หน้าแรก / การจัดการความรู้ / การจัดการความรู้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 / การจัดการความรู้ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ / ครูสีฟ้า / พัฒนาได้ง่าย เมื่อน้ำไม่เต็มแก้ว
|
|
|||||
ถึงแม้จะเป็นสถาบันน้องใหม่แต่ก็สามารถพัฒนาแบบก้าวกระโดดได้ อย่างน้อยก็จะเป็นผู้นำด้าน KM ซึ่งผู้เขียนยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้การสนับสนุนเพราะท่านเป็นผู้ที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลง ไม่เป็นชาล้นถ้วยนั่นเอง
ประสบการณ์ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ทำให้ได้ข้อคิดที่ว่า หากเราปฏิบัติตัวเป็นน้ำไม่เต็มแก้วแล้วอะไรดีๆก็เกิดขึ้นได้
ผู้เขียนได้มีโอกาสไปจัดสัมมนาให้อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา เมื่อวันที่ 25-26 มีนาคม 2554 ความประทับใจที่ผู้เขียนได้พบคือ อาจารย์ทุกท่านมีความมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะพัฒนาการสอนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น และที่สำคัญคือมีความพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง คือไม่ทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว เมื่อวิทยากรจัดกิจกรรมก็เปิดใจ ให้ความร่วมมือ ไม่ถือตัว ทำให้การสัมมนาที่จัดขึ้นบรรลุวัตถุประสงค์เกินความคาดหมาย
เมื่อสิ้นสุดการสัมมนา อาจารย์ทุกท่านมีมติร่วมกันว่า ถึงแม้จะเป็นสถาบันน้องใหม่แต่ก็สามารถพัฒนาแบบก้าวกระโดดได้ อย่างน้อยก็จะเป็นผู้นำด้าน KM ซึ่งผู้เขียนยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้การสนับสนุนเพราะท่านเป็นผู้ที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลง ไม่เป็นชาล้นถ้วยนั่นเอง
ข้างล่างนี้เป็นบันทึกการถอดบทเรียนที่พวกเราช่วยกันถอดหลังเสร็จสิ้นการสัมมนา
........
การถอดบทเรียน
โครงการเชิงปฏิบัติการเรื่อง การประยุกต์ใช้กระบวนการการจัดการความรู้
ในการพัฒนาศักยภาพด้านการสอนภาคปฏิบัติของอาจารย์
วันที่ ๒๕-๒๖ มีนาคม ๒๕๕๔
วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
………………………..
คุณลิขิต
อาจารย์อุดมพร ยิ่งไพบูลย์สุข
อาจารย์จิราพร รักการ
๑. วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมนี้คืออะไร / ความคาดหวังของการจัดกิจกรรมนี้
(๑) พัฒนาความรู้ด้านการปฏิบัติของอาจารย์
(๒) ต้องการให้อาจารย์ใช้ KM ในการเรียนการสอน
(๓) ให้อาจารย์รู้จักวิธีการถอดบทเรียน
(๔) เห็นความสำคัญของการสอนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นผลดีแก่นักศึกษา
(๕) เพื่อให้อาจารย์นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในแนวทางเดียวกัน
(๖) นำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพและมีวิธีการที่หลากหลาย
๒. กิจกรรมที่ผ่านมาได้ทำอะไรบ้าง
(๑) รู้เขา รู้เรา
(๒) เปิดหู เปิดตา เปิดปาก เปิดใจ
(๓) สุนทรียสนทนา
(๔) อิสระ
(๕) สร้างองค์กรในฝัน
(๖) เรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในแบบต่าง ๆ เทคนิคการจัดการเรียนการสอน
(๗) ได้ Model ของอาจารย์ เพื่อนำไปเป็นตัวอย่าง
(๘) ระดมสมอง
(๙) การทำงานเป็นทีม
(๑๐) การได้รับรู้พฤติกรรมของอาจารย์แต่ละท่าน
(๑๑) ได้รับประสบการณ์จากต่างประเทศ
๓. มีสิ่งใดบ้างที่สำเร็จเกินความคาดหมาย และเพราะอะไร
(๑) อาจารย์ได้มีการเปิดใจ เกิดบรรยากาศที่ผ่อนคลาย
(๒) ผู้เข้าร่วมประชุมให้ความสนใจในการประชุมมากกว่าทุกครั้ง
(๓) อาจารย์ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
(๔) วิธีการสอนของวิทยากรไม่เหมือนกับท่านอื่น
๔ สิ่งที่ประทับใจ
(๑) วิทยากร
(๒) บรรยากาศ มีความสนุกสนาน เป็นกันเองมากขึ้น เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน
(๓) อาจารย์เพลินสุข ประทับใจ อาจารย์เยาวลักษณ์
(๔) อาจารย์ภาณี ประทับใจ roommate มีน้ำใจช่วยเหลือ ซึ่งอาจเป็นเพราะการสัมมนาครั้งนี้
๕. สิ่งใดบ้างที่ควรปรับปรุง / หากต้องปฏิบัติอีก จะปรับปรุงอย่างไร
(๑) อยากให้อาจารย์ได้อยู่โดยพร้อมเพรียงกัน
(๒) ควรจัดในวัน-เวลาราชการ ที่ไม่มีการเรียนการสอน เพราะวันเสาร์-อาทิตย์ อาจารย์บางท่านอาจมีภารกิจซึ่งไม่สามารถมาร่วมได้
(๓) อุปกรณ์ประกอบการประชุม กระดานสูงเกินไปทำให้เขียนไม่ถึง
(๔) อยากให้เชิญผู้บริหารเข้าร่วมจัดกิจกรรมรู้เขา รู้เราด้วย เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์
(๕) บอกตารางการประชุมล่วงหน้าอย่างน้อย ๑ สัปดาห์ เพื่อจะได้เตรียมตัว
(๖) ต้องการเรียนรู้ประสบการณ์จากอาจารย์ที่มีประสบการณ์ เช่น เรื่องกระบวนการพยาบาล และต้องการให้อาจารย์ได้นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการเรียนการสอนในทิศทางเดียวกัน
(๗) ต้องการให้มีการติดตามผลว่ามีการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้จริงหรือไม่
(๘) ต้องการได้รับเอกสารประกอบการบรรยาย
(๙) ควรจะเข้าประชุมตั้งแต่แรก เพื่อที่ได้รับความรู้ให้เท่าเทียมกัน ทำให้ไม่ได้รับความรู้หรือปฏิบัติตัวไม่ถูก
๖. ได้บทเรียนอะไรจากกิจกรรมนี้บ้าง จะทำอะไรต่อไป
(๑) ได้เทคนิคการสอนใน Clinic เช่น Pre-Post Conference, Bedside Conference ซึ่งสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานบน Clinic ได้
(๒) ได้เรียนรู้ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนในประเทศสิงคโปร์
(๓) การใช้สุนทรียสนทนา เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ Tacit knowledge ใช้บรรยากาศเชิงบวกในการดึงความรู้ออกมา
(๔) นำเทคนิคต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ไปใช้กับนักศึกษา ใช้สุนทรียสนทนากับนักศึกษามากขึ้น ถ้ามีโอกาสจะนำไปใช้ในการปฏิบัติตนกับนักศึกษามากขึ้น
(๕) ได้วิธีการจัดการเรียนการสอนใน Clinic ของกลุ่มต่าง ๆ
(๖) ได้เห็นรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
(๗) ได้พูดสิ่งที่อยากพูดมากขึ้น
(๘) อยากให้จัดกิจกรรมเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง
อาภา ยังประดิษฐ์
|
|
||
กิจกรรมสร้างพลัง |