|
||
ความหมาย
น้ำทิพย์ วิภาวิน ซึ่งได้ให้ความหมายของห้องสมุดมีชีวิตไว้ว่า ห้องสมุดมีชีวิตนั้น เป็นห้องสมุดที่มีชีวิตชีวาสามารถเคลื่อนไหวได้ กล่าวอีกนัยคือ ต้องไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ ทั้งนี้เพื่อผู้ใช้อยากจะมาใช้บริการห้องสมุดตลอดเวลา
วัตถุประสงค์
1. มีสารสนเทศ เป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้บริการ
2. ผู้ใช้บริการและผู้บริการ มีความสุข
3.มีความสนุก สะดวก สบาย ในการใช้ห้องสมุด 4. มีความใกล้ชิดกับชุมชน องค์ประกอบ ดร.สิริกร มณีรินทร์ ประธานคณะกรรมการสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของห้องสมุดมีชีวิตไว้ดังนี้
องค์ประกอบด้านกายภาพ คือ การออกแบบตกแต่งสถานที่ให้มีความทันสมัย ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนที่การคมนาคมสะดวก ปลอดภัย และมีพื้นที่ใช้สอยไม่น้อยกว่า 1,000ตารางเมตร
องค์ประกอบด้านสาระและกิจกรรม นอกจากหนังสือแล้วยังต้องมีสื่อการเรียนรู้อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ซีดี อินเทอร์เน็ต ออนไลน์ e-library เพื่อสนองความต้องการการเรียนรู้ของเยาวชนเป็นหลัก
องค์ประกอบด้านการบริหารจัดการ ต้องประกอบด้วยบุคคลหลากหลายสาขาอาชีพ ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ปราชญ์ท้องถิ่น และเครือข่ายเยาวชน ร่วมกันกำหนดทิศทางการทำงานและประสานความร่วมมือเพื่อเติมสีสันให้ห้องสมุดมีชีวิต
ศาสตร์ที่นำมาประยุกต์ใช้
ศาสตร์ทุกศาสตร์สามารถนำมาประยุกต์ใช้สร้างห้องสมุดมีชีวิตได้ อาทิ สถาปัตยกรรม (ใช้ในการออกแบบห้องสมุดมีชีวิต), จิตวิทยา (ใช้ในการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ภายในห้องสมุดมีชีวิต), การบริหารธุรกิจ (ใช้ในการวางแผนการบริหารห้องสมุดมีชีวิตให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ) เป็นต้น
ประโยชน์ ทำให้เกิดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตสำหรับชุมชนทุกระดับ ที่ทำให้ผู้ใช้ “เพลิน (plearn)” คือได้ทั้ง play และ learn Living Library คือ การจัดหาหนังสือที่ทันสมัยและสามารถต่อเข้าอินเตอร์เน็ตได้ โดยเน้นการบริการ วัสดุ ห้องสมุดที่หลากหลายรูปแบบใหม่ทันสมัย มีคุณค่าต่อผู้ใช้บริการมากที่สุด เช่น จัดพิพิธภัณฑ์ในพื้นที่ที่ใกล้เคียงหรืออาคารเดียวกับห้องสมุดให้ผู้ใช้บริการพึงพอใจกลับมาใช้บริการประจำ ที่สำคัญคือให้ผู้ใช้บริการทำสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในด้านการศึกษาค้นคว้า เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม หรือด้านอื่นๆ โดยมีจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ ต้องการให้สังคมที่ใช้ความรู้เป็นพื้นฐาน(KNOWLEDGE BASED SOCIETY) ในการประยุกต์พัฒนาระบบงานต่างๆ
แนวทางการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต แนวทางการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต
1. นโยบายรัฐ/องค์กร
2. การหลอมรวมความรู้ ประสบการณ์ แรงบันดาลใจและความมุ่นมั่น 3. การวิจัย 4. การศึกษาดูงาน เพื่อเทียบรอย (Benchmarking) ความสัมพันธ์และความแตกต่างระหว่างห้องสมุดมีชีวิตกับห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์/ดิจิทัล ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง แหล่งที่รวมความรู้จำนวนมหาศาลที่จัดการระบบงานห้องสมุด โดยเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (server) และให้บริการข้อมูล ผ่านเครือข่าย อินเตอร์เน็ต ซึ่งครอบคลุมถึงห้องสมุดดิจิตอล (Digital library) ที่จัดการและให้บริการข้อมูลเป็นเอกสารฉบับเต็ม (Full-text)ในรูปแบบดิจิตอลและห้องสมุดเสมือน (Virtual library) ที่รวมข้อมูลจากแหล่งความรู้ทั่วโลก และให้บริการเชื่อมโยงข้อมูล ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กล่าวได้ว่า ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์อาจคลอบคลุมห้องสมุดดิจิทัลและห้องสมุดเสมือนนั่นเอง
ห้องสมุดดิจิตอล หรือ Digital Library หมายถึงห้องสมุดที่มีการจัดเตรียมทรัพยากร รวมทั้งบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษเพื่อให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่อยู่ในรูปดิจิตอล
ห้องสมุดมีชีวิต หมายถึง ห้องสมุดที่มีการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศให้ทันสมัยครบถ้วน สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และสร้างนิสัยรักการอ่านยั่งยืนสำหรับทุกเพศทุกวัย ด้วยบรรยากาศที่มีชีวิตชีวา มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเรียนรู้ สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีบริการและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
จากความหมายของทั้งสามคำข้างต้น จึงสรุปได้ว่าห้องสมุดมีชีวิตจะต้องมีความเป็นห้องสมุดดิจิทัลและห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์พร้อมๆ กันไปด้วย
|