เกริ่นนำ : ความทันสมัยที่ไม่ทอดทิ้งอ้ตลักษณ์ของตัวตน

        
Views: 2846
Votes: 2
Comments: 0
Posted: 28 Aug, 2012
by: ภอกฉัตร น.ส.
Updated: 03 Sep, 2012
by: ภอกฉัตร น.ส.

                           หากจะเปรียบสิ่งก่อสร้างบนโลกใบนี้กับคนบนโลกใบนี้แล้ว แต่ละสิ่งก่อสร้างหรือแต่ละคนย่อมจะต้องมีความแตกต่างกันไม่มาก็น้อย ยกตัวอย่างเช่น คนไทยหน้าตาไม่เหมือนคนแอฟริกาเลย (สาวไทยบางคนเจอคนแอฟริกาก็บอกว่าไม่ชอบ บางคนก็บอกว่าเป็นสเป๊ก ตามแต่ความคิดของแต่ละคน) คนยุโรปเขาบอกว่าเป็นประเทศพัฒนา สภาพตึกของเขาก็ดูทันสมัย แต่พอคนยุโรปมาเห็นวังไทย บางคนก็บอกว่าสวยงาม Amazing ก็แสดงว่าความทันสมัยในนิยามของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน แต่ที่แน่ๆ ก็คือหากสิ่งนั้นไม่เหมือนกับที่เขาเคยพบเคยเห็นแล้ว เขาก็จะบอกตัวเองว่า แปลกตาดีส่งผลให้เกิดความประทับใจได้มากกว่าสิ่งที่เคยเห็นเป็นประจำนั้นเอง วันนี้ก็เลยจะนำภาพตึกบางตึกบนโลกเรา ที่สะท้อนความเป็นตัวตนของชาตินั้นๆ ได้ เพื่อให้เห็นว่าความทันสมัยที่สามารถสะท้อนความเป็นตนเองยังได้รับความสำคัญบนโลกใบนี้นั้นเอง  

                                                                                                                 
                          โรงอาบน้ำวิคตอเรีย (
Victoria Baths) อาคารทรงเอ็ดวาร์เดียน บนถนน  Hathersage Road ภายในบริเวณ Victoria Park ซึ่งเป็นที่อยู่ของ Victoria Baths เป็นประดุจอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมอันทรงค่าของแมนเชสเตอร์ โรงอาบน้ำแสนสวยที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวแมนเชสเตอร์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1906


                          
                       รัฐสลังงอ ประเทศมาเลเซีย ถ้าตึกแฝดเปโตรนาสเป็นสัญญลักษณ์ของ KLในวันนี้ยอดโดมบนหอนาฬิกาสูง 40 เมตร เหนืออาคารสุลต่านอับดุลซามัด ก็คือสัญญลักษณ์ของKLสมัยอาณานิคมผู้ปกครองชาวอังกฤษต้องการหว่านเมล็ดพันธ์ของอารยธรรมแบบยุโรปในKL และมอบหมายให้สถาปนิกแอนโทนี นอร์มัน(AnthonyNorman)ออกแบบอาคารศูนย์กลางการปกครองของอาณานิคมตอนแรกนอร์มันเสนอแบบอาคารทรงนีโอคลาสสิคเรอเนสซองซ์ที่เป็นยุโรป แต่ถูกติงว่ามันควรสะท้อนศรัทธาในศาสนาอิสลามของชาวมาเลย์สักหน่อย นอร์มันจึงจัดแจงเสริมโดมหัวหอม ระเบียงเสาและรายละเอียดอื่นๆที่หยิบยืมจากอินเดียเข้าไปให้อาคารสื่อถึงความเป็นตะวันออก ตึกอีกหลายแห่งที่สร้างขึ้นในสมัยอาณานิคมก็ได้อิทธิพลการผสมผสานตามแบบอาคารสุลต่านอับดุลซามัด จนกลายมาเป็นความโดดเด่นของ KL


 
                            
                         อาคารทำการวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่ถูกออกแบบโดยผสมผสานอัตลักษณ์ความเป็นมลายูของประชาชนในพื้นที่ของที่ตั้งวิทยาเขตปัตตานี ในรูปมีการนำโดมและลวดลายแบบอาหรับมาตกแต่งให้เข้ากับสภาพของตึกที่มีความทันสมัยในตัวเองได้เป็นอย่างดี จึงทำให้อาคารมีความโดดเด่นในอีกรูปแบบหนึ่ง    
    
                                                  
                                                                                              
                          พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง เป็นสถาปัตยกรรมที่มีการผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมยุโรป โดยตัวอาคารพระที่นั่งมีรูปแบบสถาปัตยกรรมยุโรป แต่หลังคาพระที่นั่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมไทย

                     ศาลาประชาคมเมืองฮะโคะดะเตะหลังเก่า ประเทศญี่ปุ่น เดิมเป็นอาคารแบบตะวันตกสะท้อน สถาปัตยกรรมในยุคล่าอณานิคม แต่ประสบกับไฟไหมครั้งใหญ่ ทำให้ต้องสร้างขึ้นใหม่ในสมัยเมจิ กลายเป็นอาคารไม้ในรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันตกกับญี่ปุ่น สวยคลาสสิคด้วยผนังสีฟ้าอมเทาตัดกับสีเหลือง เห็นสะดุดตาแต่ไกล ภายในงดงามด้วยหินอ่อนประดับโคมระย้า บนชั้นสองมีห้องบรรทมของสมเด็จพระจักรพรรดิ์ไทโฌที่เคยเสด็จมาประทับด้วย

 

 


 

 

 

Others in this Category
document ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนนักปฏิบัติ
document ส่วนที่ 2 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ
document บันทึกกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2-6
document ส่วนที่ 3 สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
document ภาพกิจกรรมการศึกษาดูงานสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ราชภัฏสวนดุสิต (กลุ่มที่ 1)
document แนวคิดห้องสมุดมีชีวิตตามอัตลักษณ์วังสวนสุนันทา
document ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนนักปฏิบัติ
document ปฏิทินการดำเนินงานของชุมชนนักปฏิบัติ กลุ่มความรู้การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
document บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1
document บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2
document บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 3
document บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 4
document ภาพบางส่วนจากกิจกรรมจากการแลกเปล๊่ยนเรียนรู้คั้งที่ 2
document บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 6
document การวิเคราะห์ความเป็นห้องสมุดมีชีวิตตามอัตลักษณ์วังสวนสุนันทารายบุคคล (การนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์)
document การนำความรู้ที่ได้ไปใช้
document องค์ความรู้ที่ได้รับ
document ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
document บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 5
document ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานจัดการความรู้ของกลุ่ม
document ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของกลุ่มครั้งต่อไป
document การประชุมครั้งที่ 2 : หัวข้อห้องสมุดมีชีวิต
document เอกสารประกอบการประชุมครั้งที่ 2 : ห้องสมุดมีชีวิต
document ภาพห้องสมุดมีชีวิตภายในและต่างประเทศ
document แบบปฏิบัติที่ดีของการพัฒนาความเป็นห้องสมุดมีชีวิตตามอัตลักษณ์วังสวนสุนันทา
document การประชุมครั้งที่ 3 : อัตลักษณ์วังสวนสุนันทา
document องค์ความรู้ที่ได้ จากการจัดการความรู้ กลุ่มการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สวนสุนันทา