ความเป็นมาของ PBL Grad KM

        
Views: 889
Votes: 0
Comments: 0
Posted: 22 Jun, 2012
by: ปุญสิริ น.บ.
Updated: 01 Aug, 2012
by: ปุญสิริ น.บ.

การจัดการเรียนกาสอนในระดับบัณฑิตศึกษาเป็นการจัดการเรียนในระดับหลังปริญญาตรีที่มีความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตมีความรู้ และความเชี่ยวชาญที่ครอบคลุมและสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และมาตรฐานการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  หลักการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และภายนก รวมทั้งวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย กล่าวคือ จัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพเป็นเลิศ เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีปัญญา มีทักษะวิชาชีพ และมีคุณธรรมที่ตอบสนองกับความต้องการของท้องถิ่นและสังคมยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ รวมทั้งจัดการศึกษาที่หลากหลาย ยึดหยุ่นเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผนวกการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร คณาจารย์ผู้สอนในระดับบัณฑิตศึกษาจึงได้มารวมกลุ่มเพื่อพัฒนายกระดับมาตรฐานการจัดการเรียนการสอนโดยอาศัยการจัดการความรู้เป็นส่วนสำคัญ ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน "Project based Learning" ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง และเป็นการเรียนรู้ที่เสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ (Learn How to Learn) สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตรเองและปลูกฝังให้มีนิสัยการเรียนรู้อันจะนำไปสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ตลอดทั้งเสริมสร้างให้เป็น "คนเก่ง คนดี และเรียนรู้อย่างมีความสุข" อีกทั้งเป็นการยกระดับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติต่อไป

บัณฑิตวิทยาลัยจึงจัดตั้งกลุ่ม PBL Grad KM ขึ้น ซึ่งมีที่มาจากสมาชิก ซึ่งประกอบด้วย ประธานสาขาและอาจารย์สอนระดับบัณฑิตศึกษา รวมทั้งบุคลากรสายสนับสนุนของบัณฑิตวิทยาลัยและสาขาวิชา จำนวน 25 คน ที่มีความสนใจร่วมกัน ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาโครงงานการสอน Project based Learning จึงมีการก่อตั้งกลุ่ม PBL Grad KM ซึ่งมีที่มาของชื่อกลุ่มจาก

PBL - Project - based Learning

G - Gradt ยิ่งใหญ่

R - Reasonable มีเหตุผล

A - Actionable ปฏิบัติได้

D - Developed พัฒนาแล้ว

KM - Knowledge Management การจัดการความรู้

โดยมี ดร.ไสว ศิริทองถาวร (รักษาการประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการคุณภาพ เป็นคุณอำนวย และมีสมาชิกคนอื่นๆ ในกลุ่มทำหน้าที่เป็นคุณลิขิต คุณกิจ คุณประสาน คุณวิศาสตร์ ในการผลักดันการดำเนินการจัดการความรู้ของกลุ่ม PBL Grad KM ให้บรรลุเป้าหมายตามแผนที่กำหนด และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปปฏิบัติ เพื่อให้ได้แนวปฏิบัติที่ดี และมีการเผยแพร่ความรู้ของกลุ่มต่อไป

Others in this Category
document รายงานการประชุม PBL Grad KM ครั้งที่ 1/2555
document รายงานการประชุม PBL Grad KM ครั้งที่ 2/2555
document ตัวอย่าง1 powerpoint ของกลุ่ม PBL Grad KM
document ตัวอย่าง2 powerpoint ของกลุ่ม PBL Grad KM
document แบบประเมินผลการจัดทำโครงงาน
document แบบฟอร์มเขียนข้อเสนอโครงงาน
document กรอบปฏิทินการดำเนินงานโครงงาน
document กระบวนการปฏิบัติงาน KM
document แผนปฏิบัติการชุมชนนักปฏิบัติ
document รายงานการประชุม PBL Grad KM ครั้งที่ 3/2555
document รายงานการประชุม PBL Grad KM ครั้งที่ 4/2555
document ข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกชุมชนนักปฏิบัติ
document Action plan
document บรรยากาศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน Project Based Learning โดย รศ.ดร.สจีวรรณ ทรรพวสุ
document บรรยากาศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน Project Based Learning โดย อาจารย์ ดร.สุทธิพงศ์ บุญผดุง
document องค์ความรู้ที่ได้