|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานการประชุม การจัดการความรู้ สถาบันวิจัยและพัฒนา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555
ครั้งที่ 1/2555
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2555
ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา
____________________________________________________________________________
ผู้มาประชุม
เริ่มประชุมเวลา 16.15 น.
เรื่องที่ 1 ชี้แจงการจัดการความรู้ KM สถาบันวิจัยและพัฒนา ประจำปีงบประมาณ 2555
หัวหน้าสำนักงานสถาบันวิจัยและพัฒนาชี้แจงผลสรุปกลุ่มความรู้ตามแผนการจัดการความรู้ มี 7 แผน ทั้งหมด 50 กลุ่มความรู้ คือ กลุ่มความรู้ที่ดำเนินงานตามองค์ความรู้ที่มหาวิทยาลัยกำหนด จำนวน 31 กลุ่ม และกลุ่มความรู้ที่ดำเนินการนอกเหนือจากที่มหาวิทยาลัยกำหนด จำนวน 19 กลุ่ม
สถาบันวิจัยและพัฒนาเลือกเป็นหน่วยงานดำเนินการ แผนที่ 1 บริหารจัดการเชิงคุณภาพ องค์ความรู้ที่หน่วยงานเลือกดำเนินการนอกเหนือจากมหาวิทยาลัย ในหัวข้อกลุ่มเทคนิคการให้บริการ smile service และได้รับเป็นหน่วยงานเจ้าภาพและหน่วยงานดำเนินการ แผนที่ 4 วิจัยและสร้างองค์ความรู้ องค์ความรู้ระดับมหาวิทยาลัย ในหัวข้อ เทคนิคการเขียนชุดโครงการวิจัยศิลปวัฒนธรรมกรุงรัตนโกสินทร์
ที่ประชุม รับทราบ
เรื่องที่ 2 กำหนดกลุ่มความรู้ตามแผนการจัดการความรู้
หัวหน้าสำนักงานสถาบันวิจัยและพัฒนาแจ้งต่อที่ประชุม : สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้จัดทำแผนการจัดการความรู้ แผนที่ 1 บริหารจัดการเชิงคุณภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 กลุ่มเทคนิคการให้บริการ smile service และแผนที่ 4 วิจัยและสร้างองค์ความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 เทคนิคการเขียนชุดโครงการวิจัยศิลปวัฒนธรรมกรุงรัตนโกสินทร์
ที่ประชุม รับทราบ
เรื่องที่ 3 การดำเนินงานของหน่วยงานเจ้าภาพ/กรอบกิจกรรมกลุ่ม
หัวหน้าสำนักงานสถาบันวิจัยและพัฒนาแจ้งต่อที่ประชุมเกี่ยวกับการดำเนินงานของหน่วยงานเจ้าภาพดังนี้
กิจกรรมของกลุ่มความรู้ ดังนี้
1. ตั้งชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) และกำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิก
2. กำหนดหัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ต้องมีความรู้เรื่องอะไร มีความรู้เรื่องนั้นหรือยัง) ของกลุ่ม
3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (แบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ)
4. นำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปปฏิบัติ
5. นำบทเรียนที่ได้จากการนำความรู้ไปปฏิบัติมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และหาแบบปฏิบัติที่ดี
6. แบ่งปันความรู้
7. บันทึกความรู้ในคลังความรู้ของหน่วยงาน
ที่ประชุม รับทราบ
เรื่องที่ 4 นิยามศัพท์ การจัดการความรู้
หัวหน้าสำนักงานสถาบันวิจัยและพัฒนาอธิบายความหมาย นิยามศัพท์ ดังนี้
ความรู้ หมายถึง สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิดเปรียบเทียบเชื่อมโยงกับความรู้อื่นจนเกิดเป็นความเข้าใจ และนำไปใช้ประโยชน์ในการสรุปและการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ โดยไม่จำกัดช่วงเวลา ความรู้มี 2 ประเภท คือ 1) ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge 20%) เป็นความรู้ที่ได้จากการเรียน การอ่าน ตำรา 2) ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge 80 %) ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์ หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน หรือการคิดเชิงวิเคราะห์
การจัดการความรู้ หมายถึง การจัดการเพื่อเอื้อให้เกิดความรู้ใหม่ โดยใช้ความรู้ที่มีอยู่ ประสบการณ์ของคนในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาแลกเปลี่ยน สกัด รวบรวม และจัดเก็บให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กร สามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หมายถึง การที่กลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน มารวมตัวกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยความสมัครใจ เพื่อร่วมสร้างความเข้าใจหรือพัฒนาแนวปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ องค์ประกอบหลักที่สำคัญๆ ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) มีอยู่ด้วยกัน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) คน (People) ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นแหล่งศูนย์รวมของความรู้ที่สมควรนำออกมาแบ่งปันเป็นอย่างยิ่ง โดยก็ควรจะเป็นคนที่มีความรู้จากการปฏิบัติจริง และอยากจะมาแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้นั้น ด้วยความเต็มใจ 2) สถานที่ และบรรยากาศ (Place) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่จะทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีชีวิตชีวาและน่าสนใจ เพราะสถานที่และบรรยากาศที่ดี (สบายๆผ่อนคลาย) มีความเหมาะสมกับแต่ละกลุ่มคน จะทำให้คนเหล่านั้นมาเจอกันพูดคุย ปรึกษา วิเคราะห์ปัญหา แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างสบายใจ 3) สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ (Infrastructure) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ช่วยให้การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดได้ง่ายและสะดวกขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์สำหรับการสรุปและจัดเก็บความรู้รวมถึงการแบ่งปัน (Share) หรือการส่งต่อข้อมูลการกระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่หรือเรียนรู้ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรโดยผ่านกระบวนการต่างๆ เป็นต้น
องค์ความรู้ หมายถึง ความรู้ในการทำบางสิ่งบางอย่าง (Know how หรือ how to) ซึ่งเกิดมาจากประสบการณ์ หรือเกิดจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ที่ได้จาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีลักษณะเฉพาะกลุ่ม โดยความรู้ที่เกิดขึ้นผู้รับสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง หรือสามารถนำมาปรับใช้ได้ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์หรืองานที่กระทำอยู่
คลังความรู้ หมายถึง การจัดเก็บความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไว้อย่างเป็นระบบ ได้แก่ 1) บันทึกความรู้รูปแบบต่างๆ (ลงเว็บ เอกสาร วารสาร แฟ้ม) 2) บันทึกเป็นกรณี (จัดทำเป็นกรณีศึกษาเพื่อคนรุ่นต่อไปใช้วิเคราะห์ เรียนรู้) 3) บันทึกเป็นผังและคู่มือปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure - SOP) 4) บันทึกเป็นทำเนียบผู้รู้ 5) บันทึกเป็นฐานความรู้แบบต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงความรู้ โดยนำระบบสารสนเทศมาช่วยในการจัดเก็บ
คุณเอื้อ (Chief Knowledge Officer - CKO) หมายถึง ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ทำหน้าที่จัดการระบบของการจัดการความรู้ขององค์กร เป็นผู้กำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้ ขององค์กร หน้าที่สำคัญที่สุดของ “คุณเอื้อ” ก็คือ ทำให้การจัดการความรู้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานตามปกติขององค์กร ทำให้มีการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นวัฒนธรรมแนวราบ เปิดโอกาสให้ทุกคนในองค์กรได้เป็นผู้นำ ในการพัฒนาวิธีทำงานในหน้าที่ของตนและนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน สร้างวัฒนธรรมของการเอื้ออาทรและแบ่งปันความรู้ หากุศโลบายทำให้ความสำเร็จของการจัดการความรู้ในบางหน่วยงานขององค์กรระบาดไปยังส่วนอื่น ๆ ขององค์กร
ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice - CoP) หมายถึง การรวมตัวของกลุ่มคนที่มีความรู้ความสนใจในเรื่องเดียวกัน มาร่วมแลกเปลี่ยน แบ่งปัน เรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ร่วมกัน เพื่อได้มาซึ่งองค์ความรู้ แล้วนำไปทดลองใช้ พร้อมทั้งนำผลที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก อันส่งผลให้ความรู้นั้น ๆ ถูกยกระดับขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านการปฏิบัติ ประยุกต์ และปรับใช้ตามแต่สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่หลากหลาย อันทำให้งานบรรลุผลดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยในชุมชนนักปฏิบัติมีการกำหนดบทบาทของสมาชิกในชุมชน ดังนี้
1. คุณอำนวย (Knowledge Facilitator) หมายถึง ผู้ขับเคลื่อนผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อำนวยความสะดวกต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นผู้ประสานเชื่อมโยงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเชื่อมระหว่าง ผู้มีความรู้หรือประสบการณ์กับ ผู้ต้องการเรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
2. คุณกิจ (Knowledge Practitioner) หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องการการจัดการความรู้ ทำหน้าที่ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยร่วมกันดำเนินการค้นหาความรู้ภายในกลุ่ม ดำเนินการเสาะหาความรู้จากภายนอกมาประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการทำงาน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทำให้ได้ความรู้ใหม่ จดบันทึกไว้ใช้งาน และหมุนเวียนเรื่อยไปเป็นวงจรไม่รู้จบ
3. คุณลิขิต (Note Taker) หมายถึง ผู้ทำหน้าที่จดบันทึก ในกิจกรรมจัดการความรู้ โดยอาจทำหน้าที่เป็นการเฉพาะกิจ ระยะยาว หรือกึ่งถาวร ในการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ของกลุ่ม
4. คุณประสาน (Knowledge Manager) หมายถึง ผู้ทำหน้าที่ประสานงานเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างองค์กร หรือระหว่างหน่วยงาน
5. คุณวิศาสตร์ (IT Wizard) หมายถึง ผู้ออกแบบระบบไอที ให้เหมาะสมกับความต้องการของทักษะในการใช้เครื่องมือด้านไอทีของกลุ่ม “คุณกิจ”
เรื่องเล่า (Storytelling) หมายถึงการบอกเล่าวิธีทำงานที่เคยทำและเกิดผลสำเร็จ โดยเล่าเป็นเรื่องสั้นๆ มีชื่อเรื่อง ความนำ วิธีการปฏิบัติที่เป็นเคล็ดลับและผลที่เกิดขึ้น โดยเรื่องที่นำมาเล่าต้องเป็นเรื่องที่เกิดจริง
ถอดบทเรียน (lesson Learned) หมายถึง การถอดความรู้และวิธีการทำงานจากกิจกรรมหรือ โครงการที่ทำไป ทั้งความสำเร็จและส่วนที่ต้องปรับปรุง บันทึกไว้ เพื่อเป็นประสบการณ์องค์กรและใช้เพื่อการทำงานในครั้งต่อไปให้ดีขึ้น
เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer assist) หมายถึง กลุ่มปฏิบัติงานเริ่มต้นทำงานใหม่และขอคำปรึกษาจากกลุ่มที่เคยทำงานนั้นมาแล้วจนจบกิจกรรม/โครงการ
สัมภาษณ์ผู้รู้ (Interview) หมายถึง การสอบถามถามผู้รู้หรือผู้ชำนาญการในเรื่องที่เราต้องการความรู้ เพื่อนำไปประยุกต์ในการทำงาน
การชี้แนะ (Coaching) หมายถึง การให้ผู้ชำนาญการรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน กระตุ้นให้คิดหาทางแก้ไขจนถึงเป้าหมายที่ต้องการ
สภากาแฟ (Knowledge café) หมายถึงการจัดมุมสังสรรค์ให้กลุ่มผู้ทำงานมาพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมความคิด ทำงาน โดยบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ
นำสิ่งดีมาต่อยอดปรับใช้ (Adapted Best practice) หมายถึง ศึกษาแบบปฏิบัติที่เป็นเลิศในงานนั้นๆแล้วนำมาปรับ ประยุกต์หรือต่อยอดกับงานของเรา
ที่ประชุม รับทราบ
เรื่องที่ 5 การกำหนดกลุ่มความรู้ หัวข้อแลกเปลี่ยน และบทบาทหน้าที่ของสมาชิกกลุ่มความรู้
สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ในแผนการจัดการความรู้ แผนที่ 1 บริหารจัดการเชิงคุณภาพ และได้ร่วมกับกำหนดกลุ่มความรู้ หัวข้อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยให้สมาชิกร่วมเสนอชื่อและโหวดชื่อกลุ่มตามประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการให้บริการ ซึ่งผลการโหวดมีมติเป็นเอกฉันท์ ในการกำหนดกลุ่มความรู้ ชื่อกลุ่ม Smile ranger ขบวนการยิ้มแฉ่ง โดยมีหัวข้อแลกเปลี่ยนเรื่อง เทคนิคการให้บริการ Smile Service จากนั้นได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิก ดังนี้
ที่ประชุม รับทราบ
เลิกประชุมเวลา 19.55 น.
(นางสาวณัฐชา วัฒนประภา)
ผู้จดรายงานการประชุม
ภาพการประชุมการจัดการความรู้สถาบันวิจัยครั้งที่ 1
|