เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย ชุดศิลปวัฒนธรรมกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อให้ได้รับทุน

        
Views: 1310
Votes: 0
Comments: 0
Posted: 17 Sep, 2012
by: บุญมา น.ม.
Updated: 17 Sep, 2012
by: บุญมา น.ม.

เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย ชุดศิลปวัฒนธรรมกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อให้ได้รับทุน

บทเรียนที่ได้จาการนำความรู้ไปปฏิบัติ (บันทึกเป็นภาพรวมของกลุ่ม) :
          -  นำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัย เพื่อให้ก่อเกิดองค์ความรู้ใหม่
         -  การเขียนข้อเสนองานวิจัยที่ดี ควรมีการทบทวนวรรณกรรมมากๆ 
         -  ความหลากหลายทางหลักวิทยาของแต่ละศาสตร์ ที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
         -  ในกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการในการเขียนข้อเสนอ ซึ่งทำให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น
         -  จากการปฏิบัติพบว่า อาจารย์ที่ได้รับการอบรมและได้รับคำปรึกษาประสบความสำเร็จในการเขียนข้อเสนอวิจัย เทคนิคการเขียนข้อเสนอวิจัยที่ได้รับตรงกับหลักของต่างประเทศ นอกจากนี้พบว่า หากข้อเสนอวิจัยมีการวางแผนที่ดี (กล่าวคือ มีความชัดเจน สั้นกระชับ มีหลักฐานทฤษฎีรองรับ) จะทำให้งานวิจัยในขั้นต่อไปดำเนินไปได้ด้วยดี ดังที่มีคำกล่าวว่า “การเริ่มต้นที่ดี ทำให้มีชัยไปกว่าครึ่ง” 
         -  1. การสังเคราะห์ข้อมูล การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิจัย 2. การเชื่อมโยงภูมิหลังสู่ความเป็นปัจจุบันและเป็นประโยชน์ในด้านการวางแผนอนาคต 3. นำประสบการณ์ที่ได้ไปสู่การฝึกฝนในด้านการสืบค้นการยอมรับในเหตุผลอย่างมีหลักฐานเชิงประจักษ์

แบบปฏิบัติที่ดี (ที่ได้จากการนำความรู้ไปปฏิบัติแล้วนำกลับมาแลกเปลี่ยนเพื่อหาแบบปฏิบัติที่ดี) : 
         -  การเตรียมตัวที่ดีจะทำให้เขียนข้อเสนองานวิจัยได้ดี
         -  พบว่า หากปฏิบัติตามคำแนะนำและเทคนิคที่ได้รับจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว เช่น เขียนให้มีความสอดคล้องกันในแต่ละส่วน มีการอ้างอิงที่ดี มีการอ้างอิงทฤษฎีต่างๆ ไม่เขียนเลื่อนลอย จะทำให้ข้อเสนอของผู้วิจัยมีน้ำหนักและประสบความสำเร็จในการเสนอขอทุนอุดหนุน
         -  1. การเคารพเวลาและความรับผิดชอบต่อผลการศึกษา 2. ที่ทัศนะที่กว้างไกลสามารถกำหนดแผนและมุมมองที่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาพื้นที่ศึกษา

องค์ความรู้ที่ได้
         เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย ชุดศิลปวัฒนธรรมกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อให้ได้รับทุน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
         1. สมาชิกชุมชนนักปฏิบัติให้ความร่วมมือ มีความมุ่งมั่นในการถ่ายทอดความรู้เป็นอย่างดี
         2. สมาชิกชุมชนนักปฏิบัติมีการทำงานร่วมกันเป็นทีม
         3. ผู้บริหารให้การสนับสนุนการในการจัดการความรู้เป็นอย่างดี
         4. อาจารย์ บุคลากร รวมถึงนักศึกษาให้ร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นอย่างดี

 

 

 

Others in this Category
document ที่มาของการตั้งกลุ่มและสมาชิกกลุ่ม