|
||
ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นระบบคุณภาพแบบใดจะต้องมีกระบวนการทำงานที่เริ่มต้นจากการวางแผน การดำเนินงานตามแผน การตรวจสอบประเมิน และการปรับปรุงพัฒนา ตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ซึ่งผู้ปฏิบัติงานแผนและงบประมาณในทุกระดับ จะมีการทบทวนผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา เพื่อจัดทำคำขอตั้งงบประมาณ เมื่องบประมาณได้รับการอนุมัติจึงจัดทำแผนปฏิบัติราชการ และแผนดำเนินงานประจำปี โดยทุกไตรมาสต้องรายงานผลการปฏิบัติงาน และผลการใช้จ่ายงบประมาณตามตัวชี้วัดโครงการให้กับสำนักงบประมาณมี 2 แบบ คือตัวชี้วัดเชิงรูปธรรมระดับผลผลิต (QQCT) และตัวชี้วัดที่พิสูจน์ได้เชิงรูปธรรมระดับผลลัพธ์ (2Q2T1P) สำหรับการใช้ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษานำระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ต่างก็มีระบบคุณภาพและความต้องการของข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์แตกต่างกัน ทำให้การรายงานผลการปฏิบัติงาน และผลการใช้จ่ายงบประมาณที่ผ่านมานั้น ไม่สามารถตอบตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษาได้ทั้งหมดจนครบทุกตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบ สร้างปัญหาให้กับหน่วยงานประกันคุณภาพและผู้ดูแลงานประกันคุณภาพในทุกระดับ การจัดการปัญหาดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นที่มาของการนำกลยุทธ์ หรือปัจจัยที่นำไปสู่แนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินการ โดยใช้ระบบเครือข่ายแผนและงบประมาณ และประกันคุณภาพ จากแนวคิดที่จะนำผู้รับผิดชอบงานแผนและงบประมาณ และผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพมาทำงานร่วมกันด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทำงานที่เกิดขึ้นจากเครือข่ายภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกองนโยบายและแผน เพื่อลดการต่อต้านระหว่างหน่วยงาน ทราบความต้องการระหว่างส่วนงาน ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน บูรณาการตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษาทั้งหมดลงในแผนงานโครงการกิจกรรมในแผนปฏิบัติราชการประจำปี และแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ทำให้มหาวิทยาลัยฯ สามารถกำหนดทิศทางกรอบการบริหารจัดการ และนโยบายแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน วางแผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณสามารถดำเนินโครงการกิจกรรมตามตัวบ่งชี้ตามแผน ทำให้สามารถมีผลการดำเนินงานรองรับการตรวจประเมินคุณภาพภายใน และภายนอกได้ตามเป้าหมาย ผู้รับผิดชอบงานแผนและงบประมาณ และผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพ สามารถนำข้อเสนอแนะ และผลการประเมินของคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในมาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของมหาวิทยาลัยเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลตามเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วัตถุประสงค์ 1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือผู้ปฏิบัติงานด้านแผนและงบประมาณ และประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย กลยุทธ์การมีส่วนร่วมและการประชาสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) ความสำเร็จและหลักฐานที่แสดงถึงความสำเร็จในประเด็นที่นำเสนอ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่ได้มาจากแผนพัฒนาคุณภาพมีการพัฒนาตัวชี้วัดความสำเร็จที่เป็นผลลัพธ์ และผลผลิตในระดับเป้าประสงค์ในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์เพื่อใช้ในการทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ และพัฒนาตัวชี้วัดด้านกระบวนการในระดับแผนงานโครงการ/กิจกรรม ใช้ในการติดตามประเมินผลเพื่อประเด็นของ สมศ. ก.พ ร. PMQA และสกอ.ต่อไป เกณฑ์การประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา ระหว่างปีประการศึกษา 2549-2552 ที่แสดงตามแผนภูมิภาพ จะมีค่าคะแนนเต็มคือ 3 คะแนน พบว่าในช่วงการตรวจประเมินระหว่างปี 2550 ถึง 2552 มีผลการการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก แสดงถึงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้กลยุทธ์การมีส่วนร่วม และการประชาสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) ผ่านระบบการทำงานของเครือข่ายแผนงบประมาณ และประกันคุณภาพ ตารางแสดงความก้าวหน้าของผลการดำเนินงานในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในประจำปีการศึกษา 2549-2552 ของทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หมายเหตุ : ในปีการศึกษา 2549 มี 1 หน่วยงานที่ไม่ขอรับการตรวจประเมินคุณภาพคือวิทยาลัยนานาชาติ ส่วนวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพเปิดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2550 และศูนย์การศึกษาดรุณพิทยาได้ปิดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2552 |