Email to friend
* Your name:
* Your email:
* Friend's email:
Comment:


รูปแบบให้บริการวิชาการเพื่อจัดหารายได้

 

รูปแบบให้บริการวิชาการเพื่อจัดหารายได้

ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่ม 

1.กลุ่มนวัตกรรม

2.กลุ่มผู้ช่วยสอน (TA)

กลุ่มเป้าหมาย การให้บริการ

ได้แก่ บุคคลทั่วไป และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

วิธีการแลกแปลี่ยนความรู้

การประชุมกลุ่มชุมชนผู้ปฏิบัติ  CoP  (Community of Practices)

Knowledge café:  สภากาแฟ จัดมุมสังสรรค์ให้กลุ่มผู้ทำงานมาพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมความคิด ทำงาน โดยบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ

Training:  โดยจัดให้มีกิจกรรมการฝึกอบรม จากผู้รู้ ผู้ชำนาญการ ในกลุ่มงาน

การนำความรู้ไปใช้

 

นำองค์ความรู้ทั้งหมดมาใช้ปฏิบัติจริงสำหรับการบริการวิชาการในภาคเรียนที่ 2/2555

องค์ความรู้ 1 รูปแบบการเตรียมความพร้อมการให้บริการวิชาการเพื่อการจัดหารายได้ (การเตรียมความพร้อมบุคลากร สำหรับการเป็นวิทยากร และผู้ช่วยวิทยากร)

องค์ความรู้ 2 รูปแบบการให้บริการวิชาการเพื่อการจัดหารายได้

ได้มีการจัดโครงการดังนี้

1. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับผู้สูงวัย

หลักการและเหตุผล

               ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก  โดยเฉพาะในด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
การสื่อสาร การจัดทำเอกสารต่าง ๆ และการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับภาคบันเทิง  ซึ่งเกือบทุกครอบครัว มีคอมพิวเตอร์

ยังมีผู้สูงอายุ อีกเป็นจำนวนมาก ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ข้อมูล ข่าวสาร และเทคโนโลยีใหม่ๆ

               ทางสำนักวิชาการศึกษาทั่วไปและนวัตกรรมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพผู้สูงวัย ในการใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้น จึงได้จัดทำการอบรมเชิงปฏิบัติการ

การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับผู้สูงวัย  

วัตถุประสงค์

                เพื่อให้ผู้สูงวัยมีความรู้ในการใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้น และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ

2.   โครงการอบรมเชิงปฏิบัติ หลักสูตร การผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ด้วยโปรแกรม Flip Albu

  ความเป็นมาของโครงการ

             ในยุคสารสนเทศ การศึกษาหาความรู้สามารถกระทำได้ตลอดเวลา ไร้ขีดจำกัดเรื่องระยะทางเวลา และสถานที่  แต่ในทางกลับกันขณะนี้การพัฒนาเกี่ยวกับสื่อที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์จริงๆ ยังไม่ได้มีการพัฒนาตามโลกและยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการพัฒนาของหนังสือ ในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า “e-Book” ซึ่งสามารถผลิตออกมาให้มีรูปลักษณะเหมือนกับหนังสือโดยทั่วๆ ไป แต่มีความสามารถหลายอย่างที่สูงกว่าหนังสือธรรมดา เช่น เป็นระบบการผลิตที่ไม่ใช้กระดาษผลิตได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว สามารถปรับปรุงได้ตลอดเวลา เชื่อมโยงเอกสารกับแหล่งความรู้ภายนอกได้ สามารถสั่งพิมพ์เอกสารได้ ทำสำเนาได้สะดวก ต้นทุนในการผลิตต่ำ สามารถใช้ได้ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์ ประการสำคัญที่สุดคือการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเกี่ยวกับป่าไม้

         เนื่องด้วยตามนโยบายของสำนักวิชาการศึกษาทั่วไปและนวัตกรรมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้มีการให้บริการวิชาการ และวิชาชีพตามความต้องการของชุมชนและสังคม ดังนั้นจึงมีการพัฒนาและให้บริการด้านสื่อการเรียนการสอนรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่และบุคคลากรในมหาวิทยาลัย  ดังนั้นการให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการผลิตสื่อการเรียนการสอน ซึ่งจะมีผลโดยตรงกับคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอนที่สำนักวิชาการศึกษาทั่วไปและนวัตกรรมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ผลิตขึ้น อีกทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพของบุคคลากรในองค์กร ตลอดจนเป็นการบริการให้กับชุมชนและสังคม 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) โดยการใช้โปรแกรม Flip Album Vista Pro                                      

2.2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดทักษะ และสามารถผลิตสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

2.3. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนางานด้านการผลิตสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

2.4. เพื่อเป็นการบริการทางด้านวิชาการ และเผยแพร่ความรู้แก่บุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป

3. โครงการอบรมผู้ตรวจประเมิน