Email to friend
* Your name:
* Your email:
* Friend's email:
Comment:


การประชุมครั้งที่ 3 : อัตลักษณ์วังสวนสุนันทา

ความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์วังสวนสุนันทา
1. ประวัติของวังสวนสุนันทา
                ในปี พ.ศ. 2451พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่5)ทรงมีพระราชดำริ ให้สร้าง "สวนสุนันทา" ในพื้นที่วังสวนดุสิต เพื่อให้เป็นสวนป่าและเป็นราชอนุสรณ์ถึง สมเด็จ พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีซึ่งสิ้นพระชนม์พร้อมกับพระราชธิดา ด้วย อุปัทวะเหตุเรือล่ม ที่ตำบลบางพูดอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อ วันที่ 31พ.ศ. 2423ขณะนั้นทรงมี พระสิริชันษาเพียง 19ปี 6เดือน และยังทรงพระครรภ์อยู่ด้วย ยังความ ทุกข์โทมนัสให้แก่พระบรมราชสวามี ยิ่งนัก และเพื่อให้เป็นที่ประทับของพระมเหสีพระราชธิดารวมทั้งบริจาริกา เมื่อเปลี่ยนรัชกาล ของพระองค์แล้ว แต่ในปีพ.ศ. 2453รัชกาล ที่ 5ก็เสด็จสวรรคต การก่อสร้างต่าง ๆ ในวังสวนสุนันทาจึงยังไม่เสร็จ สมบูรณ์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ จนเสร็จเรียบร้อยในพ.ศ. 2466สวน สุนันทามีเนื้อที่ 122ไร่ ตกแต่งเป็น โขดเขาคูคลอง มีสวนพฤษชาติ และตำหนักซึ่งเป็นที่ประทับของพระมเหสี พระราชธิดา พระบรมวงศานุวงศ์ เจ้าจอมมารดาและเจ้าจอม ในรัชกาลที่ 5ทั้งสิ้น 32ตำหนัก ทุกตำหนักมีการปลูกไม้ดอกไม้ใบอย่างงดงาม มีรั้วไม้ ระแนงหรือ รั้วพู่ระหงษ์ กั้นพองามสามารถเดิน ติดต่อถึงกันได้

2. ประวัติพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
                สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี หรือที่ชาวบ้านเรียกพระนามว่า สมเด็จพระนางเรือล่ม (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 240331 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 ) มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 เป็นพระเจ้าลูกเธอรุ่นเล็ก ลำดับที่ 50 ในจำนวนทั้งหมด 82 พระองค์ โดยรับราชการฝ่ายในเป็นพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยพระขนิษฐาร่วมพระโสทรทั้ง 2 พระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) และ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)
                พระนางเธอ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุเรือพระประเทียบล่ม ณ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (ปัจจุบันนี้คือ วัดกู้)พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์ โสภางคทัศนิยลักษณ์ อัครวรราชกุมารี พระราชธิดา และพระราชบุตรในพระครรภ์ซึ่งยังไม่ทราบว่าเป็นพระราชโอรสหรือพระราชธิดาอีกด้วย ระหว่างการตามเสด็จฯพระบรมราชสวามีแปรพระราชฐานไปประทับยังพระราชวังบางปะอิน ภายหลังการสิ้นพระชนม์ ทรงได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ดำรงพระฐานันดรศักดิ์พระอัครมเหสีพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 3. เจ้านายที่เคยประทับในวังสวนสุนันทา
                จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง (2552 : 3) กล่าวถึงเจ้านายที่เคยประทับในวังสวนสุนันทา ไว้ดังนี้
                1) เจ้านายฝ่ายในในรัชกาลที่ 5 จำนวน 21 พระองค์ ประกอบด้วยพระภรรยาจำนวน 3 พระองค์ พระราชธิดาจำนวน 17 พระองค์ และพระเจ้าน้องนางเธอ จำนวน 1 พระองค์ ได้ทยอยเสด็จเข้าประทับ ณ ตำหนักในวังสวนสุนันทาตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาค 2462 และประทับอยู่ตลอดจนกระทั่งสิ้นพระชนม์หรือเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นในปี 2475 ที่ทำให้ทุกพระองค์เสด็จไปประทับ ณ ที่อื่นตามที่เห็นสมควร
                2) เจ้าจอมมารดาและเจ้าจอมจำนวน 13 ท่านได้ทยอยเข้าพำนักในวังสวนสุนันทา ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2462 และพำนักอยู่ตลอดจนถึงแก่อสัญกรรมหรือเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินในปี พ.ศ. 2475 ที่ทำให้ทุกท่านออกไปพำนัก ณ ที่อื่นตามที่เห็นสมควร

4. บทประพันธ์ร้อยแก้วร้อยกรอง 
                                                                                       หนุ่มเลือกสาว
                                                                                มู่ทู่หมูตอนหล่อนอ้วน
                                                                กะหร่องผอมโกร่งโครงรวน
                                                                หดห้วนเตี้ยต่ำตะแมะแคะ
                                                                สูงโปร่งโก้งเก้งเกะกะ
                                                                ดำมะเกลือเนื้อเหลือแตะ
                                                                ง่วงเหงาเจ่าจุกทุกข์แยะ
                                                                ปากแบะมุทะลุดุดัน
                                                                ทึกทึมซึมเซาเก่าสมัย
                                                                เกินใหม่หรูหราก๋ากั่น
                                                                หาจบไม่พอครบครัน
                                                                จำอั้นใจอดงดมีเมีย

5. มารยาท
                สุทธิลักษณ์ พิทักษ์วงศ์ (2552
: 97-99) ได้กล่าวถึงขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณีในวังสวนสุนันทาในเรื่อง การวางตนของสตรีชาววังไว้ดังนี้
1. ห้ามสตรีชาววังพูดคำว่า
ผัวหรือสามี
เพราะถือเป็นการกล่าวถ้อยคำที่ไม่สุภาพ
2. ความรักของสตรีชาววังที่ไม่ได้อนุญาตจากเจ้านายหรือผู้ใหญ่ ถือเป็นสิ่งต้องห้าม
3. ห้ามสตรีชาววังแอบรักกับชายหนุ่ม หากเรื่องราวความรักถูกเปิดเผยแล้วเจ้านายทรงทราบ จะถือเป็นความผิดร้ายแรงมาก สตรีต้องถูกไล่ออกจากวังให้คืนตัวกลับไปอยู่กับพ่อแม่ และผู้รู้เห็นอาจเดือดร้อนได้
4. ห้ามสตรีชาววังร้องเพลง เพราะถือเป็นการปฏิบัติตนไม่เหมาะสม

 6. การแต่งกาย
                สุทธิลักษณ์ พิทักษ์วงศ์ (2552
: 97) ได้กล่าวถึงการแต่งกายของบุคคลในวังสวนสุนันทา ดังนี้
1. การแต่งกายของเด็กผู้หญิงที่เป็นข้าหลวงรับใช้ในวังเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสาว จะต้องปฏิบัติตนตามแบบเดียวกัน คือ นุ่งผ้าโจงกระเบนเป็นผ้าลายหรือผ้าผื้น ใส่เสื้อคอกระเช้ามีลายลูกไม้ เสื้อนอกเป็นผ้าป่านสีขาว คอกลม และแขนกุด เพื่อให้รู้ว่าเป็นผู้ใหญ่แล้ว มองดูภูมิฐาน สุภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับวัย และสะดวกในการทำงานรับใช้
2. การแต่งกายของเด็กสาวในวังมีหลักการปฏิบัติตนที่ชัดเจน เพราะเด็กสาวที่ไม่มีประจำเดือนกับเด็กสาวที่มีประจำเดือนจะมีลักษณะเครื่องแต่งกายแตกต่างกัน เด็กสาวที่มีประจำเดือนเปลี่ยนจากการนุ่งผ้าซิ่นไหมมาเป็นการนุ่งโจงกระเบน เพื่อความคล่องตัวในการทำงานและความมิดชิดเรียบร้อยขณะมีรอบเดือน
3. ในวังห้ามบุคคลสวมกางเกง เพราะถือเป็นระเบียบการแต่งกายที่ไม่สุภาพเรียบร้อย เว้นเพียงแต่เจ้านายชั้นสูงระดับเจ้าฟ้าจะทรงสวมกางเกงขายาวสำหรับทรงกีฬาหรือโปรดอนุญาตให้บุคคลใดที่เล่นกีฬาด้วยเท่านั้น

7. ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณี
                สุทธิลักษณ์ พิทักษ์วงศ์ (2552
: 111) ได้กล่าวถึงประเพณีการยิงปืนอัตนา มีวัตถุประสงค์เพื่อขับไล่ผีในวังให้ไปอยู่ที่ป่า และยังแสดงให้เห็นการผสมผสานความเชื่อของไทยเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตนกับความเชื่อของพราหมณ์ที่ใช้สายสิญจน์ผูกข้อมือไว้เป็นเครื่องรางกันไม่ให้ถูกผีเข้าสิง ความฉลาดของคนสมัยก่อนที่คิดหาวิธีให้ผู้อยู่ในพิธีกรรมคลายความตื่นกลัวขณะมีการยิงปืนไล่ผี โดยให้ตั้งเครื่องสังเวยอาหาร การปิดประตูหน้าต่างอย่างมิดชิด และการท่องคาถา

8. อาหารการกิน
                เนื่อง นิลรัตน์, ม.ล. (2545
: 70) ได้กล่าวถึงเครื่องปรุงและวิธีทำแกงรัญจวน ไว้ดังนี้
                เครื่องปรุง
                เนื้อวัว น้ำพริกกะปิอย่างจิ้มผัก ตำไว้ถ้วยโตๆ ตะไคร้หั่นฝอย
                วิธีทำ
                ปอกหอมเล็ก ปอกกระเทียม ใช้ทั้งกลีบไม่ต้องหั่น
                ใส่ต้มรวมลงไปกับหม้อเนื้อ
                เนื่อเปื่อยดีแล้ว เทน้ำพริกกะปิรวมลงในหม้อ
                ชิมให้ได้ 3 รส เปรี้ยว เค็ม หวาน
                รสจัดๆ ได้ที่แล้ว ยกลง ใส่ใบโหระพา
                ไม่เปรี้ยว-บีบมะนาวเติม ต้องกินร้อนโฉ่
                ถ้าไม่กินเนื้อ จะแกงด้วยหมู ไก่ กุ้ง ย่อมได้