั้งมีความคิดจากโรงเรียนต้นแบบของการบริหารยุทธศาสตร์การประกันคุณภาพการศึกษา เรื่องการเรียนการสอนในชั้นเรียน เรื่องศักยภาพของผู้เรียน การพัฒนานวัตกรรมการจัดโครงการพัฒนานักเรียน
4. เทคนิคการเขียนชุดโครงการเพื่อพัฒนางานวิจัยท้องถิ่นเชิงบูรณาการ มหาวิทยาลัยยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ เนื่องจากการบริหารงานวิจัยเป็นเรื่องยาก การที่จะเรียงร้อยโครงการวิจัยต่างๆ ให้เป็นชุดโครงการวิจัยจึงเป็นเรื่องยากในทางปฏิบัติ
5. การกำหนดโจทย์หรือประเด็นการวิจัย สิ่งที่ควรคำนึงถึง ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่11 (พ.ศ.2555 – 2559) 2) นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ(พ.ศ.2555-2559) 3) นโยบายรัฐบาล และ 4) ยุทธศาสตร์การวิจัยและภารกิจหลักของหน่วยงาน
Others in this Category
document ความเป็นมาและสมาชิกของชุมชนนักปฏิบัติ Crack Click KM
document หัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปฏิทินการดำเนินงานของชุมชนนักปฏิบัติ
document บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1
document บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2