แบบเสนอโครงการวิจัย

        
Views: 798
Votes: 0
Comments: 0
Posted: 30 Apr, 2012
by: สาครวรรณศักดิ์ ฝ.
Updated: 30 Apr, 2012
by: สาครวรรณศักดิ์ ฝ.

กลุ่มความรู้ได้เชิญวิทยากรจากสถาบันวิจัยและพัฒนามาให้ความรู้ในเรื่องแบบเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุน และสมาชิกได้เสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุน รายละเอียด ดังนี้

 

แบบเสนอโครงการวิจัย (Research project)
ประกอบการเสนอของบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ตามมติคณะรัฐมนตรี
------------------------------------
ชื่อโครงการวิจัย (ภาษาไทย)           การพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพและการบริหารงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
                               (ภาษาอังกฤษ)   INFORMATION SYSTEM DEVELOPMENT FOR QUALITY ASSURANCE IN EDUCATION AND ADMINISTRATION  : SUAN SUNUNDHA RAJABHAT UNIVERSITY
ชื่อแผนงานวิจัย (ภาษาไทย) (กรณีเป็นโครงการวิจัยภายใต้แผนงานวิจัย) .......................-......................
                             (ภาษาอังกฤษ) .................................................-...............................................................
ส่วน ก.   : ลักษณะโครงการวิจัย             
           โครงการวิจัยใหม่                      
I     ระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) (กรุณาระบุความสอดคล้องเพียง 1 ยุทธศาสตร์ ที่มีความสอดคล้องมากที่สุด โดยโปรดดูรายละเอียดในผนวก 2)
                                      โครงการวิจัยนี้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 1. ยุทธศาสตร์การพัฒนา                                         คุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
      -     ระบุความสำคัญกับเรื่องที่สอดคล้องมากที่สุดในยุทธศาสตร์นั้น ๆ (โปรดดูรายละเอียดในผนวก 2)
 


โครงการนี้มีความสอดคล้องมากที่สุดกับเรื่อง1.1 การพัฒนาคนให้มีคุณธรรมนำความรู้ เกิดภูมิคุ้มกัน
II   ระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551-2554)
             (กรุณาระบุความสอดคล้องเพียง 1 ยุทธศาสตร์ 1 กลยุทธ์ และ 1 แผนงานวิจัยที่มีความสอดคล้องมากที่สุด โดยโปรดดูรายละเอียดในผนวก 3)
โครงการนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ กลยุทธ์และและแผนงานวิจัย ดังต่อไปนี้
                - ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 2 การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางสังคม
                - กลยุทธ์การวิจัยที่ 1 ปฏิรูปการศึกษา กระบวนการเรียนการสอน ทั้งในและนอกระบบ ตลอดจนการพัฒนาระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระบบสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่           สอดคล้องกับวิถีชีวิตในแต่ละท้องถิ่น
                - แผนงานวิจัยที่
                1.1 การวิจัยเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา
                1.2 การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
                1.3 การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
III ระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับกลุ่มเรื่องที่ควรวิจัยเร่งด่วนตามนโยบาย                                                และยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551-2554) (โปรดดูรายละเอียดในผนวก 3)
-              โครงการนี้สอดคล้องกับ กลุ่มเรื่อง 3. การปฏิรูปการศึกษา
IV ระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับนโยบายรัฐบาล (กรุณาระบุความสอดคล้องเพียง 1 หัวข้อที่มีความสอดคล้องมากที่สุด โดยโปรดดูรายละเอียดในผนวก 4)
                นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก :
 
                โครงการนี้สอดคล้องกับ เรื่อง 1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญแก่โครงการลงทุนที่มีความ                คุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และ        เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ
-              นโยบายระยะการบริหารราชการ 3 ปี ของรัฐบาล :
โครงการนี้สอดคล้องกับ นโยบาย 2.2 นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิตและ      2.2.1 นโยบายการศึกษา
                                                ส่วน ข   :      องค์ประกอบในการจัดทำโครงการวิจัย
1.          ผู้รับผิดชอบนายพิบูลย์ พูม่วงนักวิเคราะห์นโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เลขที่ 1 ถนน อู่ทองนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ โทรศัพท์084-160-7165อีเมล์phibool_009@hotmail.com  
2.          ประเภทการวิจัยวิจัยเชิงปริมาณ
3.              สาขาวิชาการและกลุ่มวิชาที่ทำการวิจัยวิจัยสถาบัน
4.              คำสำคัญ (key words) ของโครงการวิจัย
ระบบสารสนเทศ  การประกันคุณภาพ     การบริหารงาน   ฐานข้อมูล   คลังข้อมูล
Information System  Quality Assurance in Education  Administration
Database    Data Warehouse
5.             ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย
ปัจจุบันนี้เป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร เป็นที่ทราบกันดีว่าสารสนเทศ เป็นหัวใจหลักของการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานทั้งในภาครัฐและเอกชนที่สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งถือว่าเป็นอาวุธสำคัญที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับองค์กรต่าง ๆ และในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ปริมาณการจัดเก็บข้อมูลหรือสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในการบริหารการศึกษา มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัยหรือทันต่อความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะเห็นว่าหน่วยงานทางการศึกษาตั้งแต่ระดับกระทรวง ทบวง กรม ได้มีการนำมาใช้ในการดำเนินงานเกือบทุกด้านและมีโครงการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ไม่ว่าจะเป็นงานด้านทะเบียนและวัดผล งานด้านสารบรรณ งานห้องสมุด งานจัดการเรียนการสอน เป็นต้น
ระบบงานประกันคุณภาพการศึกษา นับว่าเป็นระบบหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่ง ซึ่งให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ได้กำหนดให้การจัดการศึกษายึดหลักให้มีมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา สถาบันอุดมศึกษาได้นำระบบการประกันคุณภาพเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับการบริหารมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเป็นหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาที่ต้องมีการปรับระบบบริหารให้เข้าสู่ระบบ การบริหารจัดการคุณภาพทั้งภายใต้หลักเกณฑ์ของ สกอ. สมศ. กพร. และ PMQA  ปัญหาใหญ่ที่สำคัญที่สุดของมหาวิทยาลัยคือการจัดการข้อมูลที่เป็นจริงและเป็นปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนการบริหารเชิงกลยุทธ์ ข้อมูลในระดับหน่วยงานจัดการศึกษา และหน่วยงานสนับสนุนการจัดการศึกษา เมื่อรวมกันมักจะไม่สอดคล้องกับข้อมูลของมหาวิทยาลัย และผู้ที่ต้องการค้นหาข้อมูลด้านงานประกันคุณภาพการศึกษามักจะประสบปัญหาในการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการ
จากปัญหาและอุปสรรคข้างต้นประกอบกับได้มีการยกฐานะขึ้นมาเป็นมหาวิทาลัยผู้วิจัยจึงคิดทำการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพและการบริหารงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยการนำลักษณะการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบฐานข้อมูล(Database) และรูปแบบคลังข้อมูล (Data Warehouse) มาใช้ในงานวิจัย เพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานโดยใช้คอมพิวเตอร์ และเพื่อให้กระบวนการรวบรวม จัดเก็บ การวิเคราะห์ การประมวลผลและบริหารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ตามตัวบ่งชี้ของทุกหน่วยประเมิน เป็นไปในทิศทางเดียวกันและเชื่อมโยงกันได้เป็นระบบ นำไปสู่การผลิตสารสนเทศแบบต่าง ๆ และสามารถเรียกค้นได้โดยง่ายผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การใช้งานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
6.             วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
6.1  เพื่อศึกษาและนำเทคโนโลยีสารสนเทศการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบฐานข้อมูล (Database) และรูปแบบคลังข้อมูล (Data Warehouse) มาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
6.2   เพื่อพัฒนาระบบการนำเข้าข้อมูลสารสนเทศด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
6.3   เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบนี้สามารถเรียกดูและนำสารสนเทศที่ได้ผ่านทางระบบนี้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
7.             ขอบเขตของโครงการวิจัย
7.1 ศึกษาข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
7.2 ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นระบบกลางในการให้บริการสารสนเทศด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยครอบคลุมการใช้งานของบุคลากรดังต่อไปนี้
ประชากร  -
กลุ่มตัวอย่าง
                7.2.1 บุคลากรด้านงานประกันคุณภาพของแต่ละหน่วยงานสามารถใช้งานระบบสารสนเทศด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
                7.2.2 ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่และผู้ใช้งานทั่วไป สามารถเรียกดูและค้นหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสารสนเทศด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
เนื้อหาของเครื่องมือ
           รายละเอียดของเครื่องมือในการประเมินเพื่อหาประสิทธิภาพของระบบ (แบบประเมิน) แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
                - แบบประเมินระบบความสามารถตรงความต้องการ (Functional Requirement Evaluation)
                - แบบประเมินระบบด้านหน้าที่ของระบบ (Functional Evaluation)
                - แบบประเมินระบบด้านการใช้งานของระบบ (Usability Evaluation)
                - แบบประเมินระบบด้านความปลอดภัยของระบบ (Security Evaluation)
8.             ทฤษฎี สมมุติฐาน (ถ้ามี) และกรอบแนวความคิดของโครงการวิจัย
สมมุติฐานของโครงการวิจัยครั้งนี้ คือ หลังการฝึกอบรมการใช้ระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพและการบริหารงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สำหรับผู้ดูแลระบบและผู้ใช้งานระบบมีความรับรู้และเข้าใจระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพและการบริหารงานที่ดีขึ้น และมีข้อผิดพลาดน้อยลงในการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ
10.      การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ (information) ที่เกี่ยวข้อง
a.             ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพการศึกษา
b.             แนวคิดและทฤษฎี ที่เกี่ยวกับ คลังข้อมูล (Data Warehouse)
c.              งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคลังข้อมูล
11.      เอกสารอ้างอิงของโครงการวิจัย
หนังสือ
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553 กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับอุดมศึกษา ฉบับสถานศึกษา พ.ศ. 2554.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก ประจำปีการศึกษา 2553.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. การออกแบบและจัดการฐานข้อมูล (Database Design and Management) : ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด , 2546
 
 
 
 
งานวิจัย
นางสาวภรัณยา อำมฤครัตน์. “การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการประกันคุณภาพการศึกษา กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม” สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร , 2549
12.           ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ
11.1 ได้ระบบสารสนเทศสำหรับการจัดเก็บ รวบรวม ประมวลข้อมูล งานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
11.2 ได้ระบบสารสนเทศที่ช่วยลดเวลา และแรงงานในการปฏิบัติงาน
11.3 สามารถนำมาใช้ในงานบริหาร
          11.3.1 ผู้บริหารสามารถเรียกค้นได้ด้วยตนเองโดยตรงผ่าน ระบบเครือข่ายมหาวิทยาลัย
          11.3.2 ผู้บริหารสามารถติดตามข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง สืบค้นสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
13.           แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมาย
ในการการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพและการบริหารงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทานี้ ผู้วิจัยได้มีแผนการจัดฝึกอบรมให้ผู้ดูแลระบบและผู้ใช้งานระบบพร้อมกับเตรียมจัดทำคู่มือการใช้งานระบบเพื่อให้ผู้ดูแลระบบและผู้ใช้งานระบบใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น
14.           วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล
a.                    ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและการทำงานของการจัดเก็บข้อมูลแบบฐานข้อมูล (Database) และคลังข้อมูล (Data Warehouse)
b.                    ออกแบบฐานระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพและการบริหารงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
c.                     สร้างและพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพและการบริหารงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล My SQL และโปรแกรม ภาษา PHP
d.                    ทดสอบและปรับปรุงระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพและการบริหารงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
e.                     การวิเคราะห์และประเมินผลระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพและการบริหารงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
15.           ระยะเวลาทำการวิจัย และแผนการดำเนินงานตลอดโครงการวิจัย (ให้ระบุขั้นตอนอย่างละเอียด)

ช่วงเวลา
กิจกรรมการดำเนินงาน
หมายเหตุ
เมษายน 2554
ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและการทำงานของการจัดเก็บข้อมูลแบบฐานข้อมูล (Database) และคลังข้อมูล (Data Warehouse)
 
พฤษภาคม 2554
ผู้วิจัยออกแบบฐานระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพและการบริหารงาน
 
พฤษภาคม 2554
การสร้างและพัฒนาระบบ โดยใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล My SQL และโปรแกรม ภาษา PHP
 
มิถุนายน 2554
การวางแผนการทดสอบระบบ
 
กรกฎาคม 2554
การจัดเตรียมข้อมูลเพื่อนำเข้าระบบใหม่
 
กรกฎาคม 2554
การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ
 
สิงหาคม 2554
ตรวจสอบระบบ
 
สิงหาคม 2554
การจัดฝึกอบรมผู้ดูแลระบบ
 
สิงหาคม 2554
การจัดฝึกอบรมผู้ใช้งานระบบ
 
กันยายน 2554
แก้ไขข้อบกพร่องในการทำงานของระบบ
 
กันยายน 2554
ผู้วิจัยวิเคราะห์และประเมินผลระบบ
 

 
16.           ปัจจัยที่เอื้อต่อการวิจัย (อุปกรณ์การวิจัย, โครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ) ระบุเฉพาะปัจจัยที่ต้องการเพิ่มเติม -
17.           งบประมาณของโครงการวิจัย
16.1             รายละเอียดงบประมาณการวิจัย จำแนกตามงบประเภทต่าง ๆ [ปีงบประมาณที่เสนอขอ (ผนวก 6)]

รายการ
จำนวนเงิน
1. งบดำเนินงาน
     1.1 ค่าตอบแทน
     1.2 ค่าใช้สอย
- ค่าวิเคราะห์เอกสาร
          - ค่าพิมพ์เอกสาร
     1.3 ค่าวัสดุ
- ค่ากระดาษ A4
- ค่าถ่ายเอกสาร
 
 
-
 
3,000.00
1,000.00
 
500.00
500.00
2. ค่าสาธารณูปโภค
-
รวมงบประมาณที่เสนอขอ
5,000.00

 
18.           ผลสำเร็จและความคุ้มค่าของการวิจัยที่คาดว่าจะได้รับ
หากงานวิจัยครั้งนี้ประสบความสำเร็จ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาจะมีระบบการจัดเก็บรวบรวม การวิเคราะห์ การประมวลผลและบริหารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ตามตัวบ่งชี้ของทุกหน่วยประเมิน เป็นไปในทิศทางเดียวกันและเชื่อมโยงกันได้เป็นระบบ นำไปสู่การผลิตสารสนเทศแบบต่าง ๆ และบุคลากรสามารถเรียกค้นได้โดยง่ายผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การใช้งานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและจะเป็นแนวทางให้พัฒนางานวิจัยประเภทเดียวกันในระดับสูงขึ้นไปอีกด้วย
19.           โครงการวิจัยต่อเนื่องปีที่ 2 ขึ้นไป   -
20.           คำชี้แจงอื่น ๆ (ถ้ามี) -
21.           ลงลายมือชื่อ หัวหน้าโครงการวิจัย พร้อมวัน เดือน ปี    
 
                                                                                             นายพิบูลย์ พูม่วง
หัวหน้าโครงการวิจัย
27 กรกฎาคม 2554                               
ส่วน ค  :   ประวัติคณะผู้วิจัย
1.           ชื่อ - นามสกุล (ภาษาไทย) นายพิบูลย์ พูม่วง
                       ชื่อ - นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) MR.PHIBOOL PHUMUANG
 2.   เลขหมายบัตรประจำตัวประชาชน 3-6106-00396-94-0
3.           ตำแหน่งปัจจุบัน นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
4.           หน่วยงานและสถานที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวก พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)
กองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เลขที่ 1 ถนนอู่ทองนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ 02-160-1073 โทรสาร 02-160-1038 อีเมล์phibool_009@hotmail.com  
5.           ประวัติการศึกษา
 

วุฒิ
สถานศึกษา
ปีที่สำเร็จ
ศศ.บ. (รัฐศาสตร์)
(เกียรตินิยมอันดับ 2) (บริหารรัฐกิจ)
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
2546
ศศ.ม. (รัฐศาสตร์)
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
2551

6.             สาขาวิชาการที่มีความชำนาญพิเศษ (แตกต่างจากวุฒิการศึกษา) ระบุสาขาวิชาการ -
7.           ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยระบุสถานภาพในการทำการวิจัยว่าเป็นผู้วิจัยเคยทำวิจัยเฉพาะเพื่อการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมายเหตุ:    1.   กรณีที่หน่วยงานมิได้ทำการวิจัยเองแต่ใช้วิธีจัดจ้าง โปรดใช้ แบบ ว–1ด โดยระบุรายละเอียดตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ให้มากที่สุด พร้อมทั้งแนบแบบข้อกำหนด (terms of reference-TOR) การจัดจ้างการทำวิจัยด้วย
                         2.   กรณีเป็นโครงการวิจัยต่อเนื่องที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณที่ผ่านมา และนักวิจัยมีความประสงค์จะเสนอของบประมาณการวิจัยในปีงบประมาณต่อไป ต้องจัดทำโครงการวิจัยประกอบการเสนอของบประมาณด้วย
                         3.   ระบุข้อมูลโดยละเอียดในแต่ละหัวข้ออย่างถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อประโยชน์ในการประเมินผล
                         4.   กรณีโครงการวิจัยที่มีการใช้สัตว์ ให้ปฏิบัติตามจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทาง       วิทยาศาสตร์ สภาวิจัยแห่งชาติ (ผนวก 11) และจัดทำเอกสารแนบตามแบบฟอร์ม       ใบรับรองในผนวก 12 จำนวน 1 ชุด
Others in this Category
document หัวข้อวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยสถาบัน