|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. ความเป็นมาของชุมชนนักปฏิบัติ (กลุ่มความรู้)
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เต็มไปด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เรียกว่า ภูมิปัญญาชาววังสวนสุนันทา แต่ในปัจจุบัน เป็นที่น่าเสียดายว่า หน่วยงานหลายแห่งของมหาวิทยาลัย ยังมีการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นดังกล่าวในการพัฒนาสภาพแวดล้อมขององค์กรน้อยมาก และศูนย์วิทยบริการก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่ง ที่สามารถประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาดังกล่าว เพื่อการพัฒนาให้เป็นห้องสมุดมีชีวิตที่มีความโดดเด่นมากกว่าห้องสมุดมีชีวิตอื่นๆ แต่ในปัจจุบันก็ยังคงประสบปัญญาสภาพแวดล้อม ทรัพยากรเรียนรู้ และเทคโนโลยีหลายๆ ประการที่ยังคงไม่ทันสมัยและไม่ธำรงไว้ซึ่งความเป็นสวนสุนันทา
แม้ว่าการพัฒนาศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ให้เป็น “ห้องสมุดมีชีวิต” นั้น จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายๆ ประการ อาทิ งบประมาณ,นโยบายการบริหารงาน หรือ ความรู้ของผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ เป็นต้น แต่ปัจจัยเกี่ยวกับความรู้ของผู้ปฏิบัติงานนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก ด้วยเหตุผลเพราะหากผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับขาดความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาใดๆ ย่อมจะทำให้การพัฒนาแนวทางปฏิบัติไม่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพเท่าที่ควร
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จึงเห็นความสำคัญของการจัดการความรู้ในหัวข้อ “การพัฒนาแนวคิดห้องสมุดมีชีวิตตามอัตลักษณ์วังสวนสุนันทา”เพื่อจะเป็นกระบวนการสำคัญต่อการพัฒนาความคิดของผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ อันจะนำไปสู่การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อม ทรัพยากรการเรียนรู้ และเทคโนโลยีภายในหน่วยงาน ให้มีสภาพความเป็นห้องสมุดมีชีวิตที่ทันสมัยและธำรงไว้ซึ่งความเป็นสวนสุนันทา
2. สมาชิกชุมชนนักปฏิบัติและบทบาทหน้าที่ของสมาชิก
3. หัวข้อที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้ 3.1 ห้องสมุดมีชีวิต 3.2 อัตลักษณ์วังสวนสุนันทา
ประวัติของวังสวนสุนันทา, ประวัติพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์, เจ้านายที่เคยประทับในวังสวนสุนันทา, บทประพันธ์ร้อยแก้วร้อยกรอง, ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณี, การแต่งกาย, มารยาท, อาหารการกิน, การละเล่น, นาฎกรรม, ศิลปะ, หัตถกรรม, สถาปัตยกรรม, สภาพแวดล้อม, พืชพันธุ์, สมุนไพรในวังสวนสุนันทา
3.3 ห้องสมุดมีชีวิตตามอัตลักษณ์วังสวนสุนันทา
แนวคิดห้องสมุดมีชีวิตตามอัตลักษณ์วังสวนสุนันทา ตลอดจนการนำไปประยุกต์ใช้ของสมาชิกกลุ่ม (รายบุคคล)ในเชิงการนำแนวคิดดังกล่าวไปใช้วิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม, ทรัพยารสารสนเทศ และเทคโนโลยี ภายในศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อนำแนวทางของแต่ละบุคคลมาเข้าสู่กระบวนการระดมพลังสมองของชุมชนนักปฏิบัติ เพื่อหาแบบปฏิบัติที่ดีที่สุด
4. ความรู้ที่ต้องการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
ความต้องการของผู้ใช้บริการที่มีหลากหลายและแตกต่างกันในแต่ละบุคคลที่ต้องการค้นคว้าข้อมูลข่าวสารจากแหล่งค้นคว้าของสำนักวิทยบริการและเป็นการพัฒนาแนวคิดห้องสมุดมีชีวิตตามอัตลักษณ์วังสวนสุนันทาโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดของศูนย์วิทยบริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสนันทา
|