Email to friend
* Your name:
* Your email:
* Friend's email:
Comment:


การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย...ใช้กระบวนการกลุ่ม

กลุ่มความรู้มีการถอดประสบการณ์ของสมาชิกในกลุ่มเกี่ยวกับการใช้กระบวนการกลุ่ม ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้

แก่นความรู้ที่ 1 : สัญญาก่อนเรียน
วิธีการปฏิบัติ
• สร้างข้อตกลงกับผู้เรียนในเรื่องการเข้าเรียน
• สร้างข้อตกลงกับผู้เรียนในเรื่องการส่งงาน
• สร้างข้อตกลงกับผู้เรียนในเรื่องการทำงานกลุ่ม / งาน / โครงการ

แก่นความรู้ที่ 2 : สร้างทัศนคติเชิงบวก
วิธีการปฏิบัติ 
• สร้างเจตคติที่ดีต่อการจัดกิจกรรม / โครงการ
• อาจารย์ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน ปฏิบัติตนให้ผู้เรียนกล้าถาม กล้าแสดงออก
• อาจารย์ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี เข้าสอนตรงเวลา ไม่ขาดสอน
• ใช้เทคนิคต่าง ๆ หลากหลายที่เหมาะสมกับวิชา และผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนรักการเรียน
• และการทำกิจกรรมเสริมหลักสูตร

แก่นความรู้ที่ 3 : ร่วมคิดร่วมทำ
วิธีการปฏิบัติ
• เน้นการให้ผู้เรียนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
• อาจารย์แนะนำแนวทางการแก้ไขข้อบกพร่องของกิจกรรมที่ผู้เรียนนำมาปรึกษา
• กำหนดปฏิทินกิจกรรมเพื่อให้มีการรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะๆ
• เน้นให้ผู้เรียนได้รายงานความก้าวหน้าของกิจกรรมหน้าชั้นเป็นกลุ่ม

แก่นความรู้ที่ 4 : ร่วมด้วยช่วยกัน
วิธีการปฏิบัติ
• ฝึกให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
• วิเคราะห์และจัดกลุ่มผู้เรียนคละความสามารถให้ยึดระดับผลการเรียน ความสามารถเพื่อให้เกิดการช่วยเหลือกัน
• ให้ผู้เรียนจัดกลุ่มกันเอง
• เน้นให้เด็กเก่งช่วยเหลือเด็กอ่อนด้วยความเห็นใจเพื่อน
• ให้ผู้เรียนที่ไม่กล้าถามอาจารย์ ถามเพื่อนเก่ง ๆ ในกลุ่ม
• ให้ผู้เรียนเก่ง ๆ คอยช่วยเหลือเพื่อนที่มีปัญหาในการทำกิจกรรม

แก่นความรู้ที่ 5 : เสริมแรงแข็งขัน
วิธีการปฏิบัติ
• ยกตัวอย่างผู้เรียนรุ่นพี่ที่เรียนดีทำกิจกรรมเก่ง เป็นตัวอย่าง
• เสริมแรงโดยการให้คะแนน หรือคำชมเชย กับผู้เรียนที่สามารถแก้ปัญหา หรือหาคำตอบได้
• พูดให้กำลังใจผู้เรียนอยู่เสมอ ๆ

แก่นความรู้ที่ 6 : แบบอย่างที่ดี ดีกว่าคำสอน
วิธีการปฏิบัติ
• อาจารย์ประพฤติตนให้เป็นแบบอย่าง เช่น ความประพฤติส่วนตัว ความรับผิดชอบ
• อาจารย์พูดจาไพเราะกับผู้เรียน แสดงความจริงใจที่มีต่อผู้เรียน
• ยกย่อง ชมเชยอย่างจริงใจเมื่อผู้เรียนมีพฤติกรรมดีขึ้น(แม้พียงเล็กน้อย)

แก่นความรู้ที่ 7. เรียนรู้จากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยาก หรือจากรูปธรรมไปหานามธรรม
วิธีการปฏิบัติ
• เรียนจากง่ายไปหายาก
• ใช้ภาษาที่ง่ายต่อความเข้าใจ และเหมาะสมกับผู้ฟัง
• สอนให้รู้จากรูปธรรมไปหานามธรรม

แก่นความรู้ที่ 8 ใช้สื่อใกล้ตัว ที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน
วิธีการปฏิบัติ
• ใช้สื่อรอบตัวและง่ายต่อการเข้าใจของผู้เรียน
• นำเอาสิ่งใกล้ตัว สิ่งที่ผู้เรียนพบในชีวิตประจำวันมาแลกเปลี่ยน
• นำเอาสถานการณ์จริงมาสอน
• สร้างโจทย์จากประสบการณ์

แก่นความรู้ที่ 9 สร้างบรรยากาศ และความคุ้นเคย เป็นกันเอง
วิธีการปฏิบัติ
• สร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
• สร้างบรรยากาศเป็นกันเองโดยการพูดคุย
• สำรวจปัญหาที่ผู้เรียนชอบและไม่ชอบ โดยสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองในการพูดคุยถึงปัญหา
• แนะนำตนเอง ชอบอะไร สอบถาม


แก่นความรู้ที่ 10 สร้างความเชื่อมั่น ให้ขวัญกำลังใจ
วิธีการปฏิบัติ
• ให้ขวัญและกำลังใจ ชมเชย
• ให้กำลังใจผู้เรียนมอบรางวัลตามความเหมาะสม
• จัดแสดงผลงานของผู้เรียน โดยการติดบอร์ด ยกย่อง ชมเชย
• กำหนดข้อตกลง ไม่หัวเราะเพื่อนเมื่อทำผิด
• สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
• ให้โอกาสผู้เรียนทุกคนได้แสดงออก

แก่นความรู้ที่ 11 สร้างเครือข่ายในการให้ความช่วยเหลือ (เพื่อนช่วยเพื่อน พี่ช่วยน้อง)
วิธีการปฏิบัติ
• เพื่อนช่วยแนะนำและอธิบายเพื่อน
• รุ่นพี่แนะนำเทคนิค และช่วยเหลือรุ่นน้อง
• อาจารย์เป็นพี่เลี้ยง
• แบ่งกลุ่มย่อยไปฝึกปฏิบัติ

กระบวนการกลุ่มที่ดีที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ
1. Planner เป็นผู้วางแผนที่ดี
2. Educator เป็นผู้ให้ความรู้เป็นผู้สอนที่ดี
3. Participant เน้นให้เกิดการมีส่วนร่วม
4. Stimulator กระตุ้นให้คิด
5. Initiator หนุนให้เกิดสิ่งใหม่ สร้างสรรค์แหวกแนว
6. Coordinator กระตุ้นให้เกิดการประสานงานในกลุ่ม
7. Organizer เน้นให้เกิดการทำงานเป็นทีม
8. Link เชื่อมความสัมพันธ์ ระหว่างกลุ่ม ระหว่างคน
9. Analysis ต้องวิเคราะห์ได้
10. Evaluator ประเมินผลตลอดเวลา