|
||
ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่ม
การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์รายบุคคล เรื่อง : แนวทางในการส่งเสริมการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ผู้บันทึก : นางสาวยุวดี วังคีรี ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ : 1. นำความรู้ที่ได้มาเป็นแนวทางในปฏิบัติเพื่อไม่ให้ประพฤติผิดจรรยาบรรณ 2. ปฏิบัติงานได้ถูกต้องไม่ผิดจรรยาบรรณ วิธีการนำไปใช้ประโยชน์ : 1. เผยแพร่ให้เพื่อนร่วมงานได้รับทราบ ประโยชน์ที่ได้รับ : 1. ได้รับความรู้ในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพมากขึ้น 2. ได้รับความรู้ในเรื่องแนวทางการส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม : สมาชิกกลุ่มควรมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากขึ้น เพื่อให้ได้ ผู้บันทึก : นางสาวบุศรา ศรีกระหนก ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ : ใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยวิธีการจัดการะประชุมเสวนาแบบมีทิศทาง คือ มีการกำหนดหัวข้อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีวิทยากรอธิบายถึงคู่มือจรรยาบรรณของมหาวิทยาลัย เพื่อให้สมาชิกทราบถึงจรรยาบรรณและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ ของมหาวิทยาลัย วิธีการนำไปใช้ประโยชน์ : ทราบถึงจรรยาบรรณ ของมหาวิทยาลัย เป็นอย่างดีและสามารถแนะนำ ผู้อื่นได้ถูกต้อง ประโยชน์ที่ได้รับ : เป็นเส้นทางในการปฏิบัติให้ถูกต้องจรรยาบรรณของมหาวิทยาลัย และสมาชิกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลุ่มบริหารงานบุคคล ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม : เรื่องของจรรยาบรรณ ทุกคนทราบกันอยู่แล้ว แต่ไม่ใส่ใจ และขาดวินัยในการปฏิบัติตาม จรรยาบรรณของมาวิทยาลัย ผู้บันทึก : นายนัฐพล สารัตน์ ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ : การปฏิบัติตนในการครองตน ครองงาน ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต วิธีการนำไปใช้ประโยชน์ : การปฏิบัติหน้าที่ได้รับมอบหมายและรับผิดชอบด้วยถูกความถูกต้องของระเบียบ กฎเกณฑ์ ทีกำหนดและตามจารีตที่ดีงามขององค์การ สังคมปฏิบัติมา ประโยชน์ที่ได้รับ : ทำให้ตนเองไม่สร้างปัญหาเพิ่มเติมให้สังคม องค์กรและทำให้สังคมในการทำงานและองค์กรน่าอยู่ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม : ทำความดีต่อไปเท่าที่เราทำได้ ผู้บันทึก : นายยงยุทธ กิจสันทัด ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ : - นำความรู้ที่ได้รับเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อไม่ผิดจรรยาบรรณ วิธีการนำไปใช้ประโยชน์ : - เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับจรรยาบรรณทางเว็ปไซต์ e-office และแผ่นพับ - คณะจัดทำประกาศจรรยาบรรณ คณะวิทยาการจัดการ เพื่อกระตุ้มให้บุคลากรได้รับทราบถึงจรรยาบรรณ ประโยชน์ที่ได้รับ : - บุคลากรได้ปฏิบัติตามจรรยาบรรณและเข้าใจถึงจรรยาบรรณเพิ่มมากยิ่งขึ้น - บุคลากรทราบถึงข้อบังคับและปฏิบัติตามจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม : - บุคลากรควรศึกษาและปฏิบัติตามจรรยาบรรณอย่างสม่ำเสมอ ผู้บันทึก : นางสาวดวง อรุณสวัสดิ์ ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ : นำมาใช้กับการทำงานในมหาวิทยาลัยเพื่อเตือนตนเองไม่ให้กระทำผิดจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ วิธีการนำไปใช้ประโยชน์ : ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความซื่อสัตย์ เต็มกำลังความสามารถ ไม่ล่วงละเมิด เสรีภาพของผู้อื่น อุทิศตนและเวลาให้เป็นประโยชน์แก่มหาวิทยาลัย ไม่แสวงหาประโยชน์ให้ตนเอง ประโยชน์ที่ได้รับ : มีความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ต่อมหาวิทยาลัยและการปฏิบัติงาน ต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ประพฤติผิดต่อจรรยาบรรณ เพื่อนร่วมงาน นักเรียนนักศึกษา ประชาชนและสังคมและย้ำเตือนตนเองให้ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม : ควรจัดกิจกรรมให้บุคลากรตระหนักที่จะปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และให้ความสำคัญต่อ จรรยาบรรณวิชาชีพของตนเอง ผู้บันทึก : นางสาวธัญญภรณ์ บัวทอง ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ : - ดูแลเอาใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชา - รับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา - มีน้ำใจ มีมนุษยสัมพันธ์ - มีความซื่อสัตย์สุจริต วิธีการนำไปใช้ประโยชน์ : แสดงให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดีตามจรรยาบรรณ - อุทิศตนและเวลาให้มหาวิทยาลัย - ไม่แสวงหาประโยชน์ให้แก่ตน ประโยชน์ที่ได้รับ : - ทำให้อดทนอดกลั้น เสียสละ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม : - ผู้บันทึก : คุณอาภากร เวชพราหมณ์ ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ : - นำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนในการประกอบวิชาชีพ วิธีการนำไปใช้ประโยชน์ : - ปฏิบัติตาม เป็นทัศนคติในการปฏิบัติตนในการประกอบวิชาชีพ ประโยชน์ที่ได้รับ : - ต่อวิชาชีพ คือ ธำรงไว้ซึ่งความดีงามของวิชาชีพ - ต่อตนเอง คือ ปฏิบัติงานในวิชาชีพได้เป็นอย่างดี ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม : ผู้บันทึก : นางสาวหัสทยา นวลสุวรรณ ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ : สามารถนําความรู้ด้านจรรยาบรรณที่ได้รับไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม กับหน้าที่ความรับผิดชอบ วิธีการนำไปใช้ประโยชน์ : 1.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีการให้อาจารย์และบุคลากรยึดถือและปฏิบัติตามจรรณยาบรรณบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เมื่อมารายงานตัวปฏิบัติงานจะให้พนักงานทุกระดับลงนามไว้เพื่อยึดถือเป็นแนวปฏิบัติโดยทั่วกัน 2.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้นำเอาแนวปฏิบัติจากคู่มือการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในด้านการปฏิบัติตามจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด สำหรับแนวทางการป้องกันทางคณะมนุษยศาสตร์ฯ ได้มีการส่งเสริมให้บุคลากรได้มีการเข้าร่วมอบรมคุณธรรมและจริยธรรมโดยสม่ำเสมอ 3.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีการจัดทำคู่มือจรรยาบรรณของคณะเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรของคณะทราบ ประโยชน์ที่ได้รับ : เข้าใจอย่างชัดเจนในมาตรฐานการดำเนินงานและวิธีปฏิบัติงานประจำวันที่ถูกต้อง ไม่เกิดความสับสน มีความมั่นใจ ได้รับการปฏิบัติที่เสมอภาค และได้รับความไว้วางใจ ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย ทำงานด้วยความสบายใจ มีความภาคภูมิใจ ในการทำงาน และในส่วนตัว ของการเป็นผู้มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม : ช่องทางในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรรับทราบเรื่องจรรณยาบรรณ ควรมีความหลากหลาย ซึ่งอาจจัดเป็นกิจกรรมหรือสื่อที่สามารถทำให้บุคลากรเข้าใจในจรรยาบรรณมากขึ้น ผู้บันทึก : นางสาวฐิตารีย์ จิตรประทุม ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ : - ทำให้ทราบถึงข้อควรปฏิบัติในการปฏิบัติราชการที่ถูกต้อง หรือในกรณีที่กระทำความผิดทางวินัย ก็ทำให้ทราบถึงวิธีการดำเนินการทางวินัยตามกฏหมาย ข้อบังคับ หรือระเบียบที่ว่าด้วยการบริหาร งานบุคคลซึ่งใช้บังคับกับบุคลากรประเภทนั้นๆ วิธีการนำไปใช้ประโยชน์ : - ศึกษาจากคู่มือจรรยาบรรณ มรภ.สส. ให้เกิดความเข้าใจแล้วนำไปเผยแพร่ในองค์กรให้เกิด ประโยชน์ เพื่อพร้อมที่จะนำไปปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน ประโยชน์ที่ได้รับ : - เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีความประพฤติดี สำนึกในหน้าที่การปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล อันจะเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา และเป็นที่ยกย่องของบุคคลทั่วไป ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม : - ผู้บันทึก : น.ส. ปิยะรัตน์ เศวตะดูล ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ : - จรรยาบรรณต่อตนเอง - จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ - จรรยาบรรณต่อมหาวิทยาลัยและการปฏิบัติงาน - จรรยาบรรณต่อต่อผู้บังคับบัญชา - จรรยาบรรณต่อผู้ใต้บังคับบัญชา - จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน วิธีการนำไปใช้ประโยชน์ : - ขณะปฏิบัติหน้าที่ในเวลาราชการ ประโยชน์ที่ได้รับ : - มีทัศนคติที่ดี - มีจิตสำนึกที่ดี - มีศิลธรรมอันดี - มีความอดทนอดกลั้น - มีความสุภาพ อ่อนโยน สัมมาคารวะ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม : - ผู้บันทึก : นายวิชา ขันดำ ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ : มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมงานและองค์กร วิธีการนำไปใช้ประโยชน์ : มีความอดทนอดกลั้นเสียสละและรับผิดชอบงานที่ปฏิบัติ ประโยชน์ที่ได้รับ : มีความสุขในการทำงาน ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม : จรรยาบรรณอยู่ที่บุคคลแล้วแต่ว่าใครจะนำไปใช้ ผู้บันทึก : นายสิทธิชัย กฤษจำนงค์ ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ : หลักจรรยาบรรณในการปฏิบัติงาน วิธีการนำไปใช้ประโยชน์ : นำไปปฏิบัติในการดำเนินงานต่าง ๆ ประโยชน์ที่ได้รับ : ทำให้ตนเองมีความรับผิดชอบ รักต่องาน ซื่อสัตย์ และยึดหลัก “ธรรมาภิบาล” เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม : - ผู้บันทึก : น.ส. กมลทิพย์ สัตบุษ ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ : นำความรู้ที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อไม่ให้ผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ วิธีการนำไปใช้ประโยชน์ : ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความถูกต้องตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ประโยชน์ที่ได้รับ : ได้ทราบถึงข้อบังคับตามหลักปฏิบัติจรรยาบรรณของมหาวิทยาลัยเพื่อให้ปฏิบัติงานในวิชาชีพได้เป็นอย่างดี ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม : - บทเรียนที่ได้จากการนำความรู้ไปปฏิบัติและแบบปฏิบัติที่ดี บทเรียนที่ได้จาการนำความรู้ไปปฏิบัติ (บันทึกเป็นภาพรวมของกลุ่ม) สมาชิกคนในกลุ่มเกิดความรู้ความเข้าใจในจรรยาบรรณบุคลากรมากขึ้นและสามารถนำไปเผยแพร่และให้ความรู้กับบุคลากรภายในหน่วยงานต่อไปได้ และสมาชิกทุกคนจะนำความรู้เกี่ยวกับการดำเนินจัดตั้งคณะอนุกรรมการจรรยาบรรณประจำหน่วยงาน ไปดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยและสมาชิกท่านใดมีปัญหาในการดำเนินการก็จะช่วยกันอธิบายจนเข้าใจและสามารถปรึกษากับผู้มีความรู้ฝังลึกในเรื่องจรรยาบรรณโดยตรงได้ แบบปฏิบัติที่ดีที่ได้ (จากการนำความรู้ไปปฏิบัติแล้วนำกลับมาแลกเปลี่ยนเพื่อหาแบบปฏิบัติที่ดี) : จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติของสมาชิกทำให้รู้ว่ามีช่องทางหรือแนวทางอีกหลายประการที่จะสามารถส่งเสริมให้บุคลากรของหน่วยงานปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และมีมาตรการกำกับดูแลเพื่อไม่ให้บุคลากรกระทำผิดจรรยาบรรณ เช่น ให้การยกย่องชมเชยผู้ไม่กระทำผิดจรรยาบรรณต่อที่สาธารณ ให้รางวัลและออกประกาศยกย่องชมเชยสำหรับบุคลากรดีเด่น และจัดโครงการอบรมคุณธรรม จริยธรรมสำหรับบุคลากรตั้งแต่ระดับปฏิบัติการจนถึงผู้บริหารของหน่วยงาน 1. การบรรลุตามปฏิทินการดำเนินงานของชุมชนนักปฏิบัติ ลำดับ กิจกรรม ผลการดำเนินงาน การบรรลุ 1. ตั้งชุมชนนักปฏิบัติและกำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิก ได้จัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติโดยกำหนดบทบาทและหน้าที่ของสมาชิก กลุ่มตามรูปแบบการจัดตั้งกลุ่มความรู้ของ KM 2. กำหนดหัวข้อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ต้องมีความรู้เรื่องอะไร มีความรู้เรื่องนั้นหรือยัง) ของกลุ่ม สมาชิกกลุ่มได้ร่วมกันวิเคราะห์และกำหนดหัวข้อในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ “ทำอย่างไรให้บุคลากรบุคลากรปฏิบัติตามจรรยาบรรณ” 3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ) กลุ่มได้จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นทางการคือการจัดประชุมกลุ่มความรู้ 4. นำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปปฏิบัติ สมาชิกกลุ่มนำความรู้และแนวทางที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปปฏิบัติ 5. นำบทเรียนที่ได้จากการนำความรู้ไปปฏิบัติมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และหาแบบปฏิบัติที่ดี 1. สมาชิกกลุ่มได้เล่าประสบการณ์จากการนำความรู้ที่ได้จากกลุ่มไปปฏิบัติในหน่วยงาน 2. สมาชิกส่งรายละเอียดการนำความรู้ไปใช้เป็นรายบุคคล 6. แบ่งปันความรู้ มีการแบ่งปันความรู้ในช่องทางต่าง ๆ ดังนี้ 1. http://www.km.ssru.ac.th 2. เว็บไซต์กองบริหารงานบุคคล http://www.ssru.ac.th/personnel 7. บันทึกความรู้ในคลังความรู้ของหน่วยงาน บันทึกความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเว็บไซต์http://www.km.ssru.ac.th 2. ช่องทางการแบ่งปันความรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ 2.1 ประชุมกลุ่มความรู้ 2.2 เว็บไซต์ KM http://www.km.ssru.ac.th 2.3 คู่มือจรรยาบรรณ 2.4 แบบบันทึกเขียนเรื่องเล่าจากประสบการณ์จริง 2.5 เว็บไซต์กองบริหารงานบุคคล http://www.ssru.ac.th/personnel 2.6 แผ่นพับจรรยาบรรณบุคลากร 3. ความรู้ที่ได้บันทึกในคลังของชุมชนนักปฏิบัติ 1. แนวทางการปฏิบัติของหน่วยงานตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ว่าด้วยจรรยาบรรณบุคลากร พ.ศ.2555 2. ความรู้ที่ได้ของสมาชิกกลุ่มเป็นรายบุคคลต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4. องค์ความรู้ที่ได้ 1. การส่งเสริมการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 2. การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจรรยาบรรณของบุคลากร |