หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 / บัณฑิตวิทยาลัย / กลุ่ม Crack Click KM / บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1
|
|
|||||
ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : พลตำรวจโท ดร.ณรงค์ กุลนิเทศ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาณัติ ต๊ะปินตา, ดร.โกมล ไพศาล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษดา กรุดทอง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต ผังนิรันดร์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรุงศักดิ์ อัตพุฒ, ดร.ทัศนาวลัย อุฑารสกุล, รองศาสตราจารย์ ดร.ชมนาด กิจขันธ์, ศาสตราจารย์ ดร.วรเดช จันทรศร, ดร.รัตนา ปานเรียนแสน, รองศาสตราจารย์ ทิพาพันธ์ สังฆะพงษ์, รองศาสตราจารย์ ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย, ดร.โสพิศ สว่างจิต, ดร.ณรงค์ สังฆะณที, นางสาวณัฐกฤตา ทองขัด, นางสาวสุภาพร เท่าบุรี, นางวิศิษฐา เทพวิจิตร์, นางสาวเกสอน ชื่นหญ้าปลอก, นางสาวชลดา เพชรปานกัน, ว่าที่ ร.ต.หญิง บุญญาดา พาหาสิงห์, นางสาวปวีณา ศรีบุญเรือง, นายเปรม ธนไตรภพ, รองศาสตราจารย์ ธีระดา ภิญโญ, นางสาวเกษรา ตรีไพชยนต์ศักดิ์, นางสาววิรงรอง ทำโย วิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : แลกเปลี่ยนโดยเรื่องเล่าของสมาชิกเพื่อถอดความรู้ฝังลึก
ความรู้ที่ได้ : งานวิจัยท้องถิ่นเชิงบูรณาการ มี 3 มุมมอง ได้แก่ 1. การวิจัยท้องถิ่น เป็นงานวิจัยที่ไม่มีระเบียบแบบแผนมากนัก อาจจะไม่ต้องใช้ระเบียบวิธีวิจัย เป็นเพียงแก้โจทย์ปัญหา คล้าย ๆ กับการทำ R2R เมื่อประมาณ 30 ปีก่อนนั้นยังไม่ยอมรับการทำวิจัยแบบนี้ ซึ่งในปี 1950 จึงได้มีการยอมรับว่าการทำวิจัยมีหลายแบบ ดังนั้น การทำวิจัยท้องถิ่นเป็นการวิจัยคล้ายๆกับเชิงมนุษย์ตวิทยา หรือวิจัยเชิงกรณีศึกษา เป็นรูปแบบของการวิจัยที่ใช้ในการแก้ปัญหามากกว่าที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ 2. ปัญหางานวิจัยท้องถิ่น เป็นสิ่งสำคัญในการทำวิจัยท้องถิ่น นั่นคือโจทย์ของงานวิจัย ได้แก่ ผู้ที่อยู่ในท้องถิ่น สภาพปัญหา ความต้องการ ซึ่งการที่จะได้โจทย์ปัญหาเรื่องงานวิจัยท้องถิ่นมานั้นผู้วิจัยต้องลงพื้นที่เพื่อศึกษาปัญหาของงานวิจัยนั้น 3. ผลที่เกิดจากการวิจัย เมื่อพบสภาพปัญหา ศึกษาปัญหาและหาวิธีการแก้ไข ก็จะได้คำตอบและค้นพบแนวทาง ตามวิธีของการทำวิจัย ยกตัวอย่าง งานวิจัยท้องถิ่น กรณีหมู่บ้านสามขา เป็นงานวิจัยที่ไม่มีระเบียบวิธีวิจัย แต่เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่แทรกอยู่ ปัญหาของการวิจัย คือ ปัญหาหนี้สินของชาวบ้านในหมู่บ้าน โดยนักวิจัยจะต้องเข้าไปพูดคุย สร้างความคุ้นเคยกับชาวบ้าน ซึ่งการวิเคราะห์ปัญหาทำโดยให้ชาวบ้านทำบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งผลสรุปว่า รายจ่ายของชาวบ้านมากกว่ารายรับ ซึ่งคนในชุมชนก็ได้ตระหนักถึงปัญหา และเกิดกระบวนการเรียนรู้ และในปัจจุบันหมู่บ้านนี้กลายเป็นหมู่บ้านที่เจริญมาก ชุดโครงการ คืองานวิจัยที่มุ่งไปในทิศทางเดียวกัน วิธีการชัดเจน เหมือนมีประเด็นใหญ่ และประกอบด้วยประเด็นย่อยๆ ออกมา ข้อคิดของการวิจัยท้องถิ่น 1. การสร้างองค์ความรู้ไม่สำคัญเท่ากับการแก้ปัญหา 2. กระบวนการนำไปสู่ความจริง การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อหาคำตอบ 3. เมื่อวิจัยแล้วได้คำตอบ/แนวทางในการตอบโจทย์ให้ได้ในการแก้ปัญหาท้องถิ่น ยกตัวอย่างชุดโครงการวิจัย โรงเรียนต้นแบบ ในสมัยที่ยังเป็นสถาบันราชภัฏ ซึ่งมีโครงการย่อย 4 โครงการ มีราชภัฏมาทำวิจัย 8 กลุ่ม ซึ่งราชภัฏสวนสุนันทา มี 4 ชุด ได้แก่ ชุดหลักสูตร ชุดการสอน ชุดบริหาร ชุดโรงเรียนเปิดสอน ส่วนในปัจจุบัน ชุดโครงการวิจัยที่เอาโรงเรียนเป็นตัวตั้ง มีความคิดจากโรงเรียนต้นแบบของการบริหารยุทธศาสตร์การประกันคุณภาพการศึกษา เรื่องการเรียนการสอนในชั้นเรียน เรื่องศักยภาพของผู้เรียน การพัฒนานวัตกรรมการจัดโครงการพัฒนานักเรียน สรุปแล้วเทคนิคการเขียนชุดโครงการเพื่อพัฒนางานวิจัยท้องถิ่นเชิงบูรณาการ มหาวิทยาลัยยังไม่ได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ เนื่องจากการบริหารงานวิจัยเป็นเรื่องยาก การที่จะเรียงร้อยโปรเจ็คต่างๆ ให้เป็นชุดโครงการวิจัยยาก และยังไม่บรรลุเป้าหมาย
ผู้ให้ความรู้ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษดา กรุดทอง |