แนวคิดห้องสมุดมีชีวิตตามอัตลักษณ์วังสวนสุนันทา

        
Views: 1035
Votes: 3
Comments: 0
Posted: 22 Aug, 2012
by: ภอกฉัตร น.ส.
Updated: 03 Sep, 2012
by: ภอกฉัตร น.ส.
รายละเอียดมาตรฐานและตัวชี้วัดการดำเนินงานตามแนวคิดห้องสมุดมีชีวิตตามอัตลักษณ์วังสวนสุนันทา
(ประยุกต์จากรายละเอียดมาตรฐานและตัวชี้วัดการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิตรูปแบบอุทยานการเรียนรู้ TKPARK)
            มาตรฐานและตัวชี้วัดการดำเนินงานตามแนวคิดห้องสมุดมีชีวิตตามอัตลักษณ์วังสวนสุนันทา มี 5 มาตรฐาน 21 ประเด็นย่อย 100 ตัวชี้วัด ดังรายละเอียดต่อไปนี้
                มาตรฐานที่ 1 ด้านกายภาพ มี 4 ประเด็นย่อย จำนวน 18 ตัวชี้วัด
                1.1 ความสะดวกในเข้าถึงและการใช้บริการ
                                1.1.1 ที่ตั้งอยู่ในย่านชุมชน
                                1.1.2 การคมนาคมสะดวก มีรถประจำทาง/บริการสาธารณะผ่าน
                                1.1.3 ตั้งอยู่ในส่วนกลางหรือวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
                                1.1.4 ป้ายบอกทางหรือการสื่อสารชัดเจน ให้สามารถเข้าถึงห้องสมุดได้
                1.2 การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมภายใน
                                1.2.1 บรรยากาศผ่อนคลาย อบอุ่น เป็นกันเอง
                                1.2.2 สภาพแวดล้อมภายในปลอดโปร่งและสะอาดตา
                                1.2.3 การจัดระบบแสงสว่างคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน
                                1.2.4 ระบบการถ่ายเทอากาศดี
                                1.2.5 การมองเห็นกันได้อย่างทั่วถึง
                                1.2.6 ผสมผสาน สะท้อนอัตลักษณ์วังสวนสุนันทา เช่น นำวัตถุสิ่งของหรือพืชพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับสวนสุนันทามาประดับ
                                1.2.7 มีการคำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์วังสวนสุนันทาของผู้ใช้บริการ
                1.3 การจัดสภาพแวดล้อมภายนอก
                                1.3.1 การออกแบบตกแต่งสร้างสรรค์
                                1.3.2 สะอาด สวยงาม เชิญชวนให้เข้าใช้บริการ
                                1.3.3 ผสมผสาน สะท้อนอัตลักษณ์วังสวนสุนันทา
                                1.3.4 โต๊ะ เก้าอี้ ชั้นหนังสือสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย
                                1.3.5 การออกแบบพื้นที่เอื้ออำนวยในการใช้บริการสำหรับผู้พิการ
                1.4 การจัดแบ่งพื้นที่ใช้สอย (
Zoning) สอดคล้องกับพฤติกรรมความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย การใช้งานและลักษณะการให้บริการ
                                1.4.1 การจัดแบ่งพื้นที่ตามกลุ่มอายุหรือระดับการศึกษา
                                1.4.2 การจัดแบ่งพื้นที่เอนกประสงค์สอดคล้องกับการให้บริการ
                                1.4.3 การจัดแบ่งพื้นที่เอนกประสงค์สอดคล้องกับพฤติกรรมและความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย
                                1.4.4 การออกแบบพื้นที่สะดวกต่อการใช้บริการ
            1.5 การบริหารความเสี่ยงจากภัยพิบัติต่างๆ
                                1.5.1 การออกแบบทางกายภาพต้องคำนึงเรื่องการป้องกันความเสียหายจากภัยพิบัติต่างๆ อาทิ อุทกภัย เป็นต้น
                มาตรฐานที่ 2 ด้านสาระและกิจกรรม มี 3 ประเด็นย่อย จำนวน 19 ตัวชี้วัด
                ด้านสาระ
                                2.1.1 สื่อการเรียนรู้มีหลากหลายรูปแบบทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
                                2.1.2 สื่อการเรียนรู้มีเนื้อหาหลายหลายประเภททั้งวิชาการ สารคดี และบันเทิงคดี
                                2.1.3 สื่อการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย
                                2.1.4 สื่อการเรียนรู้มีเนื้อหาส่งเสริมการเรียนรู้
                                2.1.5 สื่อการเรียนรู้สอดคล้องและเกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์วังสวนสุนันทา
                                2.1.6 สื่อการเรียนรู้อยู่ในความสนใจและสอดคล้องกับสภาวการณ์ของสังคม
                                2.1.7 สื่อการเรียนรู้จัดหมวดหมู่อย่างเป็นระบบสะดวกต่อการใช้บริการ
                                2.1.8 เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเข้าถึง/สืบค้นทรัพยากรสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้
                                2.1.9 สื่อการเรียนรู้มีการบำรุงรักษาให้พร้อมใช้งาน
                                2.1.10 สื่อการเรียนรู้มีการพัฒนาไปสู่ ความเป็น
ทรัพยากรสารสนเทศมีชีวิต
                ด้านกิจกรรม
            2.2 ความหลากหลายและเนื้อหาของกิจกรรมที่จัด
                                2.2.1 กิจกรรมที่จัดมีความหลากหลาย
                                2.2.2 การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
                                2.2.3 การจัดกิจกรรมส่งเสริมอัตลักษณ์วังสวนสุนันทา
                                2.2.4 การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะชีวิต
                                2.2.5 การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
                                2.2.6 การจัดกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าและเรียนรู้เพิ่มเติมผ่านหนังสือและสื่อการเรียนรู้อื่นๆ
                                2.2.7 การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เสนอกระบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงด้วยการปฏิบัติ
                2.3 ความต่อเนื่องและครอบคลุมของกิจกรรมที่จัด
                                2.3.1 การจัดกิจกรรมดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
                                2.3.2 การจัดกิจกรรมครอบคลุมทุกกลุ่มผู้ใช้บริการ
                                2.3.3 การจัดกิจกรรมสำหรับกลุ่มเป้าหมายทั้งผู้ใช้และผู้ยังไม่เคยใช้บริการห้องสมุด
                มาตรฐานที่ 3 ด้านการบริการ มี 2 ประเด็นย่อย จำนวน 10 ตัวชี้วัด
                3.1 การจัดบริการเชิงรุกถึงกลุ่มเป้าหมาย
                                3.1.1 การจัดระบบบริการที่เอื้อต่อการใช้บริการด้วยตนเอง
                                3.1.2 การจัดบริการเชิงรุกถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งผู้ใช้และผู้ยังไม่เคยใช้บริการ
                                3.1.3 การจัดบริการสอดคล้องกับความต้องการและแสดงความเอื้ออาทรต่อผู้ใช้
                3.2 ความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อคุณภาพการบริการ
                                3.2.1 ความสะดวก รวดเร็วในการรับบริการ
                                3.2.2 การได้รับบริการตรงกับความต้องการ
                                3.2.3 การได้รับบริการที่เชื่อถือได้
                                3.2.4 ความเอื้ออาทรของผู้ให้บริการ
                                3.2.5 ความสามารถในกรตอบคำถามและให้คำแนะนำของผู้ให้บริการ
                                3.2.6 ความเพียงพอของสื่อการเรียนรู้ที่มีให้บริการ
                                3.2.7 ความทันสมัยของสื่อการเรียนรู้ที่มีให้บริการ
                มาตรฐานที่ 4 ด้านบุคลากร มี 5 ประเด็นย่อย จำนวน 29 ตัวชี้วัด
                ด้านผู้บริหาร
                4.1 วิสัยทัศน์และภาวะผู้นำ
                                4.1.1 ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
                                4.1.2 ผู้นำเชิงกลยุทธ์
                                4.1.3 ความคิดสร้างสรรค์
                                4.1.4 ความสามารถในการตัดสินใจ
                                4.1.5 วิสัยทัศน์ทางด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการจัดกระบวนการเรียนรู้
                        4.1.6 การเป็นผู้ชำนาญในอัตลักษณ์วังสวนสุนันทา
                4.2 การเป็นนักจัดการและนักประสานงาน
                                4.2.1 ความสามารถในการวางแผนกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์
                                4.2.2 ความสามารถในการบริหารจัดการองค์กรและบุคลากร
                                4.2.3 ความสามารถในการสื่อสารภายในองค์กร
                                4.2.4 ความสามารถในการสื่อสารภายนอกองค์กร
                                4.2.5 ความสามารถในการประสานงานและทำงานร่วมกับบุคคลและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
                                4.2.6 ใจกว้าง ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
                ด้านผู้ปฏิบัติงาน
                4.3 ความรู้ ความคิดและความเข้าใจเกี่ยวกับห้องสมุดมีชีวิต
                                4.3.1 นิสัยรักการอ่านและใฝ่รู้
                                4.3.2 ความคิดสร้างสรรค์
                                4.3.3 ความคิดเชิงวิเคราะห์
                                4.3.4 ความเข้าใจแนวคิด หลักการและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับห้องสมุดมีชีวิต
                                4.3.5 การเป็นผู้ชำนาญในอัตลักษณ์วังสวนสุนันทา
                4.4 ด้านเจตคติ
                                4.4.1 จิตบริการ
                                4.4.2 มนุษยสัมพันธ์
                                4.4.3 เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ
                                4.4.4 การรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
                                4.4.5 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้ร่วมงานและบุคคลอื่น (KM)
                4.5 ด้านทักษะ
                                4.5.1 ทักษะการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
                                4.5.2 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                                4.5.3 ทักษะการสื่อสาร
                                4.5.4 ทักษะการประชาสัมพันธ์เชิงรุก
                                4.5.5 ทักษะการแก้ปัญหา / การจัดการปัญหา
                                4.5.6 ทักษะการทำงานได้หลายด้าน
                                4.5.7 ทักษะการประสานงาน
                                4.5.8 ทักษะการทำงานเป็นทีม
                                4.5.9 การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
                        4.5.10 การประยุกต์ใช้ศาสตร์ต่างๆ ในการดำเนินงานห้องสมุด
                มาตรฐานที่ 5 ด้านการบริหารจัดการ มี 7 ประเด็นย่อย จำนวน 24 ตัวชี้วัด
                5.1 แผนพัฒนาห้องสมุดมีความชัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
                                5.1.1 แผนพัฒนาห้องสมุดสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ หรือนโยบายของต้นสังกัด
                                5.1.2 แผนพัฒนาห้องสมุดมีความชัดเจน
                                5.1.3 แผนพัฒนาห้องสมุดสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
                5.2 การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ ผู้มีส่วนส่วนเสีย และชุมชน
                                5.2.1 ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการวางแผน การบริหารจัดการหรือดำเนินงานห้องสมุด
                                5.2.2 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการบริหารจัดการหรือดำเนินงานห้องสมุด
                                5.2.3 กิจกรรมที่ผู้ใช้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือชุมชนร่วมกันจัดเพื่อพัฒนาห้องสมุด
                5.3 การสร้างเครือข่าย
                                5.3.1 การสร้างเครือข่ายห้องสมุดอย่างเป็นทางการ
                                5.3.2 การสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการ
                                5.3.3 การสร้างและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายกลุ่มสมาชิก / ผู้ใช้บริการ
                                5.3.4 กิจกรรมร่วมกับเครือข่ายห้องสมุด เครือข่ายหน่วยงานอื่นๆ และเครือข่ายสมาชิก
                5.4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการ การบริการและการเข้าถึงข้อมูลของห้องสมุด
                                5.4.1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการของผู้บริหาร / ผู้ปฏิบัติงาน
                                5.4.2 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริการผู้ใช้ของผู้ปฏิบัติงาน
                                5.4.3 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารและประชาสัมพันธ์
                                5.4.4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการใช้บริการด้วยตนเอง
                5.5 การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ถึงกลุ่มเป้าหมาย
                                5.5.1 การสื่อสารชัดเจน
                                5.5.2 การสื่อสารมีหลากหลายช่องทาง
                                5.5.3 การประชาสัมพันธ์เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
                                5.5.4 การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อที่หลายหลาย
                5.6 สถิติการใช้บริการและการเข้าร่วมกิจกรรม
                                5.6.1 ผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา
                                5.6.2 การใช้บริการเพิ่มขึ้น
                                5.6.3 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา
                                5.6.4 สื่อการเรียนรู้เพิ่มขึ้นเมื่อเปียบเทียบกับปีที่ผ่านมา
                5.7 การประเมินผลการบริหารจัดการและการดำเนินการห้องสมุดมีชีวิต
                                5.7.1 รายงานสรุปผลการดำเนินงานตามแผน
                                5.7.2 การนำสถิติ และผลสรุปการดำเนินงานมาใช้ในการวางแผนและพัฒนางาน
Others in this Category
document ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนนักปฏิบัติ
document ส่วนที่ 2 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ
document บันทึกกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2-6
document ส่วนที่ 3 สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
document ภาพกิจกรรมการศึกษาดูงานสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ราชภัฏสวนดุสิต (กลุ่มที่ 1)
document ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนนักปฏิบัติ
document ปฏิทินการดำเนินงานของชุมชนนักปฏิบัติ กลุ่มความรู้การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
document บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1
document บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2
document บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 3
document บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 4
document ภาพบางส่วนจากกิจกรรมจากการแลกเปล๊่ยนเรียนรู้คั้งที่ 2
document บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 6
document การวิเคราะห์ความเป็นห้องสมุดมีชีวิตตามอัตลักษณ์วังสวนสุนันทารายบุคคล (การนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์)
document การนำความรู้ที่ได้ไปใช้
document องค์ความรู้ที่ได้รับ
document ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
document บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 5
document ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานจัดการความรู้ของกลุ่ม
document ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของกลุ่มครั้งต่อไป
document เกริ่นนำ : ความทันสมัยที่ไม่ทอดทิ้งอ้ตลักษณ์ของตัวตน
document การประชุมครั้งที่ 2 : หัวข้อห้องสมุดมีชีวิต
document เอกสารประกอบการประชุมครั้งที่ 2 : ห้องสมุดมีชีวิต
document ภาพห้องสมุดมีชีวิตภายในและต่างประเทศ
document แบบปฏิบัติที่ดีของการพัฒนาความเป็นห้องสมุดมีชีวิตตามอัตลักษณ์วังสวนสุนันทา
document การประชุมครั้งที่ 3 : อัตลักษณ์วังสวนสุนันทา
document องค์ความรู้ที่ได้ จากการจัดการความรู้ กลุ่มการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สวนสุนันทา