เรื่องเล่าจาก ผศ.สุปราณี วัฒนสิน "ฐานข้อมูล"

        
Views: 1155
Votes: 30
Comments: 1
Posted: 29 Aug, 2012
by: อาภาผล อ.ว.
Updated: 29 Aug, 2012
by: อาภาผล อ.ว.

                   วันก่อนอ่านข้อความจากอินเตอร์เน็ต  เขาบอกว่าการทำผลงานทางวิชาการไม่ใช่เรื่องยากหากแต่คุณครูทุกท่าน ทำตามสิ่งต่อไปนี้

คุณครู...ตั้งใจฝักใฝ่สั่งสอนศิษย์อย่างเต็มที่  ทั้งแรงกาย  แรงใจและแรงสมอง

                   คุณครู...ศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ วิทยาการใหม่ๆ มาใช้

                   คุณครู...เก็บรวมรวมวิทยาการต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบ

                   คุณครู...มีการทดลอง  ทดสอบ  ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการสอนเกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่ทำการสอน

*************************************************************************

มาทำความเข้าใจในฐานข้อมูลกันหน่อยดีกว่านะคะ

ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระบบงานต่าง ๆ ร่วมกันได้ โดยที่จะไม่เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และยังสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลด้วย อีกทั้งข้อมูลในระบบก็จะถูกต้องเชื่อถือได้ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจะมีการกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลขึ้น

นับได้ว่าปัจจุบันเป็นยุคของสารสนเทศ เป็นที่ยอมรับกันว่า สารสนเทศเป็นข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองอย่างเหมาะสม สามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้งานด้านธุรกิจ การบริหาร และกิจการอื่น ๆ องค์กรที่มีข้อมูลปริมาณมาก ๆ จะพบความยุ่งยากลำบากในการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนการนำข้อมูลที่ต้องการออกมาใช้ให้ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล ซึ่งทำให้ระบบการจัดเก็บข้อมูลเป็นไปได้สะดวก ทั้งนี้โปรแกรมแต่ละโปรแกรมจะต้องสร้างวิธีควบคุมและจัดการกับข้อมูลขึ้นเอง ฐานข้อมูลจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้คอมพิวเตอร์ การออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูล จึงต้องคำนึงถึงการควบคุมและการจัดการความถูกต้องตลอดจนประสิทธิภาพในการเรียกใช้ข้อมูลด้วย

ความสำคัญของการประมวลผลแบบระบบฐานข้อมูล

จากการจัดเก็บข้อมูลรวมเป็นฐานข้อมูลจะก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้

1. สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้

การเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่ ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน (Redundancy) ดังนั้นการนำข้อมูลมารวมเก็บไว้ในฐานข้อมูล จะชาวยลดปัญหาการเกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ โดยระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS) จะช่วยควบคุมความซ้ำซ้อนได้ เนื่องจากระบบจัดการฐานข้อมูลจะทราบได้ตลอดเวลาว่ามีข้อมูลซ้ำซ้อนกันอยู่ที่ใดบ้าง

2. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้

หากมีการเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่และมีการปรับปรุงข้อมูลเดียวกันนี้ แต่ปรับปรุงไม่ครบทุกที่ที่มีข้อมูลเก็บอยู่ก็จะทำให้เกิดปัญหาข้อมูลชนิดเดียวกัน อาจมีค่าไม่เหมือนกันในแต่ละที่ที่เก็บข้อมูลอยู่ จึงก่อใให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลขึ้น (Inconsistency)

3. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้

ฐานข้อมูลจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลที่มาจากแฟ้มข้อมูลต่างๆ ก็จะทำได้โดยง่าย

4. สามารถรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล

บางครั้งพบว่าการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น จากการที่ผู้ป้อนข้อมูลป้อนข้อมูลผิดพลาดคือป้อนจากตัวเลขหนึ่งไปเป็นอีกตัวเลขหนึ่ง โดยเฉพาะกรณีมีผู้ใช้หลายคนต้องใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลร่วมกัน หากผู้ใช้คนใดคนหนึ่งแก้ไขข้อมูลผิดพลาดก็ทำให้ผู้อื่นได้รับผลกระทบตามไปด้วย ในระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) จะสามารถใส่กฎเกณฑ์เพื่อควบคุมความผิดพลาดที่เกดขึ้น

5. สามารถกำหนดความป็นมาตรฐานเดียวกันของข้อมูลได้

การเก็บข้อมูลร่วมกันไว้ในฐานข้อมูลจะทำให้สามารถกำหนดมาตรฐานของข้อมูลได้รวมทั้งมาตรฐานต่าง ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันได้ เช่นการกำหนดรูปแบบการเขียนวันที่ ในลักษณะ วัน/เดือน/ปี หรือ ปี/เดือน/วัน ทั้งนี้จะมีผู้ที่คอยบริหารฐานข้อมูลที่เราเรียกว่า ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) เป็นผู้กำหนดมาตรฐานต่างๆ

6. สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้

ระบบความปลอดภัยในที่นี้ เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิมาใช้ หรือมาเห็นข้อมูลบางอย่างในระบบ ผู้บริหารฐานข้อมูลจะสามารถกำหนดระดับการเรียกใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนได้ตามความเหมาะสม

7. เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล

ในระบบฐานข้อมูลจะมีตัวจัดการฐานข้อมูลที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล โปรแกรมต่าง ๆ อาจไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างข้อมูลทุกครั้ง ดังนั้นการแก้ไขข้อมูลบางครั้ง จึงอาจกระทำเฉพาะกับโปรแกรมที่เรียกใช้ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น ส่วนโปรแกรมที่ไม่ได้เรียกใช้ข้อมูลดังกล่าว ก็จะเป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลง

Showing: 1-1 of 1  
Comments
01 Sep, 2012   |  surasit
น่าสนใจดีครับ อ.นก

Others in this Category
document ความเป็นมาของชุมชนนักปฏิบัติ
document จากใจให้น้อง
document เริ่มต้นกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
document แบ่งปันความรู้ ... ตัวอย่าง Format การพิมพ์ผลงาน
document ถอดความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจาก รศ.ประดับ จันทร์สุขศรี
document แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
document ถอดความรู้จากการอบรมการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์
document บันทึกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องเล่าจาก อ.วิชชา สันทนาประสิทธิ์
document องค์ความรู้ที่ได้รับ...ผลงานวิชาการบทที่ 1 อ.วิภาณี แม้นอินทร์
document องค์ความรู้ที่ได้รับ...ผลงานวิชาการบทที่ 1 อ.เรวดี ไวยวาสนา
document องค์ความรู้ที่ได้รับ...ผลงานวิชาการบทที่ 1 อ.ธนิต พฤกธรา
document เรื่องเล่าจาก ผศ.สุปราณี วัฒนสิน "ตำ่ราและหนังสือ"
document องค์ความรู้ที่ได้รับ...ผลงานวิชาการบทที่ 1 อ.ชิโนรส ถิ่นวิไลสกุล
document "การอ้างอิง" ทำไมต้องอ้าง...อ้างอย่างไร 1
document "เราสร้างการเรียนรู้หรือถอดบทเรียนจากสิ่งที่ทำ" ได้จริงหรือ: กรณีศึกษาการสร้าง format พิมพ์ผลงานวิชาการ
document "การอ้างอิง" ทำไมต้องอ้าง...อ้างอย่างไร 2
document ฝากไว้...ด้วยใจจริง
document เอกสาร ตำรา และหนังสือระดับคุณภาพ เอกสาร ตำรา และหนังสือระดับคุณภาพ