|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ส่วนที่ 2 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ 1. หัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ 1. บทบาทของอาจารย์และนักศึกษาในการสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตแก่เด็กก่อนวัยเรียน ในชุมชน 2. รูปแบบ/แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตแก่เด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนโดยอาสาสมัครชุมชน
ปฏิทินการดำเนินงานของชุมชนนักปฏิบัติ (ต่อ)
3. กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “บทบาทของอาจารย์และนักศึกษาในการ สร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชน” ใช้วิธี story telling แลกเปลี่ยนประสบการณ์และระดมสมอง โดยคุณอำนวยสร้างบรรยากาศความเป็นมิตร เปิดโอกาสให้ อาจารย์ที่มีประสบการณ์น้อยที่สุดพูดก่อน มีการชื่นชมและให้กำลังใจ บทบาทหน้าที่ของอาจารย์ในการสอนภาคปฏิบัติและการให้บริการวิชาการในชุมชนแก่นักศึกษา รวมทั้งเทคนิคการสอนที่ได้รับความสำเร็จ และคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ เรื่อง 1. “บทบาทของอาจารย์และนักศึกษาในการ สร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตเด็กวัยก่อนเรียน ในชุมชน” 2. “เทคนิคการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : สอนอย่างไรให้นักศึกษาสามารถ สร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตแก่เด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนได้อย่างมีคุณภาพ” 3. “รูปแบบ/แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตแก่เด็กก่อนวัยเรียนในชุมชน”
ใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ประกอบการบรรยายพร้อมวีดิทัศน์กิจกรรมการบริการวิชาการ โดยคุณอำนวยสร้างบรรยากาศให้เกิดความผ่อนคลาย จัดบรรยากาศของการประชุมให้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของอาจารย์กลุ่มการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช และกลุ่มการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นเกี่ยวกับบทบาทอาจารย์ เพื่อให้ได้ข้อสรุปบทบาทอาจารย์ และที่ประชุมพิจารณาร่างแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. ความรู้ที่ได้ 1. บทบาทของอาจารย์และนักศึกษาในการ สร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตเด็กวัยก่อนเรียนในชุมชน 2. เทคนิคการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : สอนอย่างไรให้นักศึกษาสามารถ สร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตแก่เด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนได้อย่างมีคุณภาพ ขั้นตอนในการเตรียมงาน การอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจวัตถุประสงค์ของการจัดเวที วิธีการให้คำแนะนำแก่นักศึกษา 3. แนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. เรื่อง ถอดบทเรียนจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้วิธีถอดบทเรียน (After action review) เพื่อสาธิตวิธีการถอดบทเรียนให้สมาชิกได้รับประสบการณ์ตรง โดยจัดขึ้นหลังจากจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักศึกษา คุณอำนวยให้ผู้ที่มีอาวุโสน้อยที่สุดเป็นผู้ที่พูดคนแรก โดยเริ่มจากวัตถุประสงค์ของการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่ามีสิ่งใดไม่เป็นไปตามความคาดหวัง และหากจะจัดอีกครั้งควรมีการปรับปรุงอย่างไร 2. ได้บทเรียนการจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อาจารย์และนักศึกษา ความรู้เชิงประจักษ์ รูปแบบ/แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพกายและจิตในชุมชน และสิ่งที่ควรปรับปรุงในการจัดเวทีครั้งต่อไป โดยวางแผนจะนำไปปรับเพื่อให้ชุมชนสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง โดยวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นสถาบันพี่เลี้ยงในการดำเนินการในปีการศึกษาต่อไป ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ : นำเทคนิคการถอดบทเรียนไปใช้ในการจัดการความรู้ของนักศึกษา ขั้นตอนในการเตรียมงาน การอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจวัตถุประสงค์ของการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีการให้คำแนะนำแก่นักศึกษา 5. บทเรียนที่ได้จากการนำความรู้ไปปฏิบัติและแบบปฏิบัติที่ดี บทเรียนที่ได้จากการนำความรู้ไปปฏิบัติ (บันทึกเป็นภาพรวมของกลุ่ม) การจัดกิจกรรมโครงการบริการวิชาการการสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตแก่เด็กก่อนวัยเรียน ในชุมชน ของอาจารย์และนักศึกษาครั้งนี้เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดบรรยากาศของการประชุมให้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันแสดงความคิดเห็น มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการพัฒนาวิธีการในการทำงานร่วมกันให้มีความสุข มีความสามัคคีในการทำงาน จะสามารถทำให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ ประสบความสำเร็จ ทำห้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง |