Email to friend
* Your name:
* Your email:
* Friend's email:
Comment:


.......บทเรียนที่ได้จากการนำความรู้ไปปฏิบัติและแบบปฏิบัติที่ดี......

.........บทเรียนที่ได้จากการนำความรู้ไปปฏิบัติ..........

1.       วิธีการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน รวมทั้งเทคนิคการจัดการเรียนการสอนที่ได้รับความสำเร็จและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์

2.       วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ Problem Based Learning (PBL) หรือการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในชั้นเรียน การนำไปใช้จริง รวมทั้งเทคนิคการจัดการเรียนการสอนที่ได้รับความสำเร็จและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์

3.       การปรับปรุงเนื้อหาแบบฝึกหัดให้กระชับ สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งเทคนิคการนำแบบฝึกหัดไปใช้จริงในชั้นเรียนและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์

4.       บทเรียนรู้และประสบการณ์ ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Problem Based Learning (PBL) หรือการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ขั้นตอนการเตรียมแบบฝึกหัด ขั้นตอนการนำแบบฝึกหัดไปใช้ในชั้นเรียน และสิ่งที่ควรปรับปรุงในการจัดการเรียนการสอนครั้งต่อไป

5.       วัตถุประสงค์และวิธีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เทคนิคการถอดบทเรียน และสิ่งที่ควรนำมาแก้ไขปรับปรุงในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้

............แบบปฏิบัติที่ดี..........

สรุปขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนแบบ Problem Based Learning (PBL) หรือการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานได้ ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 คัดเลือกรายวิชาที่มีเนื้อหาที่หลากหลาย มีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อนำมาจัดการเรียนการสอนแบบ Problem Based Learning (PBL) หรือการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

ขั้นตอนที่ 2 สร้างโจทย์สถานการณ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ โดยแบ่งเป็นใบงาน และกำหนดรูปแบบการนำไปใช้ คือแบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างทั่วถึง

ขั้นตอนที่ 3 นำเสนอแก่ที่ประชุมเพื่อปรับเปลี่ยนเนื้อหาโจทย์และรูปแบบการนำไปใช้ให้สอดคล้องกับการนำไปใช้จริง

          ขั้นตอนที่ 4 นำโจทย์สถานการณ์ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนจริง และถอดบทเรียนนักศึกษาในท้ายชั่วโมง

ขั้นตอนที่ 5 นำเสนอผลการนำโจทย์สถานการณ์ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน และผลการถอดบทเรียนนักศึกษาแก่ที่ประชุม เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มความรู้ช่วยกันค้นหาสาเหตุของปัญหาและเสนอแนะวิธีแก้ไขปรับปรุงให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ขั้นตอนที่ 6 นำโจทย์สถานการณ์ที่ปรับแก้ไขให้เหมาะสมแล้ว ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนจริง และถอดบทเรียนนักศึกษาในท้ายชั่วโมง

ขั้นตอนที่ 7 นำเสนอผลการนำโจทย์สถานการณ์ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน และผลการถอดบทเรียนนักศึกษาแก่ที่ประชุม เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มความรู้ช่วยกันค้นหาสาเหตุของปัญหาและเสนอแนะวิธีแก้ไขปรับปรุงให้การจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อไปมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ขั้นตอนที่ 8 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังจากสิ้นสุดการฝึกภาคปฏิบัติ เพื่อให้นักศึกษาและผู้สนใจได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การนำความรู้ทางทฤษฎี สู่การสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ขั้นตอนที่ 9 ถอดบทเรียนหลังจากสิ้นสุดการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเป็นการจัดการความรู้ (Knowledge management) เป็นเครื่องมือในการต่อยอดความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) หรือความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติมาเป็นความรู้เชิงประจักษ์ (Explicit knowledge)