หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 / คณะวิทยาการจัดการ / กลุ่มก่อการดี / ความเป็นมาของชุมชนนักปฏิบัติ
|
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1.ความเป็นมาของชุมชนนักปฏิบัติ
|
Comments
|
04 Sep, 2012
| phakit
|
น่ารักจัง รับรองว่าใครมาร่วม KM ก่อการดี จะไม่เหงาแน่ เพราะมีเพื่อนเดินด้วยตลอดถึงจุดหมาย |
02 Sep, 2012
| supranee_km
|
อ่าน Comment ของ อ.ภากิตต์แล้ว ยิ่งเข้าใจการ์ตูน หมีพูห์ และ Piglet มีกันและกันตลอดทาง-เรื่องน่ารักจากพิกเล็ตและเดอะพูห์ เรื่องมันมีอยู่ว่า ขณ ะที่พิกเล็ตเดินตามหมีพูห์ไปต้อยๆรอยเท้าคู่เล็กๆย่ำไปบนหิมะเคียงข้างกับรอยเท้าของ พูห์ไปตลอดทาง เป็นความอบอุ่นในหัวใจที่ทั้งสองทิ้งเอาไว้เบื้องหลัง ทั้งคู่คงเดิ นมาด้วยกันนานพอสมควร และคงไม่ได้คุยอะไรกันเลย พิกเล็ตเลยต้อง"ขอเสียง"ด้วยก ารเรียก"พูห์"เมื่อพูห์ขานรับและถามกลับว่า"มีอะไรหรือพิกเล็ต"พิกเล็ตกลับเกาะมือพู ห์ไว้ ก่อนตอบว่า"เปล่า...ไม่มีอะไร แค่อยากมั่นใจว่าเราเดินมาด้วยกันเท่านั้นเอง " ภาพนี้ ถ้อยสนทนานี้ เรียบง่ายแต่ลึกซึ้ง สังเกตไหมว่าพูห์เดินนำหน้าควรเป็นพูห์ มากกว่าที่น่าจะเป็นฝ่าย"ขอเสียง"จากพิกเล็ตว่ายังเดินตามตัวเองมาหรือไม่ นั่นหมาย ถึงว่าเป็นความรักกังวลในใจพิกเล็ตเองที่เกรงว่าพูห์จะลืมเพื่อนตัวเล็กๆอย่างเขา ในชีวิตเราทุกคนคงเคยผ่านพบมิตรภาพแสนดี แต่มีกี่คนที่รักษามันเอาไว้ได้คงมั่นไ ม่หวั่นไหว วันคืนแห่งชีวิตกลืนกินและฉุดดึงเรารุดไป หันกลับมามองข้างหลังอีกที อาจจะเศร้าใจ หากพบว่าคนที่เราไว้ใจ ไม่เดินตามเรามาอีกแล้ว ไม่อยากเดินข้างหน้า เพราะเกรงว่าฉันจะลืมเธอ ไม่อยากตามหลังเช่นกัน อยากอุ่นใจมั่นใจว่าตลอดการเดินทา งชีวิต อันยาวไกลเรายังมีกันและกันไปตลอดทาง |
01 Sep, 2012
| phakit
|
คนมีประสบการณ์แล้ว ก็ต้องตระหนักเสมอว่า โลกเปลี่ยนแปลง ทุกวัน ประสบการณ์ที่ผ่านมาอาจไม่เหมาะกับปัจจุบัน การรับฟัง คนอ่อนวัยกว่า ย่อมช่วยให้เห็นโลกปัจจุบันได้คมชัดขึ้น โลกยังต้องพัฒนา สติปัญญา ก็เช่นกันครับ |
01 Sep, 2012
| surasit
|
ข้อคิดของอาจารย์เป็นการเตือน "สติ" ได้ดีทีเดียวครับ |
31 Aug, 2012
| anchana
|
ขอบพระคุณค่ะ พี่เลี้ยงประจำกลุ่มน่ารักมากค่ะ คอยทวงถามผลงานสม่ำเสมอ ทำให้น้อง ๆ กล้าที่จะเดินเข้าป่าอย่างมั่นใจค่ะ |
30 Aug, 2012
| phakit
|
การเขียนผลงานวิชาการเป็นเรื่องยาก หากปล่อยให้อาจารย์ แต่ละท่านทำผลงานวิชาการไปตามยถากรรม โดยไม่มีการแนะนำ ช่วยเหลือจากบุคคลที่เคยผ่านประสบการณ์มาก่อนแล้ว ก็คงเหมือน คนเดินป่าทั้งที่ไม่เคยรู้จักป่า กว่าจะกลับจากป่าได้คงใช้เวลานาน การร่วมมือกันระหว่างผู้ที่ผ่านการทำผลงานวิชาการแล้วกับ ผู้เริ่มทำผลงานวิชาการ เป็นเรื่องดี เสมือนการเดินป่าที่มีคนนำทาง เมื่อต้องเดินป่าด้วยตนเองก็จะรู้สึกดี เพราะอย่างน้อยก็เคยเดินเข้าป่ามาแล้ว บทเรียนที่ถอดจากประสบการณ์และถ่ายทอดไปยังคนรุ่นใหม่ ก็เปรียบเสมือนเข็มทิศ ซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญให้เดินป่า อย่างมีทิศมีทาง ไม่ต้องเสียเวลาเดินผิดเดินถูกหรือเดินหลงจนหาทางออกไม่เจอ อีกมุมที่น่าคิดก็คือ หากคนเดินป่าที่เคยมีคนเดินนำเข้าป่าแล้ว อีกทั้งยังมีเข็มทิศและสิ่งยังชีพอย่างเพ รียบพร้อม แต่ขาดความั่นใจ ความตั้งใจ และความเอาจริงเอาจัง หรือถือดีอวดเก่งก็คงไม่วายต้อง เดินหลงป่าอีกนาน เพราะขาดสิ่งสำคัญคือ "ประสบการณ์" ดังนั้นการเดินไปพร้อมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ช่วยกัน พัฒนาความรู้และทักษะไปด้วยกัน ย่อมเกิดประโยชน์กว่าต่างคน ต่างอยู่ ต่างคนต่างทำ |