หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 / สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ / ส่วนที่ 3 สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
|
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. การบรรลุตามปฏิทินการดำเนินงานของชุมชนนักปฏิบัติ
2. ช่องทางการแบ่งปันความรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ
1. เว็บไซต์ KM ของมหาวิทยาลัย
2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นทางการ (การประชุม) จำนวน 5 ครั้ง
4. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ (สภากาแฟ)
3. ความรู้ที่ได้บันทึกในคลังความรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ
3.1. ความรู้เกี่ยวกับห้องสมุดมีชีวิต
ความหมาย, วัตถุประสงค์, องค์ประกอบ, ศาสตร์ที่นำมาประยุกต์ใช้, ประโยชน์, แนวทางการพัฒนา, ความสัมพันธ์และความแตกต่างระหว่างห้องสมุดมีชีวิตกับห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์/ห้องสมุดดิจิทัล, และกรณีศึกษาห้องสมุดมีชีวิตต่างๆ ภายในและภายนอกประเทศ
3.2. ความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์วังสวนสุนันทา
ประวัติของวังสวนสุนันทา, ประวัติพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์, เจ้านายที่เคยประทับในวังสวนสุนันทา, บทประพันธ์ร้อยแก้วร้อยกรอง, ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณี, การแต่งกาย, มารยาท, อาหารการกิน, การละเล่น, นาฎกรรม, ศิลปะ, หัตถกรรม, สถาปัตยกรรม, สภาพแวดล้อม, พืชพันธุ์, สมุนไพรในวังสวนสุนันทา
3.3. ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดห้องสมุดมีชีวิตตามอัตลักษณ์วังสวนสุนันทา
แนวคิดห้องสมุดมีชีวิตตามอัตลักษณ์วังสวนสุนันทา, การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความเป็นห้องสมุดมีชีวิตตามอัตลักษณ์วังสวนสุนันทาของศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
4. องค์ความรู้ที่ได้
4.1. องค์ความรู้เกี่ยวกับห้องสมุดมีชีวิต
4.2. องค์ความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์วังสวนสุนันทา
4.3. องค์ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดห้องสมุดมีชีวิตตามอัตลักษณ์วังสวนสุนันทา
5. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
5.1. ความร่วมมือร่วมใจและตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกในชุมชนนักปฏิบัติ
5.2. ความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้เป็นช่องทางในการแบ่งปันความรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ อาทิ เว็บไซต์ KM เป็นต้น
5.3. การเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริการสารสนเทศ ทำให้มีความรู้เชิงประจักษ์ (Tacit Knowledge) จำนวนมาก ที่จะใช้ค้นคว้าในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ
5.4. สมาชิกของชุมชนนักปฏิบัติหลายๆ ท่าน มีความรู้ที่ฝังลึกในตัวคน (Tacit Knowledge) จำนวนมาก ทำให้เป็นประโยชน์ต่อการแลกเปลี่ยนรู้ของชุมชนปฏิบัติ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “อัตลักษณ์วังสวนสุนันทา”
5.5. การให้ความอนุเคราะห์ของห้องสมุดมีชีวิตต่างๆ ที่สมาชิกในชุมชนนักปฏิบัติได้ไปศึกษาดูงานประกอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และ ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
6. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานจัดการความรู้ของกลุ่ม
6.1. ปัญหาการนัดหมายประชุมของชุมชนนักปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะ สมาชิกของชุมชนนักปฏิบัติส่วนใหญ่ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนงานบริการ ทำให้ต้องนัดหมายประชุมในช่วงเวลาเลิกงาน
6.2. การขาดแคลนงบประมาณที่เพียงพอ ในการนำแนวคิดห้องสมุดมีชีวิตตามอัตลักษณ์วังสวนสุนันทามาดำเนินการในขั้นตอนการนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนไปปฏิบัติให้เห็นผลเป็นรูปธรรม
7. ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของกลุ่มครั้งต่อไป
7.1 สมาชิกกลุ่มฯ ควรมีการจัดการความรู้เกี่ยวกับห้องสมุดมีชีวิต ทั้งที่ยังคงฝังลึกในตัวคน (Tacik knowledge)และที่ชัดแจ้งแล้ว (Expacit knowledge) เพื่อจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาความคิดของผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อม ทรัพยากรการเรียนรู้ และเทคโนโลยีภายในศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ให้มีสภาพความเป็นห้องสมุดมีชีวิตที่ทันสมัยและธำรงไว้ซึ่งความเป็นสวนสุนันทา
7.2 ควรเรียนเชิญนักศึกษา คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ทุกระดับ จากหลายๆ สาขาวิชา มาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อม ทรัพยากรการเรียนรู้ และเทคโนโลยีภายในศูนย์วิทยบริการ |